ตะลึง! ไดโนเสาร์ยักษ์ตัวแรก เก่าสุดตั้งแต่เคยเจอมา จนนักวิจัยต้องรื้อการศึกษาใหม่

ไดโนเสาร์ยักษ์ตัวแรก – 10 ก.ค.เว็บไซต์ เดอะ เทเลกราฟ รายงานข่าว นักวิทยาศาสตร์ ค้นพบไดโนเสาร์ขนาดยักษ์ตัวแรกที่เกิดก่อนไดโนเสาร์ยักษ์ที่เคยเจอมา จนต้องผลักดันให้รื้อการศึกษา ‘วิวัฒนาการของความใหญ่ยักษ์’ ย้อนกลับไป 30 ล้านปี

นักวิทยาศาสตร์ในอาร์เจนตินาค้นพบฟอลซิลไดโนเสาร์ขนาดยักษ์ที่เก่าแก่ที่สุด พร้อมเผยข้อมูล‘วิวัฒนาการของความใหญ่ยักษ์’ (evolution of gigantism) ที่เริ่มเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อประมาณ 30 ล้านปีก่อน ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นของวิวัฒนาการที่เร็วกว่าเคยมีการศึกษามา

 ไดโนเสาร์ยักษ์ตัวแรก

AFP

‘อินเจนเทีย พริมา’ เป็นชื่อของไดโนเสาร์ที่มีความหมายว่า “ยักษ์ตัวแรก” ซึ่งมีขนาดความยาวของลำตัวกว่า 10 เมตรและมีน้ำหนักมากถึง 10 ตัน พวกมันเคยมีชีวิตอยู่บนโลกเมื่อ 210 ล้านปีที่แล้วในยุคไทรแอสซิก จัดอยู่ในกลุ่มของไดโนเสาร์กินพืชที่มี 4 ขาและมีขนาดใหญ่กว่าไดโนเสาร์ทั่วไปถึง 3 เท่า

 ไดโนเสาร์ยักษ์ตัวแรก

AFP

การค้นพบครั้งนี้ ถูกตีพิมพ์ลงในวารสาร Nature Ecology & Evolution สร้างความแปลกใจให้กับนักบรรพชีวินวิทยา และกระตุ้นให้พวกเขาทบทวนถึงวิวัฒนาการของไดโนเสาร์เสียใหม่อีกครั้ง เซซิเลีย หนึ่งในนักบรรพชีวินวิทยา กล่าวว่า..

“ผลการวิจัยชิ้นนี้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของวิวัฒนาการครั้งใหญ่ของไดโนเสาร์ ก่อนการค้นพบนี้ ได้มีสมมติฐานว่าวิวัฒนาการของความใหญ่ยักษ์ของไดโนเสาร์เริ่มตั้งแต่ยุคจูแรสซิก ประมาณ 180 ล้านปีที่แล้ว แต่‘อินเจนเทีย พริมา’มีชีวิตอยู๋ในช่วงปลายของยุคไทรแอสซิก ระหว่าง 205-210 ล้านปีก่อน”

“เราพบว่า‘อินเจนเทีย พริมา’เป็นต้นกำเนิดของไดโนเสาร์ที่มีวิวัฒนาการความใหญ่ยักษ์”

‘อินเจนเทีย พริมา’ เป็นสมาชิกกลุ่มแรกของไดโนเสาร์ในกลุ่มซอโรพอด หรือไดโนเสาร์คอยาวที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นบรรพบุรุษสัตว์บกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก

สำหรับไดโนเสาร์ส่วนใหญ่ วิวัฒนาการความใหญ่ยักษ์ได้พิสูจน์ให้เห็นว่า นี่คือเครื่องมือในการอยู่รอดของพวกมัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มกินพืชที่จะสามารถใช้ขนาดตัวป้องกันตัวเองจากผู้ล่า

 ไดโนเสาร์ยักษ์ตัวแรก

AFP

ทั้งนี้ฟอลซิลของมันได้ขุดพบในเมืองซานฆวน ทางตอนเหนือของประเทศอาร์เจนตินา ซึ่งในภูมิภาคแถบนี้ถือเป็นถิ่นที่ตั้งที่สัตว์โบราณเคยอาศัยอยู่ เพราะก่อนหน้านี้ก็ได้มีทีมวิจัยขุดพบฟอสซิลเต่าโบราณ รวมถึงไดโนเสาร์สายพันธุ์อื่นๆมาแล้ว

ในครั้งนี้นักวิทยาศาสตร์พบโครงกระดูกฟอสซิลไดโนเสาร์ทั้งหมด 4 ชนิด หนึ่งในนั้นเป็นของ‘อินเจนเทีย พริมา’สายพันธุ์ใหม่ และอีก 3 ชิ้นเป็นของสายพันธุ์ที่เกี่ยวข้องอีก 3 ตัว

 ไดโนเสาร์ยักษ์ตัวแรก

REUTERS

หลังจากนักวิจัยศึกษาฟอสซิลของ ‘อินเจนเทีย พริมา’ พบว่าไดโนเสาร์สายพันธุ์นี้จะโตขึ้นเป็นวัฏจักร โดยมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วเป็นระยะๆ และมีระยะหยุดเหยียดคล้ายคลึงกับต้นไม้ นอกจากนี้ยังพบโพรงในกระดูกของมัน ซึ่งเชื่อว่าจะส่งผลต่อน้ำหนักและการเจริญเติบโตของมัน และถุงลมที่ถูกพัฒนาขึ้นคล้ายกับนก เพื่อช่วยเพิ่มปริมาณออกซิเจนไปช่วยในระบบหายใจอีกด้วย

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน