คณะวารสารฯ มธ. จัดเสวนาวิชาการเผยแพร่วิทยานิพนธ์ดีเด่น หัวข้อ “รักๆ ใคร่ๆ ร่างกายและการเมือง”

คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ หลักสูตรวารสารศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาสื่อสารมวลชน จัดเสวนาวิชาการภายใต้หัวข้อ “รักๆ ใคร่ๆ ร่างกายและการเมือง”

โดยมี ศ.ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ กีรตยาจารย์มธ. ผศ.ดร.อัจฉรา ปัณฑรานุวงศ์ คณบดีคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มธ. รศ.ดร.สมสุข หินวิมาน ประธานหลักสูตรวารสารศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาสื่อสารมวลชน รศ.ดร.รุจน์ โกมลบุตร ผศ.ดร.นิธิดา แสงสิงแก้ว อาจารย์ประจำหลักสูตร ผศ.ดร.จันทนี เจริญศรี อาจารย์สาขาสังคมวิทยา คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา เข้าร่วมการจัดเสวนาดังกล่าว

โดยวัตถุประสงค์ดังกล่าวเพื่อเผยแพร่มุมมองทฤษฎีด้านสื่อสารมวลชนผสมผสานกับศาสตร์อื่นได้อย่างน่าสนใจยกระดับการทำงานวิจัยและสามารถทำไปประยุกต์ใช้ได้จริง พร้อมทั้งต้องการเชิญชวนให้ผู้ที่สนใจสมัครเข้าร่วมศึกษาต่อหลักสูตรวารสารศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาสื่อสารมวลชนให้ผู้ที่สนใจศึกษาต่อเข้าร่วมศึกษาต่อในหลักสูตรดังกล่าวหลังจากเปิดหลักสูตรมาแล้วกว่า 37 ปี

ผศ.ดร.อัจฉรา กล่าวว่า สำหรับวิทยานิพนธ์ดีเด่นที่คัดเลือกมาในวันนี้เป็นวิทยานิพนธ์ 6 เล่ม ได้แก่ การสื่อสารกับการต่อรองพื้นที่ตลกในสื่อโทรทัศน์ไทย โดย น.ส.ชาลิดา อรัญทิมา เครือข่ายการสื่อสารและการสร้างอัตลักษณ์ของกลุ่มผู้บริโภคอาหารคลีน โดยน.ส.ชนกพรรณ วรดิลก การเปิดรับสื่อ ทัศนคติ พฤติกรรม และการรู้เท่าทันในการใช้วาจาสร้างความเกลียดชังของวัยรุ่นไทยในเขตกรุงเทพมหานคร ผ่านช่องทางเฟซบุ๊ก โดย น.ส.ภาวนีย์ เจนกิติวรพงศ์ มายาคติหน้าอกในสาวพริตตี้กับธุรกิจความงาม

โดยน.ส.วรรณศิริ กางกั้น การสร้างความหมายของผู้หญิงทำแท้งผ่านภาพตัวแทนในภาพยนตร์ไทย โดยน.ส.ศานต์ฤทัย สาเพิ่มทรัพย์ ภาพตัวแทนของตัวละครที่มีภาวะจิตเภทในภาพยนตร์ไทย โดยน.ส.บุณยาพร กิตติสุนทโรภาศ ล้วนเป็นวิทยานิพนธ์สะท้อนสังคมคมไทยโดยผ่านการวิเคราะห์สังเคราะห์จากแนวคิดทฤษฎีและวิธีการแสวงหาความรู้ใหม่ๆ ทางด้านสื่อสารมวลชน ปรากฏการณ์ดังกล่าวถือเป็นปัญหาทางสังคมซึ่งการศึกษาวิทยานิพนธ์ดังกล่าวจะช่วยเปิดมุมมองและแนวทางในการแก้ไขปัญหาต่างๆ และเป็นองค์ความรู้ที่สามารถตอบโจทย์ในการแก้ปัญหาสังคมได้

“การจัดเสวนาดังกล่าวถือได้ว่าเป็นจุดยืนของคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชนที่มุ่งเน้นการสร้างนักวิจัยและนักวิชาการที่เชี่ยวชาญในด้านการสื่อสาร ขณะเดียวกันก็สามารถประยุกต์องค์ความรู้และวิเคราะห์ปัญหาสังคมที่เกิดขึ้นได้เป็นอย่างสมบูรณ์ ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีการศึกษาจะมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องก็ตามทำให้สื่อเกิดความเปลี่ยนแปลงเปลี่ยนเพื่อปรับตัวไปสู่รูปแบบต่างๆ ด้วยนวัตกรรมใหม่ๆ หรือเป็นยุคของ media disruption

จึงถือเป็นปรากฏการณ์ที่ได้ส่งกระทบต่อวงการวิชาการและวงการวิชาชีพสื่อสารมวลชน อย่างไรก็ตาม ทางวงการวิชาการและวงการวิชาชีพสื่อสารมวลชนก็จะพยายามรักษาบทบาทความรับผิดชอบที่มีต่อบุคคลและสังคม ในหลักสูตรดังกล่าวจึงมีพันธกิจมุ่งเน้นผลิตบัณฑิตในการนำความรู้ความสามารถด้านการสื่อสารประยุกต์ใช้ได้อย่างกว้างขวางจากองค์ความรู้ใหม่ด้านการสื่อสารจากวิทยานิพนธ์ดังกล่าวที่ไม่ค่อยมีการหยิบยกมาในแวดวงวิชาการ” คณะบดีคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชนกล่าว

ด้านรศ.ดร.สมสุข กล่าวว่า ความก้าวหน้าขององค์ความรู้ด้านการสื่อสารศึกษาในครั้งนี้จะเป็นการประมวลจากวิทยานิพนธ์ทั้ง 6 เล่ม และวิทยานิพนธ์เล่มอื่นๆ ที่ผ่านมา ของหลักสูตรที่ผลิตขึ้นมา ที่มาของการสำรวจความก้าวหน้าในก่อนจะจบหลักสูตรจะต้องมีการเสนอวิทยานิพนธ์ โดยใช้เหตุผลที่นำวิทยานิพนธ์ที่จบไปแล้ว ตั้งแต่ขั้นตอนของการผลิต (production) การแพร่กระจาย (distribution) ไปจนถึงการบริโภค (consumption) ที่มีคนทั้งหลาย (user) มาใช้ประโยชน์จากความรู้ดังกล่าว

โดยคณะกรรมการหลักสูตรที่ผ่านมาค้นพบว่า ที่ผ่านมามีการทำวิทยานิพนธ์หลายเล่มคุณภาพระดับดีถึงดีมาก อยู่ในขั้นการผลิตแต่สุดท้ายก็หยุดอยู่ภายในห้องสมุดหลังจบการศึกษา ยังไม่ผ่านการแพร่กระจายหรือการนำไปสู่การบริโภค 1.การจัดงานในวันนี้ต้องการความรู้ที่ถูกผลิตขึ้นมาไปสู่ผู้ใช้ที่สนใจ 2.อยากจะสร้างเครือข่ายทางปัญญา (intellectual network) กับคนที่สนใจความรู้ขึ้นขึ้นมา รุ่นพี่ได้มาเจอกับรุ่นน้องหรือคนที่ผลิตความรู้ หรือมหาบัณฑิตมาเจอกับคนที่มีสนใจความรู้ 3.การสำรวจหลักไมล์ (milestone) ว่าเส้นทางความรู้ด้านวารสารศาสตร์ นิเทศศาสตร์ หรือสื่อสารศึกษาที่ผ่านมามีเส้นทางอย่างไรบ้าง จากกรณีศึกษาของวิทยานิพนธ์ทั้ง 6 เล่มนี้ กับวิทยานิพนธ์เล่มอื่นๆ ในหลักสูตรมหาบัณฑิตสาขาสื่อสารมวลชนมาตั้งข้อสังเกตว่าเป็นอย่างไรบ้าง 3 ประเด็น 1.ประเด็นใหม่ๆ ในการนำมาทำวิจัย

รศ.ดร.สมสุข กล่าวต่อว่า ก่อนหน้านี้จะเป็นงานวิจัยสายกระแสหลักได้แก่การเปิดรับหรือความพึงพอใจ แต่ในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา จะมีการตั้งโจทย์ใหม่ๆ ขึ้นมา คือ มิติเวลาและสถานที่ (Time and Space) ยกตัวอย่างวิทยานิพนธ์ตลกหญิงที่อ.ชัยวัฒน์ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า หากเป็นช่วงเวลาก่อนบ่ายทางโทรทัศน์ การสื่อสารประเด็นเรื่องตลกจะออกมาเป็นอย่างไร อีกประเด็นส่วนใหญ่วิทยานิพนธ์ 6 เล่มในวันนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับการตั้งประเด็นเรื่องอำนาจ (Power) ยกตัวอย่างอำนาจเรื่องร่างกายกับการศัลยกรรมหน้าอกตกลงอำนาจเป็นของใครหน้าเป็นของผู้หญิงที่เป็นเจ้าของหน้าอกมีสิทธิ์เลือกเองหรือหน้าอกนี้ใครเป็นคนกำหนด

รวมถึงประเด็นเรื่องการทำแท้งอำนาจเหนือมดลูกสตรี ตกลงผู้หญิงมีอำนาจในมดลูกของตัวเองจริงหรือไม่ และอำนาจเกี่ยวกับเรื่องจิตของเราใครเป็นบอกว่าคุณมีอาการเป็นโรคจิตเภท อาจจะเป็นภาพยนตร์หรือหนังที่เป็นคนบอกว่าหนังเขย่าขวัญส่วนใหญ่เป็นหนังเกี่ยวกับคนที่มีอาการจิตเภท ทั้งที่จริงยังมีประเด็นอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอีกอาจไม่ใช่แค่หนังเขย่าขวัญเสียทีเดียวหรือในมิติเดียว อีกประเด็นที่มีการทำวิจัยค่อนข้างมากคือการสื่อสารกับประเด็นเรื่องการประกอบสร้างความเป็นจริงทางสังคม (Social Reality) ความเป็นจริงทางสังคมทุกวันนี้ต้องถามว่าเป็นสื่อรึเปล่า อย่างภาพยนตร์เรื่องจิตเภทเป็นเรื่องที่กำลังประกอบสร้างขึ้นหรือเปล่า

“อีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับการประกอบสร้างความหมาย (Construction of Meanings) ได้รับอิทธิพลของทฤษฎีแนวสัญญะวิทยา (Semiology) เป็นโจทย์การวิจัยพูดถึงการสร้างความหมายต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น ใครอำนาจมีอำนาจในการกำหนดความหมายว่าการทำแท้งเป็นบาป หรือใครมีอำนาจกำหนดความหมายผู้หญิงไม่เหมาะกับพื้นที่ตลก หัวข้อถัดมาคือ บทบาทหรือความเป็นตัวกลางของสื่อ (Mediation Roles) ยกอย่างงานเรื่องการใช้วาจาสร้างความเกลียดชัง (Hate speech)

ทุกวันนี้ช่องทางของสื่อออนไลน์กลายเป็นช่องทางที่เป็นตัวกลางที่เชื่อมผู้คนมาเป็น Social Network มาไว้ด้วยกัน แต่คำถามคือว่าการเชื่อมร้อยผู้คนแบบนี้เข้าไว้ด้วยกันบทบาทที่สื่อเล่นเป็นบทบาทที่สร้างสรรค์หรือเป็นบทบาทที่สร้างความเกลียดชัง อีกประเด็นถัดมาเรื่องเกี่ยวกับอัตลักษณ์ (Identity) ยกตัวอย่างในประเด็นเรื่องของอาหารคลีนเป็นการตั้งคำถามเรื่องการสื่อสารกับการสร้างอัตลักษณ์ว่า อัตลักษณ์หรือตัวตนของเราทุกวันนี้ใครมีอำนาจเป็นคนกำหนด หรือเป็นการประกอบสร้างตัวตนของเรา โดยที่บางทีอาจไม่ใช่เป็นเราเสมอไป” รศ.ดร.สมสุข กล่าว

รศ.ดร.สมสุข กล่าวอีกด้วยว่า ประเด็นถัดมาประเด็นการสื่อสารในเรื่องเกี่ยวกับความหลากหลายทางวัฒนธรรม (Cultural Differences) เนื่องจากสังคมปัจจุบันมีลักษณะเป็นพหุวัฒนธรรม มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม เป็นอีกหัวข้อที่มีการศึกษาค่อนข้างเยอะในระยะหลัง ยกตัวอย่างความแตกต่างระหว่างเพศหรือเพศสภาพค่อนข้างมาก ในพื้นที่ที่ผู้ชายเป็นคนกำหนดมากๆ ดังเช่นในพื้นที่ของตลก ผู้หญิงสามารถเข้าไปได้ แต่จะเข้าไปอยู่ในความแตกต่างของพื้นที่ทางวัฒนธรรมนั้น ผู้หญิงจะต้องมีการปรับหรือสั่งสมทุนวัฒนธรรมอย่างไร

สุดท้ายเป็นโจทย์การวิจัยต่อยอดกระแสหลัก (Mainstream) ที่ศึกษาผลกระทบหรืออิทธิพลของสื่อกับเรื่องการทำหน้าที่ของสื่อ แต่ระยะหลังงานกลุ่มนี้จะเริ่มถูกตั้งคำถามมากขึ้นว่า ในขณะที่สื่อกำลังมีอิทธิหรือขณะที่สื่อกำลังทำบทบาทหน้าที่บางอย่าง ก็จะเริ่มย้อนกลับไปตั้งคำถามว่าแล้วใครล่ะที่ได้ผลประโยชน์จากการทำหน้าที่ดังกล่าวนั้น ยกตัวอย่างการทำศัลยกรรมสื่อมีอำนาจหรือมีอิทธิพลในการกำหนดเรื่องการทำศัลยกรรมหรือการทำหน้าอก แต่คำถามสุดท้ายถามว่าใครมีอำนาจในการกำหนดการทำศัลยกรรมของพริตตี้กลุ่มนี้ ที่อาจจะเป็นภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ทั้งหมดถือเป็นการเกิดประเด็นใหม่ๆ ที่เป็นช่องว่างทางความรู้และตั้งคำถามได้อีกมากมายเกี่ยวกับการวิจัยด้านการสื่อสาร


ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน