รฟม. ล้มประมูล รถไฟฟ้าสีส้ม 1.2 แสนล้าน อ้างคดีพิพาทกับบีทีเอสยืดเยื้อ ฉุดโครงการล่าช้า สั่งเปิดประมูลใหม่เร็วกว่า

นายกิตติกร ตันเปาว์ รองผู้ว่าการ ฝ่ายวิศวกรรมและก่อสร้าง ในฐานะประธานคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ตามมาตรา 36 แห่ง พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน เปิดเผยว่า วันนี้(3ก.พ.) ที่ประชุมมีมติให้ยกเลิกการเปิดประมูลโครงการดังกล่าว

เนื่องจากเห็นความล่าช้าในขบวนการของศาล กรณีข้อพิพาทที่เกิดขึ้น ระหว่าง รฟม. และ บ ริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC โดยซึ่งกินเวลามามาก ถึง1-2 เดือน ทำให้ไม่สามารถคาดการณ์กรอบเวลาที่ชัดเจนในการคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมลงทุนได้ ซึ่งจะกระทบต่อความสำเร็จของโครงการ ทำให้การดำเนินการโครงการให้ล่าช้าออกไป

รวมทั้งอาจก่อให้เกิปัดญหาเรื่องกรอบเวลาการยืนราคาประมูลด้วย ดังนั้นเพื่อให้เกิดประโยขน์สูงสุดแก่โครงการ บอร์ดจึงมีจะมีมีมติให้ยกเลิกการประกวดราคาครั้งนี้ และเร่งรัดให้ รฟม. เร่งดำเนินการเปิดประมูลครั้งใหม่โดยเร็วต่อไป ซึ่งเชื่อว่าจะสามารถบริหารจัดการระยะเวลาการดำเนินโครงการได้ดีกว่าหากเปิดประมูลครั้งใหม่

ส่วนจะเปิดประมูลเมื่อไหร่ และใช้ทีโออาร์รูปแบบใดนั้นยังไม่สามารถบอกได้ขึ้นอยู่กับรฟม. ซึ่ง รฟม.จะต้องไปกำหนดและนำมาเสนอ คณะกรรมการตามมาตร 36อีกครั้ง

นายกิตติกรกล่าวนอกจากนี้ จะต้องกลับไปพิจารณาเรื่องข้อพิพาทต่อไปด้วย ว่าจะดำเนินการต่ออย่างไร ส่วนการยกเลิกประมูลครั้งนี้ เอกชนที่ยื่นซองประมูลจะมีสิทธิ์ฟ้องร้องรฟม. หรือไม่ตนไม่ทราบ

รายงานข่าวแจ้งว่าปัจจุบันสำหรับโครงการรถประมูลไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) วงเงินลงทุน 1.2แสนล้านบาทนั้น รฟม. มีคดีพิพาทกับ บ ริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC โดย BTSC ได้ยื่นฟ้องร้องดำเนินคดีกับ คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 และ รฟม.กระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย กรณีมีมติแก้ไขเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาผู้ชนะการประเมินของเอกสารคัด โดยขณะนี้คดียังอยู่ในขั้นตอนของศาล ยังไม่มีข้อยุติจึงเป็นเหตุให้ คณะกรรมการฯ มีมติยกเลิกการประมูล

อย่างไรก็ตาม สำหรับโครงการดังกล่าวได้เปิดประมูลไปแล้ว โดยมีเอกชนเพียง 2 รายยื่นสองแข่งขันการประมูลคือ บ ริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC และ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด(มหาชน) หรือ BEM

 


ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน