ธรรมศาสตร์ ทูลเกล้าฯ ถวาย ปริญญาพัฒนาชุมชนดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ และปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์

เมื่อวันที่ 30 ต.ค. พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม เสด็จพระราชดําเนินในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สําเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประจําปีการศึกษา 2561 ในวันที่ 30-31 ตุลาคม 2563 ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ในการประชุมสภามหาวิทยาลัย ครั้งที่ 6/2562 เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2562 ที่ประชุมได้มีมติอนุมัติ มอบปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ประจําปีการศึกษา 2561

โดยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทูลเกล้าฯ ถวาย ปริญญาพัฒนาชุมชนดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์แด่พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกําลังกาย แด่สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี

ในหลวง พระราชทานปริญญา

นอกจากนี้ได้มอบปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์แด่ผู้ทรงคุณวุฒิ จํานวน 6 ท่าน ได้แก่ ศาสตราจารย์ ดร.อุลริช เลอเวนไฮม์ (Professor Dr.Ulrich Loewenheim) นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ นายชาติชาย พยุหนาวีชัย บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ดร.พรเทพ พรประภา ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ (วิศวกรรมอุตสาหการ)

ในหลวง พระราชทานปริญญา

ศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์ ยอน จุน ชอง (Professor Yeun-Jun Chung, M.D., Ph.D.) ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาชีวเวชศาสตร์ เภสัชกรหญิงบุษกร เลิศวัฒนสิวลี ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิทยาเภสัชศาสตร์ และนายชาญศิลป์ ตรีนุชกร วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการบริหารเทคโนโลยี

ในหลวง พระราชทานปริญญา

สําหรับในปีการศึกษา 2561 มีผู้สําเร็จการศึกษา จํานวนทั้งสิ้น 9,623 คน แบ่งเป็นระดับปริญญาตรี จํานวน 7,756 คน ระดับบัณฑิตศึกษา จํานวน 1,867 คน (ประกาศนียบัตรบัณฑิต จํานวน 61 คน ปริญญาโท จํานวน 1,698 คน และปริญญาเอก จํานวน 108 คน)

จากนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระบรมราโชวาท ความตอนหนึ่งว่า “ปริญญาบัตรที่บัณฑิตได้รับในวันนี้ เป็นสิ่งที่มีความหมายและมีความสำคัญมาก เพราะเป็นเครื่องรับรองวิทยฐานะของแต่ละคน ว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถในวิชาการสาขาต่างๆ ตามที่ได้อุตสาหะศึกษาเรียนมา

บัณฑิตทุกคนจึงมีหน้าที่และความรับผิดชอบ ที่จะต้องนำความรู้ความสามารถที่มีอยู่ ไปใช้สร้างสรรค์ความสำเร็จแก่ตนเองให้สมบูรณ์ ทั้งในด้านอาชีพการงาน ในด้านเกียรติคุณความดี และในด้านการทำประโยชน์เกื้อกูลแก่ส่วนรวมและประเทศชาติ ถ้าทุกคนจะได้ตระหนักในหน้าที่และความรับผิดชอบดังนี้ แล้วมุ่งมั่นทำให้จริง ให้สำเร็จครบถ้วนตามที่กล่าว แต่ละคนก็จะได้รับการยอมรับยกย่อง ว่าเป็นผู้ประพฤติตนปฏิบัติงานสมกับวิทยฐานะอย่างแท้จริง”

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน