เมื่อวันที่ 28 พ.ค. นายโธมัส เบิร์ด จากเซาธ์ไชน่ามอร์นิ่งโพสต์ รายงานเจาะลึกประวัติศาสตร์ที่มาของการสร้างทางรถไฟในประเทศจีน และความพยายามของคนรุ่นหลังที่จะปกป้องทางรถไฟจิ่งจาง ซึ่งเป็นรถไฟสายประวัติศาสตร์สมัยราชวงศ์ชิง

ช่วงปีต้นคริสตศตวรรษที่ 19 เส้นทางรถไฟสายนี้เป็นเส้นทางจากกรุงปักกิ่ง ถึง เมืองจางเจี่ยกั๋ว ทางตอนเหนือ อีกทั้งยังเป็นเส้นทางรถไฟสายแรกที่จีนไม่ได้ใช้ความช่วยเหลือจากต่างชาติอีกด้วย

นายจาง เทียนหยู่ วิศวกรรถไฟ (คนที่สามจากขวา ของกลุ่มคนแถวหน้าสุด) ถ่ายในปี 2452 ระหว่างการก่อสร้างทางรถไฟสายปักกิ่ง-จางเจี่ยกั๋ว/ Imaginechina

ในรายงานชิ้นนี้ได้พูดถึงประวัติศาสตร์การสร้างรถไฟของจีนที่ย้อนกลับไปในปีพ.ศ. 2415 ตั้งแต่ราชวงศ์ชิงส่งเด็กจีนจำนวน 120 คน อายุเฉลี่ยประมาณ 12 ปี ไปศึกษาเล่าเรียนที่สหรัฐ เพื่อเอาความคิด ความอ่านแบบตะวันตกกลับมาใช้ในจีน

รวมไปถึงการมีส่วนร่วมในการสร้างทางรถไฟในสหรัฐ ซึมซับทั้งเทคโนโลยี และ ความรู้ แม้ว่าในช่วงปี 2438 สงครามจีน-ญี่ปุ่นปุทะขึ้นครั้งแรก ผลที่ตามมาคือจีนเสื่อมอำนาจลง

Wang Wei

ต่างชาติแอบเข้ามาสร้างทางรถไฟในดินแดนกึ่งตกเป็นอาณานิคม อย่างจีนในเวลานั้น ไม่ว่าจะเป็นเส้นทางจากเซี่ยงไฮ้ สู่หนานจิง (นานกิง) หรือเส้นทางจากเกาลูน ไปกวางตุ้ง ในฮ่องกงจากฝีมือของอังกฤษ จนนำไปสู่การเรียกร้องในชนชั้นปกครองให้มีการพัฒนา และสร้างทางรถไฟในประเทศ

สถานีรถไฟฉิงหลงเฉียงในปี 2452/Alamy

จนกระทั่งประเทศจีนประสบความสำเร็จในการสร้างทางรถไฟ หลังจากเด็กจีน 12 คนที่ส่งไปเรียนสหรัฐกลับสู่แผ่นดินเกิด หนึ่งในนั้นคือนายจาง เทียนยู่ หรือ เจมเทียนโหย่ว จากกวางตุ้ง ที่กลับมาเป็นวิศวกรรถไฟในปี 2431 ด้วยอายุเพียง 27 ปี

นายจางเริ่มลงมือสร้างทางรถไฟสายแรกในปี 2447 โดยไม่มีความช่วยเหลือใดๆ จากต่างชาติ ที่สำคัญทางรถไฟสายแรกที่เชื่อมกรุงปักกิ่งกับเมืองจางเจี่ยกั๋ว มีสภาพภูมิประเทศที่เต็มไปด้วยภูเขา และต้องผ่านพื้นที่ที่ตั้งของกำแพงเมืองจีน

อนุสาวรีย์จ้าง ที่สถานีรถไฟฉิงหลงเฉียว /Wang Wei

นอกจากนี้นายจางยังได้รับหน้าที่ในโครงการสร้างทางรถไฟจากเสฉวน ไปฮันกั๋ว และกวางโจว ในปี 2455 และปี 2461 จนได้รับสมญานามจากฝีมือว่าเป็น “บิดาแห่งรถไฟจีน”

อีกทั้งยังเป็นวิศวกรรถไฟคนแรกๆ ของจีนที่ใช้เทคนิคสวิตช์แบ็ก (Switch back) หรือเทคนิคที่ช่วยให้รถไฟสามารถขึ้นที่ชันมากๆ ได้ ด้วยการสลับร่างไต่ขึ้นพื้นที่ลาดชัน

Wang Wei

สำหรับในยุคปัจจุบัน การพัฒนาของรถไฟจีนที่ก้าวกระโดด และมาพร้อมกับการแผ้วถางทำลายสถานีรถไฟเก่าๆ ที่สร้างตั้งแต่สมัยราชวงศ์ชิง โดยนายหวัง เว่ย ช่างภาพอิสระ หนึ่งในผู้ที่ต้องการอนุรักษ์มรดกที่มาพร้อมกับทางรถไฟสายเก่า

นายหวังบอกว่า ในวัยเด็กตนมีประสบการณ์เกี่ยวพันกับทางรถไฟ รวมไปถึงสมัยเรียนมัธยม ซึ่งโรงเรียนก็บังเอิญเป็นหลุมศพเดิมของบิดาการรถไฟจีน ก่อนที่จะย้ายหลุมศพไปตั้งที่สถานีรถไฟฉิงหลงเฉียว ในปี 2525

สถานีรถไฟชิงเหอ/Wang Wei

นายหวังได้ใช้นิทรรศการถ่ายภาพของตนที่เกี่ยวกับทางรถไฟสายเก่า เพื่อให้ผู้คนได้มีส่วนรับรู้ถึงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ และคนที่สนใจสถานีรถไฟเก่าๆ หอเก็บน้ำเก่าๆ

อีกทั้งยังใช้สายสัมพันธ์กับนักข่าวในหนังสือพิมพ์เยาวชนปักกิ่งรายวัน เพื่อตีข่าวความสำคัญของสถานีรถไฟ พร้อมไปกับการแจ้งชื่อเข้ากับทางการให้อนุรักษ์สถานีรถไฟเก่าๆ หลายแห่ง จนกระทั่งมีสถานีรถไฟจำนวน 5 แห่ง รวมถึง สถานีฉิงเหอ ที่สุดท้าย ขึ้นทะเบียนเป็นสถานที่ล้ำค่าทางวัฒนธรรม ซึ่งมาจากฝีมือของนายหวัง

นายหวัง เว่ย /Thomas Bird

“ผมเพิ่งรู้ในปี 2558 จากการบอกเล่าของเพื่อนักข่าวว่า กฎหมายจีนเปิดช่องให้ใครก็ตามสามารถแจ้งชื่อกับทางการ เพื่อให้อนุรักษ์สถานที่บางแห่งได้ จากนั้นผมก็ไปกรอกชื่อกับทางการ และสถานที่ที่ผมต้องการให้อนุรักษ์ก็ไม่โดนทางการทุบทิ้ง มันเยี่ยมมากๆ ครับ” นายหวังกล่าว

งานก่อสร้างทางรถไฟความเร็วสูง /Wang Wei

ทั้งนี้ แม้ว่านายหวังจะประสบความสำเร็จในการปกป้องสถานีรถไฟเก่า แต่การพัฒนารถไฟความเร็วสูงของจีนที่มีขึ้นตลอด จึงตัดพ้อด้วยว่า “การปกป้องคุณค่าทางวัฒนธรรมในจีนเป็นเรื่องเลวร้าย และสถานีรถไฟเก่านี้เป็นเหมือนกับปมด้อยให้กับการพัฒนาประเทศ ซึ่งบางครั้งผมก็รู้สึกสิ้นหวังอยู่เหมือนกัน”

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน