เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 24 มี.ค. ณ อาคารอาเหนกป้าสง ช่างชุ่ย กรุงเทพฯ หนังสือศิลปวัฒนธรรม ร่วมกับสำนักพิมพ์มติชน จัดงานเสวนาประวัติศาสตร์ “ตามรอยออเจ้า เล่าเรื่องกรุงศรี ที่ช่างชุ่ย” ภายใต้หัวข้อ “ตามรอยออเจ้า เล่าเรื่องกรุงศรี ที่ช่างชุ่ย” นำเสวนาโดย รศ.ดร.รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง ผู้เชี่ยวชาญโบราณสถานในอยุธยา ผศ.ดร.รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล ผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์อยุธยา และอ.ธีรพันธุ์ จันทร์จริญ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องผ้าในราชสำนัก ดำเนินรายการโดย วิกรานต์ ปอแก้ว และ เอกภัทร เชิดธรรมธร

ผศ.ดร.รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล ผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์อยุธยา กล่าวว่า ในละครเรื่องบุพเพสันนิวาส อ้างอิงมาจากประวัติศาสตร์ยุคสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ช่วงอยุธยาตอนปลาย บางตำรายกย่อง ยุคสมัยของพระองค์ ว่าเป็นยุคที่มีความรุ่งเรืองมากยุคหนึ่ง อย่างไรก็ตามการศึกษาประวัติศาสตร์ ยังคงต้องหาหลักฐานและทบทวนอยู่เสมอ ฉากในละครหรือประวัติศาสตร์ที่เขียนไว้จึงขึ้นอยู่กับการตีความตามบริบท

ทีมนักแสดงเรื่องบุพเพสันนิวาส

ผศ.ดร.รุ่งโรจน์กล่าวว่า เมื่อพูดถึงตัวละครสำคัญอย่างคอนสแตนติน ฟอลคอน หรือเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ ขุนนางต่างชาติในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ในละครนำเสนอภาพเป็นขุนนางต่างชาทีมีบุคลิกเกรี้ยวกราด ในส่วนนี้ก็ไม่สามารถตัดสินได้ ขึ้นอยู่กับการตีความหรือมุมมองของแต่ละคน ส่วนตัวคิดว่าไม่มีใครเป็นสีขาวหรือสีดำอย่างชัดเจน ยกตัวอย่างเช่น หากถามพ่อค้าอังกฤษที่อยู่ในอินเดียว่าฟอลคอนเป็นอย่างไร ก็คงจะบอกว่าฟอลคอน เป็นขุนนางขี้โกง ซึ่งฟอร์คอนก็โกงบริษัทจริงๆ ฉะนั้นการศึกษาประวัติศาสตร์ ซึ่งไม่ทราบความจริงทั้งหมดจึงยากที่จะตัดสินว่าใครเป็นเช่นไร

ผู้เข้าร่วมฟังการเสวนา

ผศ.ดร.รุ่งโรจน์กล่าวว่า ในยุคของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้ชื่อว่าเป็นยุคที่เปิดการค้ากับต่างชาติโดยเฉพาะชาติตะวันตกมากเป็นพิเศษ จึงมีการนำนวัตกรรม และเทคโนโลยีมาใช้ในช่วงนั้นด้วย

ผศ.ดร.รุ่งโรจน์กล่าวว่า ส่วนตัวละครยังแม่มะลิ หรือมารี กีมาร์ ภรรยาของฟอลคอน จากบันทึกของฝรั่งเศสระบุว่ามีแม่นับถือศาสนาคริสอาศัยอยู่ในประเทศญี่ปุ่น ในขณะนั้นประเทศญี่ปุ่นมีนโยบายต่อต้านคริสต์ศาสนา บรรพบุรุษของกีมาร์ จึงต้องอพยพไปอยู่ที่ประเทศเวียดนาม ก่อนจะถูกต้อนมาที่กรุงศรีอยุธยา นอกจากนี้ยังมีข้อถูกเถียงว่าแม่ของกี้มาแอบมีสัมพันธ์ลับกับบาทหลวงชาวตะวันตก เพราะตามบันทึกกีมาร์มีผิวขาวผิดแปลกไปจากพี่น้องคนอื่น

‘ซูซี่ สุษิรา’ (ซ้าย) รับบทเป็นท้าวทองกีบม้า เบลล่า ราณี (ซ้าย รับบทแม่หญิงการะเกด

ผศ.ดร.รุ่งโรจน์กล่าวว่า เมื่ออายุได้ 16 ปี กีมาร์แต่งงานกับฟอลคอน กีมาร์นั้นนับถือนิกายโรมันคาทอลิค ส่วนฟอลคอนนับถือนิกายออโธด็อก ซึ่งพ่อของฟอลคอนก็ไม่ค่อยพอใจกับความสัมพันธ์ของทั้งสอง เพราะต่อมาฟอลคอนก็เปลี่ยนมานับถือนิกายโรมันคาทอลิก ทั้งสองมีลูกด้วยกัน 2 คน ต่อมาเริ่มมีปัญหาระหองระแหงเพราะนิสัยเจ้าชู้ของฟอลคอน

ผศ.ดร.รุ่งโรจน์กล่าวว่า ส่วนประเด็นเรื่องการทำขนมทองหยิบทองหยอดและฝอยทองของกีมาร์ หลักฐานทางประวัติศาสบางส่วนรับรองว่านางได้ทำขนมจริง เพราะกีมาร์ทำงานอยู่ในห้องเครื่องของวัง แต่ไม่สามารถยืนยันได้ว่าดีมาทำขนมทองหยิบทองหยอดและฝอยทองอย่างชัดเจน

ก็อต จิรายุ รับบทบาทเป็นหลวงสรศักดิ์ หรือพระเจ้าเสือ

ผศ.ดร.รุ่งโรจน์กล่าวว่า ส่วนตัวละครอย่างหลวงสรศักดิ์ หรือพระเจ้าเสือ ขอกล่าวย้อนไปสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้ยกทัพไปตีเมืองเชียงใหม่ บางบันทึกระบุว่าตอนนั้นพระองค์ได้สาวมานางหนึ่ง ต่อมาทราบว่าหญิงคนนี้ตั้งครรภ์จึงยกให้กับพระเพทราชา บ้างระบุว่าพระเจ้าเสือเป็นโอรสลับของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีตัวอย่างหนึ่งที่แสดงความสำคัญของพระเจ้าเสือต่อสมเด็จพระนารายณ์มหาราชคือ ตอนที่พระเจ้าเสือเตะฟอลคอนจนฟันหัก แต่สมเด็จพระนารายณ์มหาราช กลับไม่ว่ากล่าวพระเจ้าเสือแต่อย่างใด และตามบันทึกของชาวฮอลันดาระบุว่าพระเจ้าเสือเป็นโอรสลับของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

ผศ.ดร.รุ่งโรจน์กล่าวว่า มีเรื่องซุบซิบว่าพระเจ้าเสือมีรสนิยมชอบเด็กผู้หญิง ซึ่งรสนิยมทางเพศเช่นนี้พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ของฝรั่งเศสก็เป็นเช่นเดียวกัน ถ้ามองในเชิงสุขอนามัย คาดว่าอาจเป็นการป้องกันโรคติดต่อก็ได้

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน