เอพีรายงานเมื่อ 19 ธ.ค. ว่า ในการประชุมวาระพิเศษของรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศชาติอาเซียน (สมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) ที่นครย่างกุ้ง ประเทศพม่า ซึ่งนางออง ซาน ซู จี ที่ปรึกษาแห่งรัฐและรมว.ต่างประเทศ ขอประชุมฉุกเฉินว่าด้วยวิกฤตชาวโรฮิงยานั้น มาเลเซียเป็นชาติที่พูดถึงปัญหาของเรื่องนี้มากที่สุด ว่าวิตกอย่างยิ่งกับความรุนแรงที่ทหารพม่ากระทำต่อชนกลุ่มน้อยโรฮิงยา

Indonesia's Foreign Minister Retno Marsudi (centre L) and Myanmar State Counselor and Foreign Minister Aung San Suu Kyi (centre R) attend the Association of Southeast Asian Nations (ASEAN) Foreign Ministers' meeting in Yangon on December 19, 2016. The fate of Myanmar's Rohingya Muslim minority took centre stage on December 19 as regional ministers held crisis talks over a security crackdown that has drawn rare criticism from neighbouring nations. / AFP PHOTO / YE AUNG THU

AFP PHOTO / YE AUNG THU

การประชุมมีขึ้นหลังจากกองทัพพม่านำกำลังบุกค้นหมู่บ้านชาวมุสลิมโรฮิงยาในรัฐยะไข่เพื่อปราบปรามกลุ่มติดอาวุธมุสลิมสายสุดโต่ง จากกรณีโจมตีด่านตรวจชายแดนเมื่อเดือนต.ค. จนนำไปสู่ข้อกล่าวหาถึงการทำร้ายร่างกาย ข่มขืน สังหาร นอกจากนี้ยังทำให้ชาวโรฮิงยามากกว่า 27,000 คนต้องอพยพหนีตายไปยังบังกลาเทศ

“เป็นเรื่องน่ากังวลมากที่การกระทำที่ถูกกล่าวหานี้เป็นปฏิบัติการความมั่นคงที่กระทำโดยเจ้าหน้าที่รัฐบาลเอง” รัฐบาลมาเลเซียระบุ

ด้านนายเรตโน มาร์ซูดี รมว.ต่างประเทศอินโดนีเซีย กล่าวว่า พม่าตกลงที่จะเปิดทางให้ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมเข้าไปยังพื้นที่ประสบเหตุ แต่ยังไม่ได้ระบุวันเวลาที่ชัดจน
กรณีโรฮิงยากระทบต่อความสัมพันธ์ของพม่ากับชาติสมาชิกที่นับถืออิสลาม อย่างมาเลเซีย และอินโดนีเซียด้วย นับเป็นกรณีไม่ปกติสำหรับอาเซียนซึ่งมีหลักปฏิบัติไม่แทรกแซงกิจการภายในของสมาชิก

satellite
ก่อนหน้านี้นายกรัฐมนตรีนาจิบ ราซัก ผู้นำมาเลเซีย แถลงตำหนินางซู จี ว่าเพิกเฉยการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวมุสลิมโรฮิงยาในรัฐยะไข่ ขณะที่ทางการพม่าตอบโต้ว่าข้อครหาไม่มีมูลความจริง พร้อมสั่งระงับการส่งแรงงานพม่าไปทำงานในมาเลเซีย
ด้านนายออง กัน เส็ง อดีตเลขาธิการอาเซียน ระบุว่า ชาติสมาชิกอาเซียนวิตกว่าวิกฤตโรฮิงยาจะยิ่งขมวดปมและกลายเป็นปัญหาที่แก้ไม่ตก

“หากไม่จัดการให้ดีวิกฤตนี้จะส่งผลกระทบต่อภาพรวมของสันติสุข และความมั่นคงในภูมิภาคอาเซียน”

พร้อมแสดงความเห็นว่า การประชุมฉุกเฉินนี้มีเป้าหมายระงับความรุนแรงในพื้นที่พิพาท รวมถึงปรับความเข้าใจ ฟื้นฟูความสัมพันธ์ และแบ่งปันข้อมูลความคืบหน้าของสถานการณ์ให้ชาติสมาชิกรับทราบ

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน