บริษัท ไทย ยามาฮ่า มอเตอร์ จำกัด ร่วมกับ สมาคมวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี แถลงข่าวอย่างเป็นทางการเดินหน้าสานต่อวิชาชีพมอเตอร์สปอร์ต โครงการ ยามาฮ่า โมโต ชาลเลนจ์ ซีซั่นที่ 7 ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมาร

เกาะติดข่าว กดติดตามไลน์ ข่าวสด
เพิ่มเพื่อน

สำหรับโครงการ Yamaha Moto Challenge Season 7 จะมีสถาบันการศึกษาในสังกัด สมาคมวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น จำนวน 15 สถาบัน จากทั่วประเทศ โดยในแต่ละสถาบันการศึกษาจะประกอบไปด้วย นักแข่ง, ทีมช่างแมคคานิคส์, ผู้จัดการทีมแข่ง และทุกทีมสถาบันฯ จะได้รับการอบรมสัมนาด้านเทคนิคอย่างละเอียดจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญของ ยามาฮ่า เพื่อสร้างองค์ความรู้ทุกด้านของการเป็น “ทีมแข่งรถจักรยานยนต์” ระดับอาชีพ ขณะเดียวกัน “ทีมแข่งจากทุกสถาบัน” จะได้รับถ่ายทอดประสบการณ์ด้านมอเตอร์สปอร์ตอย่างใกล้ชิด จากยอดนักแข่งระดับอาชีพของไทย ที่ประสบความสำเร็จมากมายนำโดย “ตั้น” เดชา ไกรศาสตร์ อดีตแชมป์เอเชีย รวมถึงบุคลากรผู้เชี่ยวชาญของ ยามาฮ่า ไทยแลนด์ เรซซิ่งทีม ด้วย

ทั้งนี้ ทีมแข่งจาก 15 สถาบัน จะต้องเข้าอบรมภาคทฤษฎี จากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญของ ยามาฮ่า ก่อนที่จะทำการลงแข่งขันในภาคปฎิบัติ จำนวน 4 สนาม ดังนี้ สนามที่ 1 วันที่ 29-30 พฤษภาคม สนามไทยแลนด์ เซอร์กิต นครชัยศรี สนามที่ 2 วันที่ 21-22 สิงหาคม สนามพีระ อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต พัทยา สนามที่ 3-4 วันที่ 16 -17 ตุลาคม สนามช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต บุรีรัมย์

นายพงศธร เอื้อมงคลชัย รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไทยยามาฮ่ามอเตอร์ จำกัด ได้เปิดเผยว่า “โครงการ Yamaha Moto Challenge ประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่องในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา ในการสร้างองค์ความรู้ในวิชาชีพมอเตอร์สปอร์ตให้กับเหล่านักศึกษาอาชีวะเอกชน และมีเยาวชนช่างไทยที่ผ่านการปฎิบัติการทั้งภาคทฤษฎีและภาคสนามมาแล้วมากมาย ปีนี้ เราได้ทำการยกระดับโครงการนี้ ด้วยการเปลี่ยนแปลงรถจักรยานยนต์ที่ใช้ในการศึกษามาเป็น รถจักรยานยนต์ประเภทสปอร์ตรุ่น Yamaha YZF-R15 ซึ่งเป็นรถสปอร์ตสายพันธุ์ R-Series ด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย เพื่อให้นักศึกษาและคณาจารย์จากทุกสถาบันฯ ที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับองค์ความรู้ในระดับที่สูงขึ้นกว่าเดิม อันจะเป็นประโยชน์เพิ่มพูนทักษะและฝีมือเชิงช่างให้กับเหล่านักศึกษาอาชีวะของประเทศไทยเพิ่มมากขึ้นอีกช่องทางหนึ่ง” นายพงศธร กล่าว

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน