พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระอัจฉริยภาพในการแข่งเรือใบ ทรงคว้าเหรียญทองกีฬาแหลมทอง เมื่อวันที่ 16 ธ.ค.2510
นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงมีพระปรีชาสามารถเรื่องการต่อเรือใบอีกด้วย

 

หนังสือ”พระมหากษัตริย์นักกีฬา” ที่การกีฬาแห่งประเทศไทยจัดทำขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติในวโรกาสทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี เมื่อวันที่ 19 มิ.ย.2549 ระบุว่า พระองค์ทรงสนพระราชหฤทัยกีฬาเรือใบอย่างจริงจัง ด้วยทรงเห็นว่า การเล่นเรือใบเป็นกีฬากลางแจ้ง เล่นอยู่ท่ามกลางอากาศบริสุทธิ์ และลมเย็นสบาย

27

นอกจากนี้การเล่นเรือใบ จะต้องใช้ความสามารถของร่างกายทุกส่วน ตั้งแต่สมอง มือ แขน ขา ประสานงานกันอย่างดี จึงจะสามารถบังคับเรือให้แล่นไปได้ในทิศทางที่ต้องการ ประกอบกับมีคนใกล้ชิดเคยกราบบังคมทูลว่า”คนที่จะเล่นกีฬาเรือใบได้ดี จะต้องต่อเรือขึ้นมาเอง เพื่อที่จะได้รู้จักเรือที่เล่นได้ทะลุปรุโปร่ง เปรียบประดุจรู้จักหลังมือของตนเอง ฉะนั้นเมื่อแล่นเรือไปในทะเล ผู้เล่นจะเกิดความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับเรือของตน สามารถบังคับเรือให้แล่นผ่านคลื่นลมไปได้ตลอดรอดฝั่ง”
เนื่องจากทรงมีฝีพระหัตถ์ในงานช่างไม้อยู่แล้ว และไม่ทรงโปรดซื้ออุปกรณ์ที่มีราคาแพง ทรงเริ่มต่อเรือใบด้วยพระองค์เอง โดยมีอู่ต่อเรือ และสระทดลองแล่นเรือ ในสวนจิตรลดา
หม่อมเจ้าภัศเดช รัชนี หรือนามปากกา”ภ.ณ ประมวลมารค” ทรงนิพนธ์ไว้ในหนังสือ”ชีวิตสั้นๆ” ว่า ตัวท่านเองได้ต่อเรือใบเอง เป็นเรือขนาดเล็ก แบบ Cartpo Dinghy Classs ใช้ใบเรือสีแดง ที่สั่งมาจากอังกฤษ และตั้งชื่อว่า “ลูกลม” เพื่อให้สอดคล้องกับชื่อเรือใบลำเก่าที่ชื่อว่า”นางลม” ระหว่างประทับที่หัวหินตอนเช้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเรือกรรเชียงที่ทะเลหน้าพระตำหนัก ท่านก็แล่นเรือใบตามเสด็จหลายครั้ง ภายหลังมีรับสั่งว่า”ท่านภีมายั่วให้เล่น” จึงหันมาทรงเรือใบในหลายปีต่อมา

20

หม่อมเจ้ารัชนี ทรงนิพนธ์ในหนังสือ”ชีวิตสั้นๆ”ต่อไปว่า”วันหนึ่งมีรับสั่งให้ผู้เขียนเข้าเฝ้าฯ ที่พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน และรับสั่งว่าทรงนึกถึงเรือที่ใบสีแดงๆ มีพระราชประสงค์จะต่อด้วยพระหัตถ์ เพราะสมัยทรงพระเยาว์ที่โรงเรียนก็เคยทรงช่างไม้ ในเมื่อผู้เขียนต่อเรือเป็น จึงรับสั่งให้เข้ามาดำเนินการ เป็นโครงการร่วม Joint project….”
“พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงต่อเรือใบ โดยมีหม่อมเจ้าภีศเดชเป็นลูกมือ จะทรงสนับเพลาที่เปื้อนกาวหรือสีซึ่งซักไม่ออกองค์เดิม ทรงมีเครื่องมือช่างไม้ เข่นโต๊ะทำงานแบบฝรั่งเศส ที่มีส่วนที่เลื่อนเข้าเลื่อนออกให้ยึดไม้ให้เลื่อย ดัด ใส ได้สะดวก

25

ทรงต่อเรือใบได้อย่างถูกต้องตามหลักสากล โดยทรงศึกษาแบบแปลนข้อบังคับของเรือแต่ละประเภทจากตำราต่างๆทั่วโลก จนรู้จริง และทรงประดิษฐ์ด้วยความละเอียดถี่ถ้วน ชนิดที่เรียกว่าวัดเป็นมิลลิเมตร เรือที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงต่อขึ้น จึงเป็นเรือที่สมบูรณ์แบบ”
หม่อมเจ้าภีศเดช ทรงเขียนไว้ด้วยว่า”มีพระมหากษัตริย์สามพระองค์ที่ทรงเรือใบแข่งระหว่างประเทศแล้วได้รับเหรียญทอง คือ ประเทศนอร์เวย์, กรีซ และไทย แต่มีเพียงพระองค์เดียว คือของเราที่ทรงต่อด้วยพระหัตถ์พระองค์เอง”
สำหรับเรือลำแรกที่ทรงต่อ ได้รับพระราชทานชื่อว่า”ราชปะแตน” อันหมายความว่า แบบของพระราชาเหมือนอย่างเสื้อราชปะแตน

35

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงต่อเรือใบประเภทเอ็นเตอร์ไพรซ์ 2 ลำ โดยลำแรกพระราชทานชื่อว่า”ราชปะแตน” และได้รับหมายเลขที่จะแสดงบนเรือใบ E 11111 จากสมาคมเรือประเภทเอ็นเตอร์ไพรซ์ เป็นพิเศษ

 

 

 

 

ลำที่สอง ชื่อ”เอจี”
ในปี 2508 ทรงนำเรือ”ราชปะแตน”ไปลงทะเลได้ 2-3 ครั้ง เจ้าชายฟิลิป ดยุคแห่งเอดินเบอระห์ พระสวามีสมเด็จพระราชินีนาถ เอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร เสด็จมาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นการส่วนพระองค์ เมื่อทรงทราบว่า เจ้าชายฟิลิปโปรดทรงเรือใบ จึงทรงจัดแข่งขันเรือใบขึ้นนับเป็นการแข่งขันครั้งแรก โดยเริ่มจากหาดพัทยาไปที่อ่าวด้านเหนือของเกาะล้าน มีเรือ 34 ลำเข้าร่วมแข่งขัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นกัปตันเรือราชปะแตน และหม่อมเจ้าภีศเดชเป็นลูกเรือ ผลปรากฎว่าเรือราชปะแตนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวถึงเกาะล้านเป็นลำแรก

30

หลังจากทรงเรือเอ็นเตอร์ไพรซ์ไปได้สักระยะหนึ่ง ต่อมาในปี พุทธศักราช 2508 พระองค์เปลี่ยนพระทัยมาแล่นเรือใบประเภทโอเค

 

ทรงต่อเรือใบประเภทโอเคที่เล่นคนเดียว ลำไม่ใหญ่เกินไปที่คนเล่นน้ำหนักขนาดคนไทยไม่เสียเปรียบ จึงทรงเป็นทั้งกัปตัน และลูกเรือพร้อมกันไป

 

เรือโอเค ลำแรกที่ทรงต่อ พระราชทานชื่อว่า”นวฤกษ์” เลขหมาย TH 9 อยู่บนใบสีแดง
ทรงเป็นแชมป์ประเทศไทยประเภทเรือโอเค รวม 3 ครั้ง

16หลังจากต่อเรือ”นวฤกษ์” ทรงต่อเรือโอเคขึ้นอีกหลายลำ และพระราชทานชื่อว่า”เวคา” (Vega) อันหมายถึงดาวที่สว่างสุกใสดวงหนึ่ง เช่น”เวคา 1, เวคา 2, เวคา 3″

โดยเรือเวคา 1 ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ฯโปรดมาก จึงขอพระราชทาน ส่วนเรือ”เวคา 2″ ซึ่งใช้เลขหมาย TH 27 เป็นลำที่ทรงใช้แข่งขันในกีฬาแหลมทอง ครั้งที่ 4 และทรงชนะเลิศหได้เหรียญทอง มาสู่ประเทศไทยในปี พ.ศ.2510
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ยังทรงคิดค้น และออกแบบและต่อเรือใบประเภท ม็อธ (Moth) จำนวนหลายลำ

 

เรือประเภทนี้ต้องมีความยาวของตัวเรือ ไม่เเกิน 11 ฟุต มีใบเดียวเนื้อที่ไม่เกิน 75 ตารางฟุต โดยไม่จำกัดความกว้างของเรือ

29รูปร่างลักษณะของเรือ ความสูงของเสา วัสดุที่ใช้สร้างอาจทำด้วยโลหะ ไฟเบอร์กลาส หรือไม่ก็ได้ เรือม็อธที่ทรงออกแบบและทรงต่อด้วยพระองค์เองในระหว่างปี พ.ศ.2509-2510 มีอยู่ 3 แบบ ซึ่งได้พระราชทานชื่อดังนี้
“เรือมด, เรือซูเปอร์มด และ เรือไมโครมด” ทรงรับสั่งว่า”ที่ชื่อมดนั้น เพราะมันกัดเจ็บๆ คันๆดี”

 

เรือใบมด มีขนาดตัวเรือยาว 11 ฟุต กว้าง 4 ฟุต 7 นิ้ว เสาเดียว เนื้อที่ใบ 72 ตารางฟุต เป็นเรือใบขนาดเล็ก เหมาะกับคนไทย น้ำหนักเบาในการเคลื่อนย้าย เก็บรักษาง่าย มีคุณสมบัติว่องไว แล่นได้เร็ว และมีราคาถูก ข้อดีต่างๆนี้ทำให้เรือใบมดที่ทรงออกแบบได้มาตรฐาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงจดลิขสิทธิ์เป็นสากล ประเภท International Moth Class ที่ประเทศอังกฤษ

30

ต่อมาทรงพบว่าเรือใบมดคล้ายเรือโอเคเกินไป และมีลักษณะไม่สมส่วน จึงทรงคิดออกแบบเรือขึ้นใหม่ ให้ตัวเรือกว้างเพิ่มขึ้น คือกว้าง 4 ฟุต 1 นิ้ว ท้องแบน น้ำหนัก ประมาณ 34 ก.ก. ส่วนตัวเรือยังยาว 11 ฟุต และเนื้อที่ใบเท่าเดิม โดยปรับแต่งหัวเรือให้รูปทรงแบนแหลม เหมือนปลากระเบน เพื่อให้แล่นตัดคลื่นได้ดีขึ้น พระราชทานนามว่า”เรือใบซูเปอร์มด”

 

เรือใบตระกูลมดลำสุดท้ายที่พระองค์ทรงออกแบบคือ เรือใบไมโครมด ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าเรือมด คือตัวเรือยาว 7 ฟุต 9 นิ้ว กว้าง 3 ฟุต 4 นิ้ว เป็นเรือขนาดเล็กมากที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในหมู่นักเล่นเรือใบทั้งหลาย เพราะเป็นเรือที่เหมาะสำหรับเด็กและคนร่างเล็ก สามารถแล่นได้ตามลำพังคนเดียว
ส่วนเรือใบลำสุดท้ายที่ทรงออกแบบและต่อด้วยพระองค์เอง เมื่อวันที่ 17 พ.ย.2510 คือเรือโม้ก (Moke) เป็นเรือที่ทรงทดลองสร้างโดยทรงออกแบบให้มีลักษณะผสมระหว่างเรือโอเค และเรือซูเปอร์มด คือมีขนาดของลำเรือใหญ่กว่าซูเปอร์มด แต่ใกล้เคียงกับเรือโอเค ใช้อุปกรณ์เสาและใบของเรือโอเค
หลังจากทรงออกแบบเรือโม้กแล้วก็มิได้ทรงออกแบบเรือใบอีก เนื่องจากทรงมีพระราชภารกิจอื่นๆอีกมากมาย

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน