ทุบ อาคาร 120 ปี อนุสรณ์ค้าไม้ คนแพร่ช็อกทำไมต้องทำลาย อ.ดังโพสต์ติง!

มติชนออนไลน์ รายงานว่า นายธีรวุฒิ กล่อมแล้ว ประธานภาคีเครือข่ายอนุรักษ์เมืองเก่าแพร่ เปิดเผยว่า ในจังหวัดแพร่มีอาคารอายุ 120 ปี ซึ่งเป็นประวัติศาสตร์ทำไม้ของบริษัทต่างชาติที่เข้ามาทำไม้ในจังหวัดแพร่เมื่อ 120 ปีก่อน ซึ่งเป็นอนุสรณ์สถาน เป็นอาคารสำนักงาน ไม่ว่าจะเป็นในโรงเรียนป่าไม้จังหวัดแพร่ ที่มีอาคารของบริษัทอีสเอเชียติกส์ ให้ได้เรียนรู้

ส่วนของอาคารที่สวนรุกขชาติเชตวัน จ.แพร่ มีอาคารไม้เก่าแก่อายุ 120 ปีของบริษัทบอมเบย์เบอร์ม่า ที่เคยเป็นสำนักงานการประกอบธุรกิจไม้ในเมืองไทย และ ป่าสักอันสมบูรณ์ที่สุดในประเทศไทย คือ จังหวัดแพร่ในอดีต ซึ่งบริษัทต่างชาติเข้ามาทำไม้ เมื่อสัมปทานไม้หมดลง ยังมีร่องรอยประวัติศาสตร์ให้เห็นมาจนปัจจุบัน

เกาะติดข่าว กดติดตามไลน์ ข่าวสด
เพิ่มเพื่อน

“หลังจากมีโครงการปรับปรุงซ่อมแซมอาคารศูนย์เรียนรู้ป่าไม้ สวนรุกขชาติเชตะวัน ที่บริเวณชุมชนเชตะวัน ริมแม่น้ำยม อ.เมือง จ.แพร่ ผู้รับจ้างเป็นบริษัทรับเหมาในจังหวัดแพร่ มีมูลค่า 4,560,000 บาท หลังเข้ามาดำเนินการ ปรากฏว่ามีการทุบทิ้งอาคารไม้เก่าแก่ของบริษัทบอมเบย์เบอร์มา ทำให้ประชาชนชาวแพร่ช็อกไปตามๆกัน เนื่องจากเป็นอาคารไม้เก่าแก่ที่เห็นกันมานานและมีอายุ 120 ปี ถูกรื้อถอนเหลือแต่ซากหักปรักพัง

ซึ่งต้องเข้าไปสอบถามหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในฐานะคนเมืองแพร่ว่า สาเหตุข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร ในความรู้สึกของคนแพร่แล้ว ประวัติศาสตร์อันยาวนานกว่า 120 ปีเกี่ยวกับการทำไม้ของบริษัทต่างชาติที่ทิ้งรอย เรื่องราวให้ได้ศึกษา และอนุสรณ์สถานให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาแต่ไม่ทราบเหตุผลที่ทุบทิ้งขนาดนี้ โดยในวันนี้กลุ่มจะเข้าไปพบหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และรับทราบเท็จจริง และหาคำตอบให้คนแพร่” นายธีรวุฒิ กล่าว

ทั้งนี้ สำหรับ บริษัท บอมเบย์ เบอร์มา เทรดดิ้ง เป็นบริษัทสัญชาติอังกฤษ เริ่มทำไม้ในประเทศพม่าก่อนเพื่อส่งออกไม้ไปยังจีน อินเดียซึ่งใช้ไม้สักในการต่อเรือ ในภายหลังเริ่มเข้ามาทางภาคเหนือของไทย เนื่องจากป่าไม้ยังอุดมสมบูรณ์ และค่าสัมปทานถูกกว่าในพม่า เข้ามาทำไม้ในเมืองแพร่ตั้งแต่ ปีพ.ศ.2432 โดยได้รับสัมปทานทำไม้ในบริเวณป่าแม่น้ำยมตะวันตก และได้สร้างอาคารสำนักงานดังกล่าว ถึงปัจจุบันมีอายุราว 127 ปี

ตั้งอยู่ที่บริเวณท่าน้ำบ้านเชตวัน อ.เมืองจังหวัดแพร่ สันนิษฐานว่าบริเวณท่าน้ำบ้านเชตวัน ในอดีตเป็นที่พักไม้ที่ล่องมาทางเหนือแม่น้ำ ก่อนล่องตาม แม่น้ำยมลงไปจนถึงกรุงเทพแล้ว แปรรูปต่อที่โรงงานในพระนครก่อนขึ้นเรือส่งออกไปยังประเทศต่างๆ ต่อมาหลังหมดสัญญาสัมปทานป่าไม้แล้ว บริษัทได้ยกอาคาดังกล่าวให้กับรัฐ

ขณะเดียวกัน ผศ.ปริญญา ชูแก้ว อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เจ้าของรางวัล ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่น ประเภทบุคคล ประจำปี 2561 – สมาคมสถาปนิกสยามฯ ในพระบรมราชูปถัมภ์ แสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้ผ่านทางเฟซบุ๊กส่วนตัว ความว่า เมืองแพร่ เทคนิคและวิธีการอนุรักษ์อาคารเก่าตามหลักวิชาการบนโลกใบนี้ถูกลบล้างลงอย่างสิ้นเชิง

ทุบเหลือแต่ซาก อาคาร 120 ปี อนุสรณ์ค้าไม้เมืองแพร่

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน