เอเอฟพีรายงานเมื่อ 5 .. ว่า พล..มิน อ่องหล่ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของพม่า โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กตอบโต้กระแสวิตกกังวลถึงสวัสดิภาพของชาวมุสลิมโรฮิงยาที่จะกลับคืนถิ่นฐานในรัฐยะไข่ ทางตะวันตกของประเทศว่าไม่ต้องหวาดกลัวอะไร

ก่อนหน้านี้ สหประชาชาติ (ยูเอ็น) รวมถึงองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ กล่าวเตือนว่าพม่ายังไม่มีความปลอดภัยมากพอที่ชาวโรฮิงยาซึ่งกว่า 700,000 คนหนีตายความรุนแรงไปพักพิงที่ค่ายผู้ลี้ภัยในบังกลาเทศตั้งแต่เดือนส..ปีก่อน จะเดินทางกลับไปใช้ชีวิตตามเดิม

This April 30, 2018, photo shows a view of the Kutupalong Rohingya refugee camp in Kutupalong, Bangladesh. ค่ายผู้อพยพในบังกลาเทศ ที่เมืองกูตูปาลอง (AP Photo/A.M. Ahad)

ผบ.สส.พม่ากล่าวกับผู้แทนคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นเอสซี) เมื่อ 30 เม.ย. ย้ำว่าพม่าเป็นประเทศที่ปลอดภัย และชาวมุสลิมโรฮิงยาไม่จำเป็นต้องหวาดวิตกตราบใดที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ซึ่งทางการจัดสรรไว้ให้

In this image made from video, U.N. Security Council ambassadors board a helicopter to fly to Maungdaw district of Rakhine State, in Sittwe, Myanmar, Tuesday, May 1, 2018. (AP Photo)

แม่ทัพใหญ่พม่าตั้งข้อสงสัยถึงความเท็จจริงของรายงานที่กล่าวว่าผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงยาในบังกลาเทศครหาหาว่าถูกเจ้าหน้าที่ทหารพม่าทำร้ายร่างกาย และข่มขืน ด้วยว่าชาวเบงกาลี (ชาวโรฮิงยา) จะไม่มีทางพูดว่าพวกเขาไปถึงที่นั่นอย่างมีความสุขหรอก พวกเขาจะได้รับความเห็นอกเห็นใจและสิทธิพิเศษต่างๆ ก็ต่อเมื่อบอกว่าพวกเขาต้องเผชิญหน้ากับความยากลำบาก สิ่งที่เราได้ยินคือการพูดเติมแต่งที่เกินจริง

In this Tuesday, Nov. 21, 2017, photo, K, 25, right, cries as she recounts being gang raped by members of Myanmar’s armed forces (AP Photo/Wong Maye-E)

ทั้งนี้ ช่วงกลางเดือนเม..ที่ผ่านมา รัฐบาลพม่าเปิดเผยว่าครอบครัวชาวมุสลิมโรฮิงยา 5 คนจากบังกลาเทศ ข้ามชายแดนมายังค่ายพักพิงชั่วคราวสำหรับผู้คืนถิ่นในเมืองหล่าโปข่อง ทางตอนเหนือของรัฐยะไข่ แต่นับจากนั้นยังไม่มีความคืบหน้าว่ามีผู้ลี้ภัยคนอื่นๆ กลับคืนถิ่น

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน