จิตแพทย์ห่วง เสพ 3 ข่าวดัง อาจเกิดความเครียดได้ ทั้งกรณีแตงโม สงครามยูเครน-รัสเซีย และโอมิครอน แนะดูข่าวพอดี ไม่ต้องตามติดรายชั่วโมง เลือกแหล่งข่าวที่เชื่อถือได้

วันที่ 3 มี.ค.2565 พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวถึงกรณีสังคมและสื่อให้ความสนใจติดตามการนำเสนอข่าวของ “แตงโม นิดา” ดาราสาวพลัดเรือสปีดโบ๊ตกลางแม่น้ำเจ้าพระยาเสียชีวิต ซึ่งบางคนเสพข่าวมากจนมีภาวะเครียด โดยเฉพาะผู้ป่วยจิตเวช ว่าการเสพข่าวดังกล่าวมากจนเกินไปย่อมส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจของผู้เสพข่าวไม่มากก็น้อย

พญ.อัมพร กล่าวต่อว่า ประชาชนทั่วไปที่มีจิตใจแข็งแรงก็มีโอกาสเครียดได้ เห็นได้จากการติดตามสถานการณ์ความเครียดพบว่า สูงขึ้น ทั้งนี้จากการติดตามผู้เสพข่าวต่างๆ พบว่าช่วงนี้มี 3 ข่าวที่มีการติดตามสูงและก่อให้เกิดความเครียดได้ หากเสพข่าวจนเกินพอดี คือ

หมอ

1.ข่าวการเสียชีวิตของดาราดัง เนื่องจากเป็นบุคคลที่ทุกคนชื่นชอบ และมีเงื่อนงำทางคดี ทำให้มีคนสนใจจำนวนมาก 2. ข่าวสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน ที่กระทบต่อเศรษฐกิจโลก และ 3.ข่าวการระบาดของโควิดสายพันธุ์โอมิครอน

“ที่น่ากังวล คือ ผู้มีจิตใจอ่อนไหว มีสภาพจิตใจเปราะบาง โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยจิตเวชแต่เดิม ทั้งโรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล ขณะนี้กลุ่มจิตแพทย์มีความเป็นห่วงกรณีดังกล่าว จากข้อมูลการเปรียบเทียบระหว่าง ก.พ.และต้น มี.ค.ที่ผ่านมา สำรวจประชาชนทั่วไป พบว่า เสี่ยงเครียดสูงขึ้นเป็น 2.1 เท่า จากเดิม 1.7% เป็น 3.6% และเสี่ยงซึมเศร้าสูงขึ้น 4.8 เท่าจากเดิม 2.1% เป็น 10.1% โดยมีจิตแพทย์อย่างน้อย 4-5 คนพบว่า

ผู้ป่วยที่เราดูแลอยู่ โดยเฉพาะกลุ่มโรคซึมเศร้า เริ่มมีจิตใจเศร้าหมองลง หลับยาก และบางคนจินตนาการภาพขึ้นมาจากข่าว ส่งผลให้ทำร้ายจิตใจตัวเอง ไม่มีสมาธิ เบื่อหน่ายสิ่งแวดล้อม จึงเป็นห่วงผู้ป่วยจิตเวชที่เป็นอยู่เดิม ขอให้ระมัดระวังเป็นพิเศษในการรับรู้ข่าว และฝากญาติมิตรให้ใส่ใจผู้ป่วยเกี่ยวกับการเสพข่าวมากเกินไป ” พญ.อัมพร กล่าว

เครียดสูง

เมื่อถามว่า ผู้ป่วยจิตเวชเดิมอาจมีอาการแย่ลง จะดำเนินการอย่างไร พญ.อัมพร กล่าวว่า ขณะนี้จากการตรวจอาการของผู้ป่วยที่เข้ามารับบริการ จิตแพทย์ทั้งหลายมีการติดตามและจับกระแสความเป็นไป ทำให้มีการเตือนให้ระมัดระวัง ประกอบกับทางกรมสุขภาพจิตมีสายด่วน 1323 ซึ่งก็มีการรวบรวมข้อมูลนี้ โดยจะนำมาประมวลเรื่อยๆ อย่างครั้งนี้ก็ต้องรีบเตือนประชาชนทันที

เมื่อถามอีกว่า ประชาชนทั่วไปควรบริโภคข่าวสารอย่างไร พญ.อัมพร ระบุ ขอให้เสพข่าวสารอย่างมีสติ อย่าใจจดจ่อกับข่าวสารมากขึ้น เลือกช่วงเวลาการรับข่าวสารแบบพอประมาณ ไม่ต้องติดตามทุกชั่วโมง ต้องพยายามเสริมภูมิคุ้มกันให้กับตนเอง มีการเลือกเสพข่าวสารแบบแยกแยะ เช่น แหล่งข่าวที่น่าเชื่ออย่างเป็นทางการ ไม่ใช่เสพสื่อทุกอย่าง ทุกความเห็นของทุกคน เพราะการรับข่าวสารมากเกินไป

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน