ช้าก่อน! นักประวัติศาสตร์ กางข้อมูลยืนยัน “ลอยกระทง” ไม่เกี่ยวกับพุทธ และพราหมณ์ แต่เป็นการไหว้ผี และไม่เกี่ยวกับสมัยสุโขทัย ไขข้องใจ “นางนพมาศ”

เป็นอีกหนึ่งวัน ที่เป็นความเชื่อคู่สังคมไทยมาช้านานสำหรับ “วันลอยกระทง” ซึ่งตรงกับวันเพ็ญ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ของทุกปี (ตามปฏิทินจันทรคติไทย และตามปฏิทินจันทรคติล้านนา) ซึ่งหากนับตามปฏิทินปัจจุบัน (สุริยคติ) ก็จะตรงกับช่วงเดือนพฤศจิกายน บางปีเทศกาลลอยกระทงจะตรงกับเดือนตุลาคม เช่นปี พ.ศ.2544 วันลอยกระทงปีนั้นตรงกับวันที่ 31 ตุลาคม และจะมาตรงกันอีกครั้งในปี พ.ศ.2563 เป็นต้น

สุจิตต์ วงษ์เทศ นักเขียนรางวัลศรีบูรพา ประจำปี พ.ศ.2536 ปัจจุบันเป็นนักเขียนประจำในเครือมติชน เขียนเป็นประจำในคอลัมน์ “สยามประเทศไทย” ในหนังสือพิมพ์มติชน ได้กล่าวถึงประวัติวันลอยกระทงไว้ว่า ลอยกระทงความเป็นมา มันต้องอยู่บริเวณน้ำไหล ที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาภาคกลางตอนล่าง ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่อยุธยา ซึ่งภูมิประเทศดังกล่าว จึงมีประเพณีแบบนี้ ลองกระทงต้องลอยให้ไหล ไม่ใช่อยู่นิ่งๆ มิเช่นนั้นน้ำมันจะเน่าเสีย

ส่วนข้องความว่า “เผาเทียนเล่นไฟ” ในจารึกของพ่อขุนรามคำแหงนั้น มีความหมายกว้างๆ ถึงงานทำบุญไหว้พระ และมีการละเล่นเป็นมหรสพเท่านั้น ไม่เกี่ยวกับประเพณีการลอยกระทงแต่อย่างใด ดังนั้น เรา (ผู้พูด) ไม่ได้ต่อต้านงานลอยกระทงที่สุโขทัย แต่ไม่เห็นด้วย สองเรื่อง คือ

1.ข้อมูลนางนพมาศ คลาดเคลื่อน นางนพมาศไม่มีตัวตนจริง เป็นนิยาย เป็นเรื่องแต่ง เป็นหนังสือคู่มือสอนผู้หญิงที่จะเข้ารับราชการเท่านั้น

2. สถานที่ลอยกระทง คลาดเคลื่อน ลอยกระทงต้องลอยในน้ำไหล ไม่ใช่ลอยในน้ำนิ่ง ในตระพังกรุงสุโขทัย ตระพังนั้นขุดขึ้นมา ใช้เฉพาะในวัดกับในวัง เป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ ผ่านการกรองโดยธรรมชาติมาแล้ว ไม่ใช่ขุดขึ้นมาลอยกระทง คือถ้าอธิบายตามนี้จบ จะลอยกระทงกี่ปีก็ตามใจ

สุจิตต์ยังกล่าวต่ออีกว่า “ลอยกระทง” ที่เราเรียกกันอยู่ทุกวันนี้ เป็นชื่อปัจจุบัน สมัยอยุธยาไม่มีคำว่าลอยกระทง และการลอยกระทง มีรากเหง้ามาจากการขอขมา “ผีน้ำ ผีดิน” หมายความว่า ปีนึงเนี่ย น้ำฝน น้ำท่า แม่น้ำลำคลอง มาเลี้ยงชีวิตคน คนก็มีสำนึกว่า ถึงก็จะต้องขอขมา พิธีขอขมา มันก็โดยใช้ทำสิ่งง่ายๆ “ขอขมา ผีน้ำ ผีดิน”

ทุกสิ่งทุกอย่างมีผี เพราะว่าลอยกระทง มีกำเนิดจากศาสนาผี ไม่ใช่ศาสนาพุทธ และศาสนาพราหมณ์ ที่เรามาเรียกตอนหลังว่าแม่พระคงคา แม่พระธรณี แต่ไปยืมศัพท์ของอินเดียมาใช้ก็เท่านั้นแหละ เพราะฉะนั้น เป็นเรื่องของการ “ผีบรรพชน” ไหว้ขอขมาที่ใช้ดื่มใช้กิน

และแผ่นดินเขาถือว่าเป็นเพศหญิง เวลาไถนา ปลูกพืช ขุดดินเนี่ย เขาถือว่าได้ทำสายเลือดของแม่ขาด และทำให้เลือดไหลออกมา กลายเป็นแม่น้ำที่หล่อเลี้ยงพืช เพราะฉะนั้น คนมันมีกินมีใช้ได้ เพราะแม่พระธรณี และแม่พระคงคา คือผีดิน กับผีน้ำ ที่ช่วยหล่อเลี้ยงไว้ ถึงปีจึงต้องทำพิธีขอขมา (ฟังต่อได้ที่คลิปด้านล่าง)

ตามตำรา ที่หลายท่านร่ำเรียนกันมาตั้งแต่สมัยเด็กๆ มีบันทึกไว้ว่า ประเพณีลอยกระทงเป็นประเพณีโบราณของอินเดียที่ประเทศไทยรับเข้ามาปฏิบัติ แต่ไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าทำกันมาตั้งแต่เมื่อไหร่ เท่าที่ปรากฏกล่าวได้ว่ามีมาตั้งสมัยสุโขทัยเป็นราชธานี

ทั้งนี้ มีข้อสันณิฐานว่า เดิมทีเดียวเห็นจะเป็นพิธีของพราหมณ์กระทำเพื่อบูชาพระผู้เป็นเจ้าทั้งสาม คือ พระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม ต่อมาได้ถือตามแนวทางพระพุทธศาสนามีการชักโคมเพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุพระจุฬามณีในชั้นดาวดึงส์ และลอยโคมเพื่อบูชารอยพระพุทธบาท ซึ่งประดิษฐาน ณ หาดทรายแม่น้ำนัมมทา (แม่น้ำนัมมทา เป็นแม่น้ำที่คู่ขนานกับทิวเขาวินธัย ไหลลงภาคตะวันตกของอินเดียแบ่งเขตอินเดียออกเป็นภาคเหนือและภาคใต้)

ตำนานที่หาหลักฐานยืนยันมิได้ กล่าวไว้ว่าในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง มีนางนพมาศหรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์ เป็นผู้ประดิษฐ์กระทงขึ้นครั้งแรก โดยแต่เดิมเรียกว่าพิธีจองเปรียง ที่ลอยเทียนประทีป และนางนพมาศได้นำดอกโคทม ซึ่งเป็นดอกบัวที่บานเฉพาะวันเพ็ญเดือนสิบสองมาใช้ใส่เทียนประทีป ดังปรากฏในตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์กล่าวถึงพระดำรัสของพระร่วงว่า

“แต่นี้สืบไปเบื้องหน้า โดยลำดับกษัตริย์ในสยามประเทศ ถึงกาลกำหนดนักขัตฤกษ์ วันเพ็ญเดือน 12 ให้ทำโคมลอยเป็นรูปดอกบัว อุทิศสักการบูชาพระพุทธบาทนัมมทานทีตราบเท่ากัลปาวสาน แต่ปัจจุบันมีหลักฐานว่าไม่น่าจะเก่ากว่าสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

โดยอ้างอิงหลักฐานจากภาพจิตรกรรมการสร้างกระทงแบบต่างๆ ในสมัยรัชกาลที่ 1 จากนั้นในสมัยรัชกาลที่ 2 ได้เปลี่ยนแปลงจากการทำจากดอกบัวเป็นต้นกล้วยเพราะดอกบัวดังกล่าวหายากและมีน้อย จึงใช้ต้นกล้วยทำแทนแล้วดูไม่สวยจึงใช้ใบตองมาพับแต่งจนสวยสืบทอดมาจนปัจจุบัน


 

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน