อัศจรรย์! ตะลึงทั้งวัด แสงประหลาด รูปหลวงปู่ทวด โผล่เหนือเศียรพระ แห่ตีเลขเด็ด

ขนลุกปาฏิหาริย์สุดตะลึงผู้สื่อข่าวรายงานจาก จ.แพร่ เกี่ยวกับความอัศจรรย์ และ แปลกประหลาด ราวอิทธิฤทธิ์ของพระพุทธรูป ที่วัดวังหลวง หมู่ 1 ตำบลวังหลวงหมู่ที่ 1 ตำบลวังหลวง อำเภอหนองม่วงไข่ จ.แพร่ โดยมีคณะผู้ศรัทธา และ ชาวบ้านจำนวนมาก เดินทางไปทำบุญที่วัด เมื่อวันพระ วันที่ 13 ก.ย. และยังเป็นวันที่ชาวบ้านตำบลวังหลวงได้จัดประเพณีทานสลากภัตด้วย จึงมีประชาชนจำนวนมากมาที่วัด

ไม่พลาดข่าวสำคัญ แค่กดเป็นเพื่อนกับ ไลน์@ข่าวสด ที่นี่เพิ่มเพื่อน

โดยมีพระครูวิศาลพัฒนกุล เจ้าอาวาสวัดวังหลวง นำพระภิกษุสามเณร วัดวังหลวง ประกอบพิธีกรรมทางศานา มีนายณัฐกานต์ จันทนู กำนัน ตำบลวังหลวง นำคณะศรัทธาชาวบ้านมาร่วมพิธี ในขณะที่ชาวบ้านได้ทำพิธีทางศาสนา ขึ้นในพระอุโบสถ ของวัด นั้น ได้เกิดมีแสงประหลาดขึ้นที่เศียรของพระพุทธรูป ซึ่งเป็นพระพุทธวิชัยประทานพรสันติสุข เป็นพระประธานในอุโบสถ ตนได้รีบเอาโทรศัพท์ออกมาถ่ายรูปไว้ ได้ 2 ภาพ ก่อนภาพนั้นเลือนหายไป ทำเอาคณะศรัทธาต่างฮืฮฮาและสร้างความประหลาดใจ แปลกใจในการแสดงปาฏิหาริย์ หรือ แสดงอิทธิฤทธิ์ ของพระประธานในอุโบสถ เป็นอย่างยิ่ง

นายรัฐกานต์ จันทนู กำนันตำบลวังหลวง เผยว่า ตนขนลุกซู่เลยทีเดียว เมื่อมีปรากฏการณ์นี้ พระพุทธวิชัยประทานพรสันติสุข พระพุทธรุปดินเหนียวองค์เดียวในโลกอายุ 148 ปี ย้ายมาจากวัดห่างบ้านวังหลวง ปั้นโดย พระกาวิชัยเจ้าอาวาสรูปแรก ชาวบ้านจึงขนานนามว่าพระพุทธวิชัย เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่ตำลบวังหลวง

เช้าวันที่ 13 ก.ย. เวลา 07.00 น. ได้มีพิธีทำบุญตักบาตรที่วัดวังหลวง เกิดปาฏิหาริย์ ตนได้ถ่ายภาพออกมามีแสงเป็นรูปพระอยู่บนเกศของพระพุทธวิชัย ทำให้ชาวบ้านปีติยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ไปร่วมบุญในวันสิบสองเป็งปีนี้ ตรงกับวันที่ 13 กันยายน 2562 หลังจากที่เสร็จพิธีแล้ว ชาวบ้านต่างก็ออกมาวิพากษ์วิจารณ์กันมาก จากเหตุการณ์ปาฏิหาริย์นี้ โดยบอกว่าลำแสงที่พวยพุ่งออกมาเป็นรูปหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด

ชาวบ้านส่วนใหญ่ยังพากันฮือฮา ตีเป็นเลขหวย หลายคนมาขอดูภาพถ่าย แต่ส่วนใหญ่ต่างก็เล่ากันว่า วันนี้เป็นวันพระใหญ่ 12 เป็ง วันที่ 13 เดือน 9 เหนือ เดือน 10 ใต้

พระครูวิศาลพัฒนกุล เจ้าอาวาสวัดวังหลวง ได้เล่าถึงประวัติหมู่บ้านวังหลวง ว่า จากการสอบถามผู้เฒ่า ผู้แก่ บางท่าน เล่าว่า การก่อตั้งชุมชนบ้านวังหลวง เริ่มแรกมีชาวบ้านหัวข่วง จังหวัดแพร่ ได้มาอาศัยพื้นที่ป่าบริเวณนี้ เพราะอุดมสมบูรณ์ ประจวบกับใกล้ภูเขา (ดอยม่อนนาบ่อ) และ แพะเปียง สภาพพื้นที่ป่าเป็นป่าไม้สักทอง เต็ง รัง เป็นที่อาศัยของสัตว์ป่า ชาวบ้านจึงล่าสัตว์เพื่อการยังชีพ และบริเวณใกล้ฝั่งแม่น้ำยมมีดินอุดมสมบูรณ์ น้ำเป็นทรัพยากรพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ในอดีตแม่น้ำยมเป็นแม่น้ำ ที่สะอาด และมีสัตว์น้ำนานาชนิดโดยเฉพาะบริเวณบ้านวังหลวงที่มีแม่น้ำยมไหลผ่าน บริเวณไหนที่มีน้ำลึก จะเรียกว่า “วัง” เช่น วังเครือบ้า วังอีตุ วังเคียน วังพระเจ้า (ที่วัดร้างตลาดสด) สันนิษฐานว่าเป็นที่มาของชื่อหมู่บ้าน “วังหลวง”

นอกจากนี้หลักฐานพื้นฐานขององค์ความรู้ที่เกิดจากการสั่งสมมาจากบรรพบุรุษ ที่ได้ถ่ายทอดกันมาให้ ชนรุ่นหลังได้ประกอบพิธีกรรมต่างๆ เพื่อให้สามารถดำรงชีวิต อยู่โดยพึ่งพาธรรมชาติ มาใช้ประโยชน์เพื่อการยังชีพ เช่น เชื่อเรื่องผี ผีบ้าน ผีเรือน ผีเจ้าที่ การเลี้ยงผีเจ้าบ้าน เลี้ยงผีศาลเจ้าพ่อหลวง ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้าน การสู่ขวัญ (การเอาขวัญ) พิธีบวชพระ (ดาปอย) ประเพณีถวายสลากภัต (กินสลาก) เป็นต้น ความเชื่อเหล่านี้นำมาสู่ขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ ถือปฏิบัติตามบรรพบุรุษแสดงออกถึงภูมิปัญญาของชุมชน นอกจากนี้ศิลปกรรมพื้นบ้านที่แสดงปรากฏให้เห็นถึงความสำเร็จของภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมาหลายอายุชน เช่น งานจักสาน และทอเครื่อง จักสานสำหรับดักสัตว์ กล่องข้าว ขันโตก เปลเด็ก เครื่องปั้นดินเผา งานแกะสลักการฟ้อนรำ และเพลงพื้นบ้าน จ้อย ซอ ค่าว เป็นต้น

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน