ศาลปกครอง พิพากษา เพิกถอนคำสั่งจุฬาฯ ตัดคะแนน เนติวิทย์ ให้พ้นสภานิสิต!

เมื่อวันที่ 4 เม.ย.ที่ศาลปกครอง ถ.เเจ้งวัฒนะ ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาในคดีหมายเลขแดงที่ 376/2562 ที่นายเนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับพวกรวม 8 คน ยื่นฟ้อง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เเละคณะกรรมการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์หรืออุทธรณ์ของนิสิต เป็นผู้ถูกห้องคดีที่ 1-3 เรื่องขอให้เพิกถอนคำสั่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ลงโทษตัดคะแนนความประพฤตินิสิตฯ และคำสั่งที่ให้สมาชิกสภานิสิตสามัญพ้นจากตำแหน่ง กรณีนิสิตเดินออกจากพิธีถวายสัตย์ปฏิญานและถวายบังคมพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระปิยมหาราชและสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้าของนิสิตใหม่ (ชั้นปีที่หนึ่ง)

ขอให้ศาลมีคำพิพากษาเพิกถอนคำสั่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทั้ง 3 ฉบับดังกล่าว และให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยชดใช้สินไหมทดแทนแก่นายเนติวิทย์กับพวกทั้ง 8 คนคนละ 10,000บาท รวมเป็นเงิน 80,000บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5ต่อปีนับแต่วันฟ้องจนกว่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะชำระให้นายเนติวิทย์กับพวกทั้ง 8 คนจนเสร็จสิ้น

โดยศาลปกครองพิจารณาวินิจฉัยเเล้วเห็นว่ากรณีที่ผู้ฟ้องคดีทั้ง 8 อ้างว่ากรรมการส่งเสริมวินัยนิสิตจำนวน 3 คนมีสภาพอันร้ายเเรงอันอาจทำให้การพิจารณาทางปกครองไม่เป็นกลางเเละจะทำให้พิจารณาเรื่องนั้นไม่ได้ ไม่ปรากฎข้อเท็จจริงว่ามีการกล่าวถ้อยคำหรือวาจาที่มีคำรุนเเรง

ในกรณีที่ผู้ฟ้องคดีที่ 1 กับพวกเคยรณณรงค์ให้เลิกนโยบายเเต่งชุดนักศึกษา ส่วนเรื่องที่1ในกรรมการเคยโต้เถียงเรื่องการจัดเสวนาในมหาวิทยาลัยก็เป็นไปในบริบทของเรื่องในขณะนั้น หลังเกิดเหตุก็ไม่ปรากฎข้อเท็จจริง ที่เเสดงให้เห็นว่า1ในคณะกรนมการมีสาเหตุโกรธเคืองผู้ฟ้องคดีอีก กรณีที่ผู้ฟ้องคดีกล่าวอ้างว่า กรรมการดังกล่าวมีสภาพอันร้ายเเรงจึงไม่สามารถรับฟังได้

ส่วนประเด็นเรื่องผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ได้เปิดโอกาสได้ทราบข้อเท็จจริงเพียงพอเเละโต้เเย้งนั้น เห็นว่า ก่อนจะมีการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมวินัยนิสิต ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1ได้มีหนังสือ รวม8 ฉบับเเจ้งผู้ฟ้องคดีกรณีการเเสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสมในเหตุการณ์ดังกล่าว เเละให้มีการสอบสวน พร้อมเเจ้งสิทธิในการคัดค้านกรรมการ

ชี้เเจง ขอตรวจดูเอกสารที่จำเป็น พร้อมเเจ้งสิทธิอุทธรณ์หากมีคำสั่ง อันเป็นการเเจ้งสิทธิในกระบวนพิจารณาทางปกครอง ข้ออ้างผู้ฟ้องคดีจึงไ่อาจรับฟังได้ ส่วนที่ว่าคณะกรรมการส่งเสริมวินัยนิสิตปฏิเสธไม่ให้ผู้ฟ้องคดีที่1ดูเอกสารพยานหลักฐานเกี่ยวข้องในการพิจารณาลงโทษวินัย เห็นว่า คู่กรณีมีสิทธิขอตรวจดูเอกสารที่จำเป็นต้องรู้เพื่อการโต้เเย้ง เพื่อป้องกันสิทธิจองตน เเต่ถ้ายังไม่ได้วินิจฉัยทำคำสั่งทางปกครองในเรื่องนั้น คู่กรณีไม่มีสิทธิขอตรวจดูเอกสารอันเป็นต้นร่างคำวินิจฉัย

ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าผู้ฟ้องคดีทั้ง 8 ถูกกล่าวหาเเสดงพฤติการณ์ที่ไม่เหมาะสมโดยเจตนาเดินออกจากเเถวขณะประกอบพิธีฯ โดยปรากฎเหตุการณ์เเละข่าวตามสื่อโซเชี่ยลฯที่ส่งผลต่อชื่อเสียงผู้ถูกฟ้องคดีที่1 ระเบียบจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่าด้วยวินัยนิสิตนักศึกษา พ.ศ.2527 กำหนดกฎระเบียบข้อบังคับ ไว้หลายข้อเกี่ยวกับเเนวทางปฏิบัติ ซึ่งนิสิตที่ฝ่าฝืนให้ถือว่ากระทำผิดวินัยตัดคะเเนนความประพฤติโดยให้คณะกรรมดังกล่าวเป็นผู้มีอำนาจสอบสวน พร้อมเสนอความเห็นต่อมหาวิทยาลัยเพื่อพิจารณาลงโทษ กรณีข้อเท็จจริง

รับฟังได้ว่า ผู้ฟ้องคดีทั้ง8ได้เข้าร่วมพิธีถวายสัตย์ปฏิญานและถวายบังคมพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระปิยมหาราชและสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้าของนิสิตใหม่ (ชั้นปีที่หนึ่ง)ในนามสภานิสิตนักศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในฐานะตัวเเทนนิสิต เพื่อเป็นสักขีพยานในการประกอบพิธีดังกล่าวโดยมีพิธีมีกำหนดการเเละการดำเนินการ มีการฝึกซ้อมก่อนเริ่มพิธีจริง เเละการเข้าร่วมพิธีจึงต้องอยู่ร่วมพิธีจนเสร็จสิ้น ซึ่งก็คือเมื่อผู้เข้าร่วมพิธีทุกคนร่วมกันร้องเพลงมหาจุฬาลงกรณ์เเล้วถวายคำนับ

เเม้จะเป็นความจริงว่า รัฐธรรมนูญบัญญัติ ว่าบุคคลย่อมมีสิทธิเสรีภาพในการเเสดงความเห็น พูด เขียน เเละการเดินทางเเละการจำกัดเสรีภาพจะทำไม่ได้ เเต่การใช้สิทธิเสรีภาพเช่นว่านั้นจะใช้กระทำตามอำเภอใจหาได้ไม่ เเต่ต้องใช้ภายในขอบเขตที่กฎหมายกำหนด ผู้ฟ้องคดีทั้ง 8 ย่อมรู้อยู่เเล้วว่า ผู้ฟ้องคดีที่ 1 มีการจัดพิธีถวายสัตย์ปฏิญานและถวายบังคมพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระปิยมหาราชและสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้าของนิสิตใหม่ (ชั้นปีที่หนึ่ง) เพื่อเเสดงตนเข้าเป็นนิสิต สืบเนื่องกันมาตลอด

เเม้ผู้ฟ้องคดีทั้ง 8 ไม่เห็นด้วยกับวิธีการถวายสัตย์ฯโดยเสนอให้ปรับเปลี่ยนรูปเเบบจากการถวายบังคม ของนิสิตปีที่1ให้มีการยืนก้มศรีษะร่วมอยู่ในพิธี เเต่เมื่อยังไม่ได้มีการเปลี่ยนรูปเเบบพิธีการผู้ฟ้องคดีในฐานะตัวเเทนนิสิตย์จึงต้อวเคารพปฏิบัติตามรูปเเบบดั่งที่เคยปฏิบัติกันมา เพื่อรักษาไว้ซึ่งความสามัคคี ระเบียบเรียบร้อย เเละเคารพในความเห็นบุคคลอื่น การเเสดงออกความเห็นของตนอันผิดเเผกเเตกต่างจากนิสิตที่เคยปฏิบัติมา

นอกจาก ไม่เคารพความคิดเห็นบุคคลอื่นเเล้ว ยังถือได้ว่าเป็นการกระทำที่สร้างความเเตกเเยกในหมู่คณะ เกิดความไม่เป็นระเบียบ การที่ผู้ฟ้องคดีทั้ง 8 เดินออกจากเเถวไปโค้งคำนับพระบรมราชานุสาวรีย์ฯ ในขณะที่ผู้เข้าร่วมพิธีอื่นยังคงยืนในเเถว ส่อเเสดงให้เห็นเจตนาผู้ฟ้องคดีในการเตรียมการนัดหมายกันล่วงหน้าเพื่อเเสดงออกเเก่บุคคลทั่วไปถึงความไม่เห็นด้วยกับรูปเเบบการประกอบพิธีถวายสัตย์ปฏิญานและถวายบังคมพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระปิยมหาราชและสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้าของนิสิตใหม่ (ชั้นปีที่หนึ่ง)

เเม้การกระทำจะไม่ก่อให้เกิดความวุ่นวายระหว่างพิธี เเต่ก็ถือเป็นการกระทำที่ไม่รักษาไว้ซึ่งความสามัคคี ความเป็นระเบียบเรียบร้อย เเละชื่อเสียงเกียรติคุณจุฬาฯ การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 มีมติให้ลงโทษตัดคะเเนนความประพฤติผู้ฟ้องคดีทั้ง 8 อันเป็นการกระทำผิดวินัยนิสิตฯข้อ 6 เเละ 8 ของระเบียบจุฬาฯ ข้อละ 10 คะเเนน รวมเป็น 20 คะเเนนถือเป็นการลงโทษตามอำนาจหน้าที่ส่วนที่ผู้ถูกฟ้องคดีมีการวินิจฉัยว่าผู้ฟ้องคดีมีการกระทำผิดวินัยข้อ 4,7เเละ 9 ให้ตัดคะเเนนความประพฤติผู้ฟ้องคดีทั้ง 8 คนละ 25 คะเเนนทำให้ผู้ฟ้องคดี 1-5

ซึ่งเป็นสมาชิกสภานิสิตสามัญจุฬาลงกรณ์ขาดคุณสมบัติเเละต้องพ้นจากตำเเหน่งดังกล่าวเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้ถูกฟ้องคดีที่1 จึงไม่อาจอาศัยข้อเท็จจริงอันเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายมาเป็นเหตุในการออกคำสั่ง ให้ผู้ฟ้องคดีที่ 1-5 ออกจากการเป็นสมาชิกสภานิสิตฯการที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 มีคำสั่งดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย เเต่เมื่อศาลวินิจฉัยว่าการกระทำเป็นความผิดตามข้อ 6 เเละ 8 เเล้ว การกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีมีอำนาจที่จะดำเนินการวินิจฉัยวินัยนิสิตฯเเละการที่ผู้ถูกฟ้องคดีได้มีมติเเก้ไขการตัดคะเเนนเมื่อวันที่ 25 ม.ค.61 จากเดิมตัดคะเเนน 25 คะเเนนเหลือตัดคะเเนน 20 คะเเนน

ซึ่งเเม้ผู้ถูกฟ้องคดีจะมีความเห็นเเตกต่างจากคำวินิจฉัยศาลข้างต้นเเต่ไม่อาจถือได้ว่ากลั่นเเกล้งหรือประมาทเลินเล่อ จึงไม่เป็นการทำละเมิดไม่ต้องรับผิดค่าสินไหมทดเเทน จึงพิพากษาเพิกถอนคำสั่งจุฬาฯเฉพาะส่วนที่วินิจฉัยว่า ผู้ฟ้องคดีกระทำผิดวินัยข้อ 8 เเละมติเเก้ไขคำสั่งเมื่อวันที่ 25 ม.ค.61 เฉพาะส่วนที่วินิจฉัยว่าผู้ฟ้องคดีทั้ง 8 กระทำผิดวินัยนิสิตข้อดังกล่าว 10 คะเเนนเเละคำสั่งจุฬาเรื่องให้ ผู้ฟ้องคดีที่1-5 พ้นจากสมาชิกสภานิสิตฯ โดยให้มีผลย้อนหลังถึงวันที่มีคำสั่ง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับคำพิพากษาดังกล่าว เป็นคำวินิจฉัยของศาลปกครองชั้นต้น ซึ่งคู่ความยังสามารถใช้สิทธิยื่นอุทธรณ์คดีได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลปกครองชั้นต้นในวันนี้

คลิกอ่านรายละเอียดของคำวินิจฉัยศาลปกครองกลาง https://drive.google.com/open?id=137pdQxPd5LTEzTqJh3Nkvx41wYNFJae7

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน