การให้ลูกกินนมแม่เป็นการดูแลลูกน้อยที่ดีที่สุด เพราะนี่คือสายใยความผูกพันที่ถ่ายทอดจากอกแม่สู่ลูก แต่รู้มั้ยว่าเวลาที่ลูกกินนมแม่ จะเกิดกระบวนการทางธรรมชาติ 3 ขั้นตอนคือ กระบวนการ “อม รีด กลืน” ซึ่งลูกน้อยจะต้องเคลื่อนไหวลิ้นและขยับกรามล่างเพื่อช่วยในการกินนมจากเต้าแม่ จนทำให้ลูกเคยชินกับกลไกการดูดแบบธรรมชาติ ส่งผลให้ลูกติดเต้าจนคุณแม่ต้องคอยดูแลอย่างใกล้ชิด และไม่สะดวกที่จะออกไปทำกิจกรรมนอกบ้านเท่าไรนัก

แต่อย่างไรก็ตามเมื่อครบกำหนดลาคลอด คุณแม่หลายคนจำเป็นต้องออกไปทำงานข้างนอก จึงไม่สามารถให้ลูกกินนมจากเต้าได้ ดังนั้นแม่จึงต้องฝึกให้ลูกกินนมจากขวดนมแทน แต่ปัญหาที่ตามมาคือ ลูกจะงอแงไม่ยอมกินนมจากขวดนม เพราะไม่คุ้นกับการสลับกินนมระหว่างเต้าแม่กับจุกนม ที่มีกลไกการกินนมที่ต่างกันโดยสิ้นเชิง ซึ่งการกินนมจากจุกนมนั้นจะไม่ผ่านกระบวนการ อม รีด กลืน ตามธรรมชาติแบบเต้าแม่ จึงอาจทำให้ลูกเกิดภาวะที่เรียกว่า “อาการสับสนจุก” (Nipple Confusion) เชื่อว่าคุณแม่หลายท่านก็กำลังประสบกับปัญหานี้อยู่ไม่น้อย แบบนี้จะมีวิธีรับมืออย่างไรบ้าง มาฟังประสบการณ์ตรงจากคุณแม่วัยทำงานกัน

“ตอนมาทำงานก็ให้แม่ของเราเลี้ยง พอถึงเวลามื้อนมก็ให้นำนมมาแช่ในน้ำธรรมดาให้ละลายด้วยอุณหภูมิห้อง ไม่ต้องให้ละลายมาก ลูกชอบกินนมเย็นๆ ดมแล้วก็ไม่มีกลิ่นเหม็นหืน สังเกตว่าเวลาที่นมละลายนานประมาณ 1–2 ชั่วโมงแล้วลูกจะไม่ค่อยกินเท่าไร” คุณพรพรรณแบ่งปันวิธีการให้นมลูกหลังจากกลับไปทำงาน

ส่วนคุณวิลาสินี บุญมาสูงทรง ได้แชร์ประสบการณ์การเตรียมตัวก่อนกลับไปทำงานว่า “ก่อนกลับมาทำงาน 2 สัปดาห์ ควรมีการซ้อมป้อนน้ำนมในเวลาที่ลูกจะไม่ได้ดูดจากเต้าแม่เพื่อให้ลูกคุ้นเคยและไม่ลำบากกับคนป้อนนมแม่ ดิฉันจึงเตรียมน้ำนมแม่ ขวดนม และจุกนมแบบฐานกว้าง หรืออาจใช้จุกนมขนาดธรรมดาก็ได้ค่ะแต่ควรใช้ขนาดรูเล็กสุดคือ S และบิดเกลียวแน่นๆ เพื่อให้ดูดยากๆ เข้าไว้ เวลาป้อนตัวดิฉันเองจะอยู่ห่างลูกพอสมควร จะไม่ให้ลูกเห็น ได้ยินเสียง หรือแม้แต่ได้กลิ่นเพื่อให้ลูกยอมร่วมมือกินนมที่คนเลี้ยงป้อนแต่โดยดี”

หรือในกรณีของคุณสุนีย์ อาดำ ร่วมแชร์ประสบการณ์ของตัวเองให้ทุกคนฟังว่า “เวลา 2 อาทิตย์ก่อนไปทำงาน ตั้งแต่เวลา 8.00-17.00 น. ให้พี่เลี้ยง (คุณป้า) ฝึกป้อนนมแม่จากจุกนมและการปั๊มนมมื้อแรกก็ยังคงเริ่มต้นที่เวลาตี 4 , 8.00 น., 11.00 น. และ 14.00 น. หลังจาก 5 โมงเย็นก็ให้ดูดเต้าเพียงอย่างเดียวในช่วงแรกๆ ก็มีอุปสรรคเพราะลูกไม่ยอมดูดนมจากจุกอาทิตย์แรกที่กลับไปทำงานมีการใช้เคล็ด (ไม่) ลับกันเล็กน้อยคือใช้เสื้อชุดนอนของคุณแม่ห่อขวดนมที่ใส่นมแม่ไว้ให้ลูกดูดเพราะอย่างน้อยไม่ได้นอนในอ้อมกอดแม่ก็ยังได้รับกลิ่นจากเสื้อของแม่มหัศจรรย์มากเพราะวิธีนี้ใช้ได้ผลสำหรับในวันเสาร์ และวันอาทิตย์จะให้ดูดนมแม่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น”

จากประสบการณ์จริงของคุณแม่มือใหม่ที่นำมาแบ่งปันเพื่อเป็นประโยชน์ให้กับทุกคน จะเห็นได้ว่าปัญหาลูกติดเต้า ไม่เอาขวดนม เป็นปัญหาแพร่หลายในปัจจุบันของคุณแม่ที่ยังอยู่ในวัยทำงาน ซึ่งคุณแม่จะต้องเตรียมตัวหาวิธีต่างๆ มารับมือให้ดี เพราะลูกน้อยไม่สามารถสื่อสารออกมาเป็นคำพูดได้ การแสดงออกด้วยท่าทางอย่าง การร้องไห้และไม่ยอมกินนม จึงทำให้แม่เกิดความกังวลเกี่ยวกับลูกจนอาจเกิดอาการเครียด หรืออาจส่งผลกระทบไปถึงการทำกิจกรรมอื่นๆ ในชีวิตประจำวันได้

สำหรับคุณแม่ที่ต้องออกไปทำงานข้างนอก ไม่มีเวลาให้ลูกกินนมจากเต้า จึงอยากให้ลูกกินนมจากขวดนมแทนได้ เพราะฉะนั้นพ่อแม่ควรรับมือกับปัญหานี้ด้วยการเลือกจุกนมที่มีกลไกการอม รีด กลืน ใกล้เคียงกับการกินนมแม่ จะช่วยแก้ปัญหาลูกติดเต้า ไม่เอาขวดนมในระหว่างที่แม่ไปทำงานได้ เพราะอย่างไรการให้นมแม่ก็เป็นการมอบสิ่งที่ดีที่สุดให้กับลูก จุกนม “อม รีด กลืน” Pigeon จึงเป็นหนึ่งในทางเลือกที่ช่วยตอบโจทย์ในการดูแลลูกน้อย ให้พ่อแม่ดูแลลูกน้อยได้อย่างสบายใจและไม่ต้องกังวลอีกต่อไป

สำหรับคุณแม่ที่สนใจจุกนม อม รีด กลืน พีเจ้น รุ่นมินิ คลิกไปอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://bit.ly/PigeonMiniKhaosod

ขอบคุณข้อมูลจาก:

http://www.thaibreastfeeding.org/page.php?id=138

 

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน