นักโภชนาการเตือน น้ำเปล่า 4 ประเภทที่ไม่ควรดื่ม เสี่ยงเกิดโทษมากกว่า ทั้งกลืนแบคทีเรีย-สารอันตราย
น้ำเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของร่างกายมนุษย์ นอกจากสามารถช่วยในการขนส่งสารอาหาร, ส่งเสริมการเผาผลาญ, ควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย และหล่อลื่นข้อต่อ ยังรักษาความยืดหยุ่นของผิวหนังและกำจัดของเสียออกจากร่างกายอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม ฮวง พินซวน นักโภชนาการออกมาโพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก 營養師品瑄 ระบุว่า ทุกคนรู้ดีว่าในช่วงอากาศร้อนจะต้องเติมน้ำเข้าสู่ร่างกายเสมอเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะฮีตสโตรกและการขาดน้ำ แต่รู้หรือไม่ว่า น้ำที่ดื่มไม่ปลอดภัยหรือเปล่า?
ต่อมานักโภชนาการได้ระบุน้ำเปล่า 4 ประเภทที่ควรหลีกเลี่ยงให้มากที่สุดเพื่อป้องกันการดื่มแบคทีเรียและสารพิษ ซึ่งจะก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายมนุษย์ได้
1. น้ำตามธรรมชาติที่ไม่ได้ผ่านกรรมวิธีบำบัด โดยบางคนคิดว่าน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติหรือภูเขาจะสะอาด ดังนั้น บางคนจึงดื่มน้ำโดยตรง ที่จริงแล้ว น้ำจากแหล่งน้ำที่ไม่ผ่านการบำบัดนั้นปนเปื้อนได้ง่าย และการดื่มโดยตรงอาจทำให้เกิดแบคทีเรียและปรสิตได้
2. น้ำดื่มบรรจุขวดที่สัมผัสกับอุณหภูมิสูงหรือแสงแดด โดยขวดพลาสติกทั่วไปอาจปล่อยสารอันตรายหลังจากสัมผัสกับอุณหภูมิสูงเป็นเวลานาน แม้ว่าจะวางไว้ในรถที่ไม่มีแสงแดดส่องโดยตรง แต่อุณหภูมิภายในรถหลังจากโดนแดดจะสูงมาก เช่น ช่วงฤดูร้อนอาจมีอุณหภูมิสูงเกิน 70 องศา ก็อาจจะปล่อยสารอันตรายหรือทำให้เสียรูปจึงไม่แนะนำให้ดื่มเปล่าประเภทนี้
3. อมน้ำไว้ในปากนานเกินไป เนื่องจากมีแบคทีเรียจำนวนมากในปากของมนุษย์ เมื่อสัมผัสกับน้ำ แบคทีเรียจะขยายตัวเพิ่มขึ้นในน้ำ ดังนั้น จึงแนะนำให้ดื่มน้ำให้เร็วที่สุด
4. น้ำต้มที่ทิ้งไว้หลายวัน โดยประชาชนหลาย ๆ คนคิดว่า น้ำที่ต้มฆ่าเชื้อแล้วสามารถเก็บไว้ได้นาน นี่ถือเป็นความคิดที่ผิด จริง ๆ หากภาชนะใส่น้ำไม่สะอาดหรือปิดผนึกไว้ แต่เปิดทิ้งไว้นาน ๆ จุลินทรีย์ก็อาจมีมากขึ้นเช่นกัน
นอกจากนี้ นักโภชนาการยังแนะนำว่า หลังจากออกกำลังกายอย่างหนัก ร่างกายมนุษย์จะสูญเสียอิเล็กโทรไลต์ต่าง ๆ หากคุณดื่มน้ำมาก ๆ ทันทีหลังออกกำลังกายโดยไม่ได้เติมอิเล็กโทรไลต์เพียงพอ อาจทำให้เกิดภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ และอาจมีอาการต่าง ๆ เช่น เหนื่อยล้า ตะคริว และหัวใจเต้นผิดปกติ จึงขอแนะนำให้ทุกคนดื่มน้ำในปริมาณที่เหมาะสมหลังออกกำลังกาย หรือเติมเกลือลงในน้ำเพื่อเติมอิเล็กโทรไลต์