‘บิ๊กโต้ง’ ลุยจับเรือประมงพม่าผิดกฎหมาย สั่งระดมแก้ปัญหา-สอดรับจุดยืนอาเซียน

เรือประมง / วันที่ 27 มิ.ย. ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พล.ต.ท.จารุวัฒน์ ไวศยะ ผบช.กมค. เปิดเผยว่า ตามนโนบายของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้ติดตามกำกับดูแลเกี่ยวกับการทำประมงผิดกฎหมาย และโดยการสั่งการของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ให้เข้มงวดกวดขันการทำประมงผิดกฎหมาย

เพื่อให้สอดคล้องกับจุดยืนของอาเซียนในการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมายให้หมดไปจากภูมิภาค ตนในฐานะเป็นประธานอนุกรรมการตรวจสอบและติดตามการบังคับใช้กฎหมาย ได้ดำเนินการร่วมกับกรมประมงในการตรวจสอบติดตามและบังคับใช้กฎหมายการทำประมงผิดกฎหมายอย่างต่อเนื่อง

โดยเมื่อวันที่ 26 มิ.ย. ได้ส่งตำรวจพร้อมเจ้าหน้าที่กรมประมง ประกอบด้วย เรือตรวจ 604 กปม. และเจ้าหน้าที่ด่านตรวจสัตว์น้ำระนอง หน่วยป้องกันและปราบประมงทะเลเกาะสุรินทร์ พังงา ร่วมกันจับกุมผู้ต้องหา 3 คน เป็นคนไทย 1 คน และชาวเมียนมา 2 คน

พร้อมด้วยของกลางเรือหางยาวขนถ่ายสัตว์น้ำ สัญชาติเมียนมา ขนาด 9.0 GT จำนวน 1 ลำ ลังพลาสติกขนาด 200 ลิตร ภายในบรรจุปลาหมึกสายและปลาเบญจพรรณ 23 ลัง

พร้อมกล่าวหาว่าร่วมกันนำสัตว์น้ำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ อันเป็นความผิดตาม พรก.ประมงฯ มาตรา 92 วรรคหนึ่ง โทษตามมาตรา 158 ลงโทษปรับห้าเท่าของมูลค่าสัตว์น้ำที่นำเข้า สถานที่เกิดเหตุบริเวณแพพีเจ หมู่ 5 ตำบลบางริ้น อำเภอเมืองระนอง ก่อนควบคุมตัวผู้ต้องหาพร้อมของกลางนำส่งพนักงานสอบสวน สภ.เมืองระนอง ดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป

โดยที่ผ่านมาจากการเข้มงวดกวดขันของตำรวจและกรมประมงในการควบคุมการทำประมงผิดกฎหมาย ทำให้สถิติการเกิดคดีการทำประมงผิดกฎหมายมีการลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2559 มี 3,270 คดี ปี 2560 มี 958 คดี ปี 61 มี 574 คดี ปี 62 จนถึงปัจจุบัน 191 คดี ล่าสุดจากการทำประมงผิดกฎหมาย เมื่อเดือนพ.ค.ที่ผ่านมา ศาลสั่งปรับเรือโชคชัยนาวี พร้อมยึดเรือสินค้าบนเรือ มูลค่ากว่า 500 ล้านบาท

นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ยังจับกุมเรือประมงผิดกฎหมายเพิ่มเติมในช่วงวันที่ 26-27 มิ.ย. อีก 6 ลำ ในพื้นที่จ.ระนอง ความผิดฐานปลอมแปลงปิดบังหรือเปลี่ยนแปลงเครื่องหมายประจ้าเรือประมง หรือทะเบียนเรือประมง อันเป็นความผิดตามพ.ร.ก.ประมง พ.ศ.2558 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพ.ร.ก.การประมง (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2560 มาตรา 165

และฐานร่วมกันน้าเข้าสัตว์น้าหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้าเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ อันเป็นความผิดตาม พ.ร.ก.การประมงฯ มาตรา 92 , มาตรา 95 และมาตรา 96 ประกอบมาตรา 158

อ่านข่าว ตร.ผนึกกรมประมง อบรมเชิงปฎิบัติการผู้ประกอบการท่าเทียบเรือประมง 22 จว.

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน