ค่า ฝุ่น PM 2.5 ในไทย เกินมาตรฐานหลายจุด นครปฐมอ่วมพุ่ง 193 มคก./ลบ.ม. กรุงเทพมหานคร ติดอันดับ 8 ของโลก เกินค่ามาตรฐานในระดับสีม่วง
เมื่อวันที่ 24 ม.ค.68 ผู้สื่อข่าวรายงานสถานการณ์ค่าฝุ่นพิษ พบเกินค่ามาตรฐานใน 60 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ 198 มคก./ลบ.ม. นครชัยศรี, จังหวัดนครปฐม 193 มคก./ลบ.ม. ลำลูกกา, จังหวัดปทุมธานี 192 มคก./ลบ.ม. บางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ 191 มคก./ลบ.ม. ปทุมธานี,
จังหวัดปทุมธานี 191 มคก./ลบ.ม. พญาไท กรุงเทพฯ 187 มคก./ลบ.ม. เทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา, จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 186 มคก./ลบ.ม. Ratchathewi, กรุงเทพฯ 184 มคก./ลบ.ม. สะพานสูง กรุงเทพฯ 184 มคก./ลบ.ม. ทวีวัฒนา กรุงเทพฯ 184 มคก./ลบ.ม.
นอกจากค่าฝุ่นพิษในกรุงเทพมหานคร ซึ่งขณะนี้ ติดอันดับ 8 ของโลก ณ เวลา 12.00 น.วันที่ 24 มกราคม ทั้งนี้ สำหรับค่าฝุ่นที่เกินค่ามาตรฐานในระดับสีม่วง หมายถึงเป็นอันตรายและกระทบต่อสุขภาพอย่างร้ายแรง อีกทั้งยังเป็นต้นตอมะเร็งปอด มะเร็งตับ มะเร็งไต หลอดเลือดในสมองอุดตัน หัวใจล้มเหลว สมองเสื่อม หอบหืด อีกด้วย
นอกจากนี้ ข้อมูลจากโรงพยาบาลบางปะกอก 3 ระบุผลกระทบของฝุ่นพิษ PM2.5 เอาไว้ด้วยว่า ฝุ่น PM 2.5 เป็นฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน ซึ่งขนาดที่เล็กมากนี้จะสามารถหลุดรอดการกรองของขนจมูก ผ่านเข้าสู่ทางเดินหายใจเข้าไปยังถุงลมฝอยและแทรกซึม ผ่านเข้าไปยังหลอดเลือดฝอย และเข้าสู่กระแสเลือดได้ ทำให้เกิดโรคในหลายระบบต่างๆของร่างกาย
ด้วยขนาดที่เล็กมาก ทำให้ฝุ่นละอองพิษ PM2.5 สามารถถูกสูดเข้าลึกถึงทางเดินหายใจและปอด บางอนุภาคยังอาจเข้าสู่กระแสเลือดไหลเวียนไปทั่วร่างกาย ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพมากมาย
สำหรับกลุ่มเสี่ยงอันตรายจากฝุ่นพิษ
-เด็ก อาจกล่าวได้ว่ายิ่งอายุน้อย ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงมากขึ้น เนื่องจากเด็กเล็กมีภูมิคุ้มกันโรคน้อยกว่าผู้ใหญ่ อวัยวะต่างๆ ในร่างกายยังอยู่ในระยะที่กำลังพัฒนา ทั้งนี้ฝุ่นพิษในอากาศที่สามารถเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจและกระแสเลือดได้ง่ายจะไปขัดขวางการเจริญเติบโตของระบบต่างๆ หรือทำให้เกิดโรคร้ายแรงในที่สุด
-หญิงมีครรภ์ นอกจากภัยร้ายส่งผลต่อตัวคุณแม่ตั้งครรภ์ที่สูดฝุ่นละอองโดยตรงแล้ว ทารกในครรภ์ยังเป็นอันตรายด้วยเช่นกัน มีการศึกษาพบว่ามลพิษในอากาศมีผลต่อการคลอดก่อนกำหนด เสี่ยงแท้งบุตร และเพิ่มอัตราการตายของทารกในครรภ์ได้
-ผู้สูงอายุ เมื่ออายุมากขึ้น อวัยวะเริ่มเสื่อมถอย ระบบการทำงานต่างๆ ในร่างกายลดลง ส่งผลให้ภูมิคุ้มกันลดลง หากต้องเผชิญกับฝุ่นละออง อาจมีแนวโน้มเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหอบหืด โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว ควรหลีกเลี่ยงการเผชิญฝุ่นพิษให้มากที่สุด
-ผู้ป่วยหรือมีโรคประจำตัว โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจ โรคปอด และโรคหัวใจชนิดต่างๆ การสูดฝุ่นผงเข้าสู่ร่างกายโดยตรงส่งผลให้โรคกำเริบ อาจถึงกับชีวิตได้