บทลงโทษก่อเหตุข่มขืนซ้ำซาก คุ้มหรือไม่ ฉีดยาให้อัณฑะฝ่อ เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

จากกรณี เด็กหญิงโดนฉุดไปรุมโทรมข่มขืน โดยวัยรุ่น 5 คน ต่อมากลายเป็นเหตุวุ่นวาย และพบว่ามีอบต.รายหนึ่งเข้าไปเกี่ยวข้อง พยายามจะเคลียร์และจ่ายเงินให้ จบเรื่อง แต่พ่อไม่ยอม และบันดาลโทสะทำร้ายร่างกาย พ่อและเด็กที่ก่อเหตุ โดยต่อมาพบว่ามีเหยื่อในเหตุการณ์นี้ 2 ราย และมีผู้อยู่ในเหตุการณ์ถึง 9 คน นั้น

โดยพบว่า กรณีการกระทำความผิดทางเพศนั้น มีการวิพากษ์วิจารณ์เรื่องบทลงโทษอย่างหนัก ว่า ควรจะมีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง บทลงโทษสำหรับโทษดังกล่าวในประเทศไทย เนื่องจากพบการกระทำความผิดอย่างต่อเนื่อง เหมือนไม่เกรงกลัวต่อกฎหมาย

โดยพบว่า เพจ Kapooman ซึ่งเป็นเพจให้ความรู้ด้านเพศศึกษา ได้เผยแพร่ถึงแนวทางเรื่องการลงโทษ ซึ่งโซเชียลได้พูดถึงอย่างหนัก คือ วิธีการฉีดยาให้อัณฑะฝ่อ จนทำให้คนที่กระทำความผิดเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ และไม่กระทำความผิดอีก

โดยข้อความระบุว่า ว่า “การฉีดยาให้ไข่ฝ่อ เป็นแนวทางในการลงโทษนักโทษคดีข่มขืนที่มีใช้ในหลายประเทศ มีทั้งแบบ ฉีดยาเพื่อให้อัณฑะฝ่อ กับแบบผ่าตัดเอาอัณฑะออกไปเลย ประเทศที่ใช้ยาฉีดจะมี เกาหลี อเมริกา เดนมาร์ค โปแลนด์ ส่วนประเทศที่ใช้วิธีผ่าตัดจะมีเยอรมัน นอร์เวย์ เช็ค ฟินแลนด์ และสวีเดน

วิธีนี้เขามีหลักการคิดว่า คนที่ก่อคดีแบบนี้บ่อยๆ ซ้ำๆ ซากๆ พวกนี้มันน่าจะมีฮอร์โมนเพศชายเยอะเกินไป ก็เลยใช้วิธี หยุดการผลิตฮอร์โมนที่ว่าให้มันน้อยลง ให้อยู่ในระดับปรกติหรือน้อยๆ ไปเลย และฮอร์โมนที่ว่ามันผลิตจากอัณฑะ ก็เลยมีสองวิธี คือ ผ่าตัด หรือใช้ยาไปหยุดการสร้างฮอร์โมนเพศจากอัณฑะ จนอัณฑะมันฝ่อไป และผลที่ตามมาคือ นกเขาไม่ค่อยขัน เสื่อมสมรรถภาพทางเพศในที่สุด

ในกรณีฉีดยาไม่ใช่ฉีดหนเดียวจบ แต่จะต้องฉีดซ้ำๆ ทุกสามเดือน ค่าใช้จ่ายต่อปี ประมาณ หนึ่งแสนห้าหมื่นบาทต่อคน แต่ไม่ได้แปลว่าจะฉีดยาแบบนี้ไปตลอดชีวิต ปรกติจะใช้ระยะสั้น ประมาณ 3-5 ปี ร่วมกับการทำจิตบำบัด

เพื่อให้นักโทษสามารถควบคุมความต้องการทางเพศของตัวเองได้ เพราะผลข้างเคียงของยาตัวนี้มันเยอะ คนที่ใช้นานๆก็อาจจะมีปัญหากระดูกผุ เบาหวาน ไขมันในเลือด โรคหัวใจ โรคซึมเศร้า ความจำเสื่อม บลาๆได้เยอะ

ในต่างประเทศที่มีการใช้วิธีการเหล่านี้ก็ยังเป็นที่ถกเถียงกัน ว่ามันคุ้มค่าหรือไม่ เพราะมีรายงานว่าอัตราการก่อเหตุซ้ำลดลงได้บ้าง แต่ก็มีคนโต้แย้งว่าเป็นวิธีการที่ไร้มนุษยธรรม แต่อีกฝั่งก็บอกว่ามันคุ้มค่าหากวิธีการนี้จะทำให้สังคมปลอดภัยยิ่งขึ้น

อ้างอิง https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3565125/…
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3565125/…
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/21956411″

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน