กลายเป็นประเด็นร้อนในทวิตเตอร์ หลังชาวเน็ตแชร์คลิปวิดีโอเด็กประถมถ่ายคลิปดูดบุหรี่ไฟฟ้าโชว์เท่ โดยหลายคนมองว่าเป็นการเลียนแบบพฤติกรรมของผู้ใหญ่หรือเป็นการทำให้เพื่อนยอมรับตนเองด้วยการสูบบุหรี่ไฟฟ้า

ในปัจจุบันโลกออนไลน์มีการเผยแพร่ข้อมูลต่าง ๆ ให้ผู้คนเข้าถึงข่าวสารได้ง่ายยิ่งขึ้น แต่ทว่ามีข้อเสีย หากไม่ใช้วิจารญาณในการเลือกรับสารจะทำให้เกิดการรับข้อมูลผิด ๆ หรือการกระทำที่ไม่สมเหตุสมผลกลายเป็นเรื่องธรรมดามากขึ้นเรื่อย ๆ อย่างเช่นประเด็นดราม่าคลิปวิดีโอเด็กป.3 สูบบุหรี่โชว์เท่ จนเกือบสำลัก

ประเด็นร้อนดังกล่าวมีชาวเน็ตชมถึง 900,000 ครั้งพร้อมทั้งร่วมแสดงความคิดเห็น วิพากษ์ และวิจารณ์กันอย่างล้นหลาม ไม่ว่าจะ “ส่วนหนึ่งมาจากการที่ผู้ใหญ่ถ่ายคลิปสูบลงในแพลตฟอร์มที่เข้าถึงได้ทุกวัยและเด็กมันก็คิดว่าเท่เลยทำตาม​ ไม่มีวิจารณญาน​ในการดูสื่อ​ พ่อแม่ไม่สนใจลูก”

“เอาจริง ๆ กินเหล้า สูบบุหรี่ มันก็ไม่ผิดนะ ถ้าเกิดบรรลุนิติภาวะแล้ว แต่อันนี้ก็คือหนูลูกรอโตกว่านี้ก่อนมั้ย” “มีลูกเมื่อพร้อมนะทุกคน” “ดูทรงก็รู้ว่าเก็กดูจะสำลักควันอยู่แล้ว โตไปกลับมาดูนะว่าตัวเองทำอะไรไปบ้าง”

แต่ทว่ามีชาวเน็ตบางคนโต้แย้งเรื่องสิทธิและเสรีภาพในการกระทำของตนจนมีชาวเน็ตบางคนออกมาโต้กลับว่า “เลิกบอกว่า เขาจะทำอะไรก็เรื่องของเขา เงินเขา เขาหาเงินมาซื้อเอง แต่สิ่งที่คุณทำคือคุณเอาเงินไปซื้อของผิดกฎหมายเหรอ

“นอกจากเรื่องสุขภาพน้องแล้ว ที่คนเขาเตือนกันเพราะเรื่องสิทธิเด็กด้วย คือมันไม่ใช่แค่ว่าก็น้องพอใจจะทำหรือโอเคที่จะทำ แต่ธรรมชาติของคนแต่ละวัยไม่เหมือนกัน เราจะรู้ได้ยังไงว่าเด็กทำไปเพราะรู้, เข้าใจ, และพร้อมจะรับผลที่ตามมาจริง ๆ ไม่ใช่ทำเพราะแค่อยากได้คำชมจากผู้ปกครองหรือถูกผู้ปกครองยุให้ทำผิด ๆ”

ซึ่งไม่ใช่เด็กหญิงเพียงคนเดียวที่มีพฤติกรรมแบบนี้ หากลองสังเกตในแพลตฟอร์มต่าง ๆ ไม่ว่าติ๊กต็อก อินสตาแกรม หรือเฟซบุ๊ก จะเห็นว่าเสื่อออนไลน์มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของเด็กไทยในปัจจุบัน ซึ่งมีพฤติกรรมเลียนแบบคนดังหรือเน็ตไอดอลอย่างไม่ไตร่ตรองในโลกโซเชียลกันมากยิ่งขึ้น

อย่างไรก็ตาม ศ.พ.ประกิต วาทีสาธกกิจ ประธานมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ กล่าวว่า องค์การอนามัยโลกได้ออกรายงาน Global Tobacco Epidemic 2021 โดยให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์ยาสูบแบบใหม่ที่ให้สารนิโคติน ได้แก่ บุหรี่ไฟฟ้า และบุหรี่แบบให้ความร้อน ซึ่งองค์การอนามัยโลกสนับสนุนกฎหมายห้ามบุหรี่ไฟฟ้า

ตามมติชนรายงาน ในประเทศไทยบุคคลที่มีบุหรี่ไฟฟ้าไว้ในความครอบครองผิดกฎหมาย 3 ฉบับ ได้แก่ 1. ประกาศกระทรวงพาณิชย์ ตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การส่งออกไปนอกและนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ.2522 โดยบุหรี่ไฟฟ้าเป็นสินค้าต้องห้ามนำเข้าและห้ามนำผ่านราชอาณาจักร

2. คำสั่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคที่ 9/2558 ห้ามขายหรือห้ามให้บริการบารากุ บารากุไฟฟ้า บุหรี่ไฟฟ้า รวมถึงตัวยาบารากุและน้ำยาสำหรับเติมบุหรี่ไฟฟ้า

3. พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2560 ระบุว่าห้ามผู้ใดนำบุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งเป็นของต้องห้ามถ่ายลำ นำผ่าน นำเข้ามาในราชอาณาจักร เนื่องจากเป็นสินค้าห้ามนำเข้า ซึ่งไม่ผ่านการเสียภาษี จึงใช้กฎหมายฉบับนี้ดำเนินการได้

โดยกรณีผู้สูบหรือมีบุหรี่ไฟฟ้าไว้ในครอบครอง ถือว่ามีความผิดในฐานครอบครองสิ่งที่นำเข้ามาโดยผิดกฎหมาย ต้องระวังโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับเป็นเงิน 4 เท่าราคาสินค้า หรือทั้งจำทั้งปรับ เพื่อปกป้องประชาชนในประเทศจากความเสี่ยงต่อสุขภาพและอันตรายจากการใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ที่ยังไม่มีการพิสูจน์ว่าปลอดภัย

ขอบคุณที่มาจาก Twitter

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน