คอลัมน์ เจ๊าะแจ๊ะวิทยาศาสตร์

ดร.ริก สตัฟฟอร์ด จากภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยบอร์นมัธ ประเทศอังกฤษ ศึกษากระบวนการประมง โดยเฉพาะ “หูฉลาม”พบว่าความต้องการบริโภคหูฉลามที่เพิ่มมากขึ้น และผลักดันให้ธุรกิจประมงหูฉลามขยายตัวอย่างรวดเร็วในช่วงไม่กี่สิบปีที่ผ่านมา

ส่งผลต่อปริมาณก๊าซเรือนกระจกมากขึ้น และเป็นส่วนหนึ่งที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน แม้การประมงจะไม่ใช่กิจกรรมที่ปล่อยก๊าซร้ายขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศมากที่สุดในโลก แต่ก็ติดอันดับต้นๆ เป็นรองแค่โรงไฟฟ้า โรงกลั่นก๊าซ และเครื่องปรับอากาศ

ผู้เชี่ยวชาญกล่าวอีกว่า การทำหูฉลามมีอัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ร้อยละ 11.5 เฉพาะจากการใช้น้ำมันเดินเรือออกหาปลา เมื่อคิดรวมกับการนำหูฉลามเข้าสู่กระบวนการอุตสาหกรรมเพื่อแปรรูป ต้องมีการใช้ไฟฟ้าเดินเครื่องจักร การเผาไหม้เชื้อเพลิง และควันเสียที่ปล่อยขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ การงดทำประมงหูฉลามจึงมีส่วนช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ แถมยังไม่กระทบต่อการเข้าถึงแหล่งอาหารของประชากรโลก เพราะหูฉลามไม่ใช่อาหารเพื่อขจัดความหิวโหย แต่เป็นอาหารที่เกิดจากค่านิยมความเชื่อว่ามีสรรพคุณดีต่อร่างกายต่างหาก

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน