สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค หรือ สคบ. แนะวิธีเซ็นสำเนาถูกต้อง-ปลอดภัย บนสำเนาบัตรประชาชน ป้องกันมิจฉาชีพ
สำเนาบัตรประชาชน เป็นเอกสารสำคัญที่ใช้สำหรับทำธุรกรรม หรือใช้ในการติดต่อกับหน่วยงานราชการต่างๆ ซึ่งหลายๆคนอาจรู้อยู่แล้วว่าการเซ็นรับรองสำเนาเป็นสิ่งที่ต้องทำ แต่หลายๆคนก็อาจจะสับสนถึงวิธีการ หรือรูปแบบของการเซ็นสำเนาที่ถูกต้อง
ล่าสุด เพจ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ได้เผยแพร่ ข่าวประชาสัมพันธ์ เรื่อง “วิธีเซ็นสำเนาถูกต้องบัตรประชาชน” โดย สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ระบุว่า วิธีเซ็นสำเนาถูกต้องบนสำเนาบัตรประชาชน
ปัจจุบันการทำธุรกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการซื้อของออนไลน์ การสมัครงาน หรือสมัครเรียน
หลายแห่งเริ่มนิยมให้ส่งบัตรประชาชนผ่านทางออนไลน์กันมากขึ้น ซึ่งการถ่ายรูปบัตรประชาชนหรือส่งสำเนา บัตรประชาชนทางออนไลน์นั้นสามารถทำได้ แต่ต้องทำอย่างระมัดระวังและทำให้ถูกวิธี มีวิธีเซ็นสำเนาบัตรประชาชนที่ถูกต้องและปลอดภัยมาฝากค่ะ ใครที่ต้องเซ็นสำเนาบัตรเพื่อทำธุรกรรมไม่ต้องกลัวใครเอาเอกสารเราไปแอบอ้าง
1. การถ่ายบัตรประชาชนควรถ่ายแค่หน้าบัตรประชาชนเท่านั้น ห้ามถ่ายหลังบัตร เพราะด้านหลัง
มีรหัสบัตร เลขหลังบัตร เรียกว่า Loser ID (รหัสกำกับบัตรประจำตัวประชาชน) ใช้ยืนยันตัวตนในการทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเงินทั้งหมดได้
2. ขีดเส้นคร่อมสองเส้นบนตัวบัตร แต่ห้ามขีดทับรูปหน้าเราเพราะรูปที่ถ่ายเอกสารบางทีหน้าเราก็ไม่ชัดอยู่แล้ว ถ้าขีดเส้นทับจะทำให้การยืนยันตัวตนยากไปอีก ขีดทับข้อมูลสำคัญๆ เพื่อให้การแอบอ้างหรือปลอมแปลงยากขึ้นก็พอ
3. ระหว่างเส้นที่ขีดคร่อม ให้เขียนว่า “ใช้สำหรับสมัครงานเท่านั้น” หรือ “ใช้สำหรับค้ำประกันเท่านั้น” ฯลฯ เพื่อไม่ให้มิจฉาชีพนำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์
4. ควรใส่เขียนสัญลักษณ์ # ปิดหัว-ปิดท้ายประโยคเพื่อป้องกันการเติมข้อความ
5. เขียน วัน เดือน ปี ที่เซ็นลงไป เพราะถ้าเราไม่เขียน มิจฉาชีพจะสามารถนำเอกสารไปใช้ได้
6. เขียน “สำเนาถูกต้อง” พร้อมกับเซ็นชื่อของตัวเอง ซึ่งข้อนี้เชื่อว่าทุกคนทำกันอยู่แล้ว คนส่วนใหญ่อาจจะเซ็นตรงพื้นที่ว่างข้างล่าง แต่วิธีเซ็นที่ปลอดภัยคือเซ็นทับไปบนบัตร
วิธีที่เอามาฝากอย่าลืมเอาใช้ จะได้ปลอดภัยจากมิจฉาชีพ การเซ็นรับรองสำเนาบัตรประชาชนสำคัญ
เจ้าสำหรับสมัครงานเท่านั้น” มาก เพราะเอกสารเหล่านี้สามารถนำไปใช้ในนิติกรรมที่ผูกพันเจ้าของ
บัตรได้