เมื่อวันที่ 20 ต.ค. ที่หอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รมว.วัฒนธรรม (วธ.) กล่าวภายหลังเป็นประธานแถลงข่าวหนังสือ “พระเสด็จสู่ฟ้า ราษฎร์ล้วนอาลัย” ซึ่งเป็น 1 ใน 11 รายการ หนังสือที่ระลึกและจดหมายเหตุงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ว่า หลังจากเหตุการณ์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2559

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มอบหมายให้วธ.ดำเนินการรวบรวมภาพเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับงานพระบรมศพทั้งภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว จากส่วนกลาง ต่างจังหวัดและต่างประเทศ จัดทำวีดิทัศน์ จดหมายเหตุฉบับราชการและจดหมายเหตุฉบับประชาชน เพื่อบันทึกเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติไว้ให้ คนรุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู้ ซึ่งเป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐบาลที่ต้องการให้คนไทยมีส่วนร่วมในการแสดงถึงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และเพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของในหลวงรัชกาลที่ 9

รมว.วธ. กล่าวอีกว่า วธ.จัดทำหนังสือที่ระลึกและจดหมายเหตุงานพระราชพิธีฯ 11 รายการ ประกอบด้วย หนังสือจดหมายเหตุฉบับหลัก 1 รายการ หนังสือจดหมายเหตุฉบับรอง 6 รายการ หนังสือที่ระลึก 3 รายการ และแผ่นพับที่ระลึก 1 รายการ โดย 1 ในจดหมายเหตุฉบับรอง คือหนังสือจดหมายเหตุบทกวีนิพนธ์ โครงการกานท์กวีคีตการปวงประชาน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ที่มีชื่อว่า “พระเสด็จสู่ฟ้า ราษฎร์ล้วนอาลัย” จัดทำขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติ และน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณในหลวงรัชกาลที่ 9

ซึ่งเนื้อหาหนังสือจดหมายเหตุ ฉบับนี้ได้รวบรวมบทกวีนิพนธ์ที่ศิลปิน ประชาชนหลากหลายอาชีพ เด็กและเยาวชนแต่งขึ้น เพื่อแสดงความอาลัยและน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ 189 บท โดยมีภาพประกอบที่ถ่ายทอดเรื่องราวความโศกเศร้าของปวงชนชาวไทย โดยขณะนี้ วธ.ได้จัดทำต้นฉบับหนังสือจดหมายเหตุดังกล่าวเสร็จเรียบร้อยแล้ว และอยู่ระหว่างการดำเนินการจัดพิมพ์

นายวีระ กล่าวด้วยว่า การดำเนินการจัดทำหนังสือจดหมายเหตุฉบับนี้ วธ.ได้คัดเลือกบทกวีนิพนธ์ที่ ได้รวบรวมไว้ทั้งหมดกว่า 10,000 บท มาบรรจุไว้ในหนังสือ 189 บท ทั้งนี้ คณะทำงานได้พิจารณาคัดเลื อกบทกวีนิพนธ์แสดงความอาลัย โดยมีหลักเกณฑ์ต้องเป็ นผลงานประพันธ์ของบุคคล ไม่ใช่หน่วยงานหรือองค์กร มีเนื้อหาและการใช้ถ้อยคำงดงาม สมพระเกียรติ มีรูปแบบการประพันธ์ถูกต้ องตามหลักภาษาและฉันทลักษณ์ร้อยกรองไทย ตลอดจนสามารถถ่ายทอดความรู้สึกสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ ของคนไทยได้อย่างลึกซึ้ง

นายวีระ กล่าวว่า ส่วนภาพประกอบเป็นภาพถ่ายแสดงถึงความโศกเศร้า สุดอาลัยของพสกนิกรทุกหมู่เหล่า ต่อการเสด็จสวรรคตนับตั้งแต่วันที่ 13 ตุลาคม 2559 จนถึงวันสุดท้ายที่ประชาชนได้ เข้ากราบถวายบังคมพระบรมศพ เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2560 โดยคัดเลือกภาพถ่ายจากทั้ งหมดกว่า 20,000 ภาพ ซึ่งเป็นผลงานช่างภาพมืออาชีพ ช่างภาพ จิตอาสา ทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงประชาชนที่ส่งภาพเหล่านี้ มายังวธ.

อย่างไรก็ตาม บทกวีนิพนธ์ถวายความอาลัยและภาพถ่ายที่ไม่ได้รับการพิจารณาคัดเลือก รวบรวมไว้ในหนังสือจดหมายเหตุดังกล่าว จะนำไปเก็บรักษาไว้ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ที่จังหวัดปทุมธานี เพื่อบันทึกไว้เป็นจดหมายเหตุแห่งชาติ และเป็นเกียรติประวัติที่แสดงถึงความจงรักภักดี ความอาลัย และน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุ ณหาที่สุดมิได้

 

ภาพ กระทรวงวัฒนธรรม

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน