พระนอนวัดพนมยงค์ : คติ-สัญลักษณ์ สถาปัตยกรรม

พระนอนวัดพนมยงค์ – วัดพนมยงค์ เป็นวัดเก่าสมัยอยุธยาตอนกลาง มีพระอุโบสถทรงที่เรียกว่า ท้องสำเภา อันเป็นคติทางพุทธศาสนาฝ่ายมหายานที่แฝงอยู่กับคติเถรวาท อันหมายถึงพุทธศาสนาเป็นดั่งสำเภาที่จะพาปุถุชนข้ามโอฆสังสารไปสู่ความสิ้น ทุกข์ พระพุทธรูปในพระอุโบสถเป็นพระพุทธรูปสมัยอู่ทอง (น่าจะหมายความว่าคงเป็นวัดเก่ามาก่อนที่จะบูรณะขึ้นทั้งวัดในสมัยอยุธยาตอน กลาง)

พระพุทธรูปปางไสยาสน์ที่ประดิษฐานอยู่ใน วิหารโปร่ง คือมีฝาผนังตันที่ด้านหัวและท้ายของตัววิหารชั้นเดียว ฐานเตี้ย ผนังด้านข้างโปร่งทั้งสองข้าง

หลังจากสงครามเสียกรุงในปี พ.ศ. 2310 วัดพนมยงค์ได้ชำรุดทรุดโทรมและมีการปฏิสังขรณ์โบสถ์วิหารขึ้นใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 5 ส่วนพระพุทธไสยาสน์องค์นี้พร้อมวิหารได้รับการปฏิสังขรณ์ให้งดงาม ช่วงปี 2538-2540 จากการถูกทอดทิ้งมานับแต่สงครามเสียกรุง

พระนอนวัดพนมยงค์

พระพุทธไสยาสน์องค์นี้มีรูปแบบเป็นศิลปะ สุโขทัยที่มีความยาวน่าจะประมาณไม่น้อยกว่า 16 เมตร พิจารณาจากการวางแขนหนุนพระเศียรและมีพระเกศา (ผม) เป็นรูปหอยขม และประดิษฐานอยู่ในพระวิหารโปร่งที่ดูเสมือนมีต้นไม้ใหญ่อยู่ส่วนหัวและส่วน ท้ายของพระวิหาร

พระเศียรหันไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ พระพักตร์หันไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ อนุมานได้ว่าน่าจะเป็นปางปรินิพพาน

พระนอนวัดพนมยงค์

คติแห่งพระปรินิพพานตามปรินิพพานสูตรที่ สำคัญมี 2 ประการ คือ การเทศนาครั้งสุดท้ายที่ได้ตรัสเป็นบาลีและปัจฉิมเทศนาครั้งสุดท้ายว่า “อานนท์ เธออย่าเศร้าโศก ร่ำไรไปเลย เราได้บอกไว้ก่อนแล้วไม่ใช่หรือว่า ความเป็นต่างๆ ความพลัดพราก ความเป็นอย่างอื่นจากของรัก ของชอบใจทั้งสิ้น ต้องมี เพราะฉะนั้น จะพึงได้ในของรักของชอบใจนี้แต่ที่ไหน สิ่งใดเกิดแล้วมีแล้ว ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว มีความทำลายเป็นธรรมดา การปรารถนาว่าขอสิ่งนั้นอย่าทำลายไปเลย ดังนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้”

และ “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเป็นผู้ไม่ประมาท มีสติ มีศีล เป็นอย่างดี มีความดำริอันตั้งไว้แล้วด้วยดี ตามรักษาจิตของตนเองในธรรมวินัยนี้ ภิกษุใดเป็นผู้ไม่ประมาทแล้วจักละชาตสังสารทำที่สุดแห่งทุกข์ได้”

โดย…ชวพงศ์ ชำนิประศาสน์

คลิกอ่านข่่าวที่เกี่ยวข้อง

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน