เว็บไซต์ วอชิงตัน โพสต์ ทำกราฟฟิครับ ฟุตบอลโลก 2018 ที่รัสเซีย สุดน่ารักด้วยการนำ ตุ๊กตาแม่ลูกดก ของฝากขึ้นชื่อของรัสเซียมาเป็นตัวแทน 32 ประเทศที่เข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลโลก ซึ่งกำลังจะเริ่มต้นขึ้น

อาร์เจนติน่า ไอซ์แลนด์ ไนจีเรีย โครเอเชีย

บราซิล คอสตาริกา สวิตเซอร์แลนด์ เซอร์เบีย

โปรตุเกส สเปน โมร็อกโก อิหร่าน
สำหรับ ตุ๊กตาแม่ลูกดก เชื่อว่าเมื่อราว พ.ศ.2430 พระชาวรัสเซีย (บ้างว่าเขาเป็นนายช่าง) นำวิชาทำตุ๊กตาไม้ไปจากเกาะฮอนชูของญี่ปุ่น และเมื่อมาถึงรัสเซียก็ผสมผสานรูปแบบศิลปะท้องถิ่นเข้าไป คือแนวคิดในการซ้อนตุ๊กตาที่คุ้นเคยกันดีในรัสเซีย ประยุกต์เข้ากับงานประดิษฐ์แอปเปิ้ลไม้และไข่อีสเตอร์ จากนั้นตั้งชื่อรัสเซียนไปเนียนๆ ว่า มาตรีออชคา

รัสเซีย อุรุกวัย อียีปต์ ซาอุดิอาระเบีย

 

โคลอมเบีย ญี่ปุ่น เซเนกัล โปแลนด์

 

พ.ศ.2434 ศิลปินคนสำคัญ เซอร์เกย์ มาลุยติน ได้ร่างแบบตุ๊กตาแม่ลูกดกขึ้นเป็นครั้งแรก และหลังจากแก้ไขหลายครั้ง สุดท้ายได้รูปแบบที่ตกลงกันคือ วาดเป็นเด็กหญิงหน้ากลมแป้น ตาใสแจ๋ว สวมชุดพื้นเมืองที่เรียกว่า ซาราฟัน (ชุดยาวถึงพื้นมีสายรั้งสองข้าง) และคลุมศีรษะด้วยผ้าสีสดใส แล้วยังมีตุ๊กตาที่เหมือนกันแต่ตัวเล็กกว่าใส่ไว้ข้างในด้วย แต่ตุ๊กตาข้างในแต่งตัวไม่เหมือนกัน กล่าวคือสวมโคโซโวรอตคัส (กระโปรงแบบรัสเซีย) และเสื้อเชิ้ตปอดดิออฟคัส (เสื้อคลุมยาวถึงเอวของผู้ชาย) และผูกผ้ากันเปื้อน จากนั้นจึงให้ช่างแกะสลักชื่อ วาสิลี่ ซเวิสด๊าชกิน ผลิตขึ้น

 

เบลเยี่ยม อังกฤษ ปานามา ตูนีเซีย

 

กระทั่ง พ.ศ.2443 มารียา มามอนโตวา ภรรยาเจ้าของโรงงานที่มาลุยตินและซเวิสด๊าชกินทำงานให้ นำตุ๊กตานั้นไปจัดแสดงในงานสินค้าที่กรุงปารีส และได้รับรางวัลเหรียญทองแดง และไม่ช้าจากนั้นก็มีการผลิตตุ๊กตาแม่ลูกดกในรัสเซียอย่างแพร่หลาย เริ่มจากกรุงมอสโก ไปสู่หลายท้องที่ และก่อเกิดหลากหลายรูปแบบตามมา

เม็กซิโก สวีเดน เยอรมนี เกาหลีใต้

จวบจนยุคการพัฒนาเศรษฐกิจและวัฒนธรรมของรัสเซียครั้งใหญ่ เมื่อ 100 กว่าปีก่อน เกิดความสนใจที่จะรักษาธรรมเนียมพื้นบ้านมากขึ้น ทั้งฟื้นฟูวัฒนธรรม และรวบรวมผู้เชี่ยวชาญศิลปะพื้นบ้านต่างๆ และเพื่ออนุรักษ์ความทรงจำเก่าๆ เกี่ยวกับท้องถิ่น รัสเซีย จึงมีการสร้างห้องทำงานช่างศิลปะขึ้นใกล้กับกรุงมอสโก ศิลปะพื้นบ้านต่างๆ จำพวกของเล่นและตุ๊กตา รวมถึงแม่ลูกดก ถูกรวบรวมมาจากพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อศึกษาและผลิตสืบไป

ออสเตรเลีย ฝรั่งเศส เปรู เดนมาร์ก

เมื่อแรกเริ่มเดิมมี หน้าตาของตุ๊กตาแม่ลูกดกทำเป็นหญิงชาวนา แต่งกายแบบดั้งเดิม มีผ้าคลุมศีรษะ เหมือนที่คุ้นตาในภาพวาดเก่าแก่ แต่ในภายหลังการรังสรรค์แตกแขนง มาตรีออชคามีทั้งแบบที่เป็นเทพธิดา นางฟ้า ตัวการ์ตูน ดอกไม้ อื่นๆ มากมาย รวมทั้งที่หน้าตาล้อเลียนคนดัง รวมถึงกลายพันธุ์เป็นพ่อลูกดก คือเขียนเป็นผู้ชายก็มี และปัจจุบัน นอกจากในรัสเซีย ตุ๊กตาแม่ลูกดกยังเป็นของที่ระลึกจากประเทศอื่นๆ ที่แยกจากโซเวียตเดิม เช่น อุซเบกิสถาน คาซัคสถาน ซึ่งผลิตมาตรีออชคาแพร่หลายเช่นกัน

 

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน