ขึ้นอยู่กับบังกลาเทศแล้ว ‘ซูจี’กล่าวชัด กรณีส่งโรฮิงยากลับพม่าล่าช้า

ขึ้นอยู่กับบังกลาเทศแล้ว – เมื่อวันที่ 21 ส.ค. เอเอฟพีรายงานว่า นางออง ซาน ซู จี ที่ปรึกษาแห่งชาติและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศพม่า กล่าวถึงความคืบหน้าการดำเนินการเพื่อรับตัวผู้อพยพจากบังกลาเทศกลับสู่ถิ่นฐานในพม่า หลังชาวมุสลิมโรฮิงยากว่า 7 แสนคน ซึ่งหนีความรุนแรงจากภารกิจกวาดล้างกลุ่มติดอาวุธของกองทัพพม่าในรัฐยะไข่ไปบังกลาเทศ ว่าขึ้นอยู่กับทางการบังกลาเทศ

Myanmar State Counsellor Aung San Suu Kyi (R) answers question from audience while Singapore’s Deputy Prime Minister Teo Chee Hean listens during the 43rd Singapore Lecture in Singapore on August 21, 2018. ROSLAN RAHMAN / AFP

ROSLAN RAHMAN / AFP

คำกล่าวของนางซู จี มีขึ้นหลังทางการพม่าถูกสหประชาชาติ หรือยูเอ็น และประชาคมโลกกดดันอย่างหนักให้รับรองความปลอดภัยและจัดสร้างชุมชนอยู่อาศัยที่เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของชาวโรฮิงยา หลังพม่ากับบังกลาเทศลงนามในข้อตกลงทยอยส่งตัวชาวโรฮิงยากลับจากบังกลาเทศสู่ถิ่นฐานในรัฐยะไข่ แต่ยังไม่มีความคืบหน้าเนื่องจากชาวโรฮิงยาและบังกลาเทศหวาดเกรงความปลอดภัย

TOPSHOT – Rohingya refugee woman Johara Begum (21) holds her five-day-old baby boy Mohammad Anas, who was delivered with the help of a neighbouring midwife, in the shelter she shares with her husband and family at the Jamtoli refugee camp near Cox’s Bazar on August 12, 2018. (Photo by Ed JONES / AFP)

CHANDAN KHANNA / AFP

ทั้งยังตกลงกันไม่ได้ในรายละเอียด โดยเฉพาะประเด็นที่พม่ายังยืนกรานปฏิเสธไม่ยอมใช้ชื่อชาติพันธุ์ในบัตรประชาชนว่า “โรฮิงยา” อ้างว่าไม่ใช่หนึ่งในชาติพันธุ์ของพม่า ขณะที่ยูเอ็นมองว่า ค่ายพักพิงที่ทางพม่าจัดสร้างไว้นั้นยังไม่เหมาะสมต่อการอยู่อาศัย คำกล่าวของนางซู จี ที่ประเทศสิงคโปร์ จึงถูกมองว่าเป็นการโยนความผิดให้ฝ่ายบังกลาเทศ เพื่อลดทอนกระแสกดดันจากนานาชาติ

Myanmar State Counsellor Aung San Suu Kyi delivers her address at the 43rd Singapore Lecture in Singapore on August 21, 2018. OSLAN RAHMAN / AFP

ROSLAN RAHMAN / AFP

“มันยากมากกับการที่พม่าจะกำหนดกรอบเวลาได้เองเพียงฝ่ายเดียว เพราะว่าเราต้องทำงานร่วมกันกับทางการบังกลาเทศ” และว่า “บังกลาเทศจำเป็นต้องตัดสินใจว่าต้องการกำหนดกรอบระยะเวลายาวนานเพียงใดด้วย” นางซู จี กล่าวในการประชุมเชิงวิชาการ หัวข้อว่า ความท้าทายและหนทางข้างหน้าในช่วงเปลี่ยนผ่านของระบอบประชาธิปไตยพม่า

TOPSHOT – Rohingya refugee Saida Bibi, 8 (L) lies beside her relative Bodu Zzaman, 77, (L) at the Kutupalong refugee camp near Cox’s Bazar on August 11, 2018. Ed JONES / AFP

Ed JONES / AFP

นางซู จี กล่าวต่อว่า “พวกเราเป็นผู้ที่ต้องอยู่อาศัยในช่วงเปลี่ยนผ่านของพม่าเห็นไม่ตรงกันกับบุคคลอื่นที่มองเข้ามาจากภายนอก และบุคคลเหล่านี้ล้วนไม่เคยต้องรับผิดชอบกับผลลัพธ์ใดๆ” นอกจากนี้ ที่ปรึกษาแห่งชาติพม่ายังกล่าวโทษกลุ่มติดอาวุธของชาวโรฮิงยาและหลีกเลี่ยงการวิพากษ์วิจารณ์กองทัพพม่า ว่าความเคลื่อนไหวของกลุ่มติดอาวุธในพื้นที่เป็นต้นเหตุที่นำไปสู่ภารกิจทางทหารรัฐยะไข่ ตราบใดที่ยังแก้ไขความท้าทายนี้ไม่ได้ ความเสี่ยงเรื่องความรุนแรงในชุมชนก็ยังมีอยู่

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน