หนอนกินพลาสติก ความหวังแก้ปัญหาขยะท่วมโลก ?

หนอนกินพลาสติก – ขณะที่ปัญหาขยะพลาสติกเป็นประเด็นข่าวใหญ่มาอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลานี้ ดิ อิโคโนมิสต์ สื่อใหญ่ของอังกฤษจึงหยิบรายงานที่นักวิทยาศาสตร์พบหนอนกินพลาสติกโดยบังเอิญระหว่างการวิจัยเมื่อปี 2560 กลับมาแชร์วนอีกครั้ง ด้วยเป็นความหวังว่าการค้นพบนี้อาจเป็นหนทางหนึ่งในการกำจัดขยะพลาสิกติกที่เป็นปัญหาใหญ่ของโลกในขณะนี้

เรื่องราวน่าทึ่งนี้เริ่มมาจาก เฟเดริกา แบร์ต็อกชินี เจ้าหน้าที่ดูแลผึ้งฝึกหัด และนักชีววิทยาประจำมหาวิทยาลัยการตาเบรีย ในประเทศสเปน สังเกตว่าหนอนผึ้ง กัดกินเจาะรังผึ้งเป็นรู และเลียน้ำผึ้ง นักวิจัยหญิงคนนี้จึงนำหนอนเหล่านั้นกลับบ้าน โดยเอามาใส่ไว้ในถุงพลาสติกแล้วทิ้งไว้ในบ้าน ปรากฏว่าเมื่อกลับมาดูอีกครั้ง พบว่าหนอนชนิดนี้กัดกินถุงพลาสติกเป็นรู และคลานไปทั่วบ้าน

เฟเดริกา แบร์ต็อกชินี / lavanguardia.com

การค้นพบนี้ตีพิมพ์ลงในวารสาทชีวิทยาในยุคปัจจุบัน (Current Biology) พร้อมระบุว่า นักวิทยาศาสตร์กำลังวิจัยหาเหตุผล หลังพบว่าหนอนที่กัดกินพลาสติกได้เป็นหนอนตัวอ่อนของกัลเลเรีย เมลโลเนลลา (Galleria mellonella) หรือที่รู้จักกันในนาม หนอนผีเสื้อกลางคืน (Greater Wax Moth) ซึ่งเป็นหนอนที่สร้างความเสียหายให้กับรังผึ้ง และระบาดไปทั่วยุโรป

สภาพถุงที่ถูกกัดกินจนเป็นรู / FEDERICA BERTOCCHINI

น.ส.แบร์ต็อกชินีได้รวมทีมกับ เปาโล บอมเบลลี และคริสโตเฟอร์ โฮว์ นักวิชาการด้านเคมีสองคนจากมหาวิทยาลยแคมบริดจ์ เพื่อหาคำตอบถึงความเป็นไปได้ในการจับหนอนเหล่านี้มาเป็นตัวกำจัดขยะพลาสติก

นักเคมีสองคนนี้ชี้ว่าพลาสติกมีส่วนประสมของเมธีลีน ประกอบด้วยคาร์บอนที่เชื่อมอะตอนไฮโดรเจน และอะตอมอื่นๆ เข้าด้วยกัน ซึ่งหนอนผีเสื้อกลางคืน มีเอ็นไซม์สามารถทำลายการเชื่อมดังกล่าว และมีสิ่งมีชีวิตน้อยมากที่ย่อยสารนี้ได้ ขณะที่ปัญหาหลักของพลาสติกคือไม่สามารถย่อยสลายตามธรรมชาติได้ตามปกติ

หนอนกินพลาสติก

หนอนผีเสื้อกลางคืน / flukerfarms.com

การจับตามมองอย่างใกล้ชิด ของนักวิจัย 3 คนนี้ พบว่า หนอนต่อตัวกัดกินพลาสติกจนเป็นรูได้ถึง 2.2 รูซึ่งมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางราว 3 มิลลิเมตร ในทุกๆ ชั่วโมงๆ และหนอนจะใช้เวลาทั้งหมด 12 ชั่วโมงในการกินถุงพลาสติกขนาดได้ ประมาณ 1 มิลลิกรัม จากน้ำหนักของถุงราวๆ 3 กรัม

ทั้งนี้หนอน 100 ตัวจะช่วยกันกินถุงพลาสติกได้ทั้งถุงในระยะเวลา 1 เดือน ซึ่งนับเป็นครึ่งชีวิตของพวกมันพอดิบพอดี

การวิจัยดังกล่าวยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าการกินพลาสติกของหนอนเหล่านี้จะเพียงพอต่อการเติบโต หรือไม่ แต่การค้นพบดังนับเป็นเรื่องน่าสนใจเนื่องจากหนอนเหล่านี้กินพลาสติกได้ ต่างจากสัตว์อื่นๆ ที่ต้องจบชีวิตลงอย่างอนาถหลังพลาสติกตกถึงท้อง

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน