พม่ามาแปลก! โผล่ยินดีบังกลาฯ แถลงเร่งกระบวนการส่ง “โรฮิงยา” คืนถิ่นยะไข่

พม่ามาแปลก! – เมื่อวันที่ 8 ก.ย. เซาท์ไชน่ามอร์นิงโพสต์ รายงานว่า รัฐบาลพม่าแถลงยินดีที่รัฐบาลบังกลาเทศมีความคืบหน้าในกระบวนการส่งผู้ลี้ภัย ชาวโรฮิงยา กลับคืนรัฐยะไข่ หลังจาก นายอาบูล ฮัสซาน มาห์มุด อาลี รมว.กระทรวงต่างประเทศบังกลาเทศ เปิดเผยว่าบังกลาเทศพร้อมจะส่งคืนชาวโรฮิงยากว่า 3,000 คนกลับไปยังพม่าในเร็ววันนี้

พม่ามาแปลก!

(FILES) In this file photo taken on October 09, 2017 Rohingya refugees wait after crossing the Naf river from Myanmar into Bangladesh in Whaikhyang.
The International Criminal Court said on September 6, 2018 it had jurisdiction to probe the forced exodus of Rohingya Muslims from Myanmar as a possible crime against humanity. / AFP PHOTO / FRED DUFOUR

 

ถือเป็นความเคลื่อนไหวที่สร้างความแปลกใจให้กับหลายฝ่าย เนื่องจากทางการพม่าไม่เคยแสดงความคิดเห็นเชิงบวกต่อชนกลุ่มน้อยชาวโรฮิงยา ทั้งยังตกเป็นเป้่าโจมตีจากองค์กรปกป้องสิทธิมนุษยชนและประชาคมโลกจากการกระทำที่เข้าข่ายขับไล่ชาวโรฮิงยาให้พ้นประเทศ

พม่ามาแปลก!

Government spokesman Zaw Htay speaks at a press conference in capital Naypyidaw on September 7, 2018. / AFP PHOTO / Thet AUNG

นายจอว์ เทย์ โฆษกรัฐบาลพม่า แถลงต่อสื่อมวลชนที่กรุงเนปิดอว์เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาว่า “เรามีความหวังตลอดมาว่ากระบวนการส่งคืนผู้ลี้ภัยจะเริ่มต้น และผมเชื่อว่าหลังจากนี้ขั้นตอนต่างๆ ของกระบวนการดังกล่าวจะดำเนินไปอย่างราบลื่น”

พม่ามาแปลก!

Bangladesh’s Foreign Minister Mahmood Ali. / AFP PHOTO /

หลังจากถ้อยแถลงทางการ นายจอว์ เทย์ กล่าวกับบรรดาสื่อมวลชนว่าจะไม่รับสายโทรศัพท์ขอสัมภาษณ์จากสื่อมวลชนอีกต่อไป โดยไม่ชี้แจงถึงเหตุผล แต่หลายฝ่ายคาดว่าเป็นการตอบโต้และแสดงความไม่พอใจต่อแถลงการณ์ของศาลอาญาระหว่างประเทศ (ไอซีซี) ในกรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งระบุว่าไอซีซีมีอำนาจในการเปิดการสอบสวนคดีอาชญากรรมต่อต้านชาวมุสลิมโรฮิงยาในพม่า เมื่อวันที่ 6 ก.ย.

พม่ามาแปลก!

A Rohingya refugees settlement in the “no man’s land” zone between the Myanmar and Bangladesh border is pictured from Maungdaw, Rakhine state, during a government-organized visit for journalists on August 24, 2018. / AFP PHOTO / Phyo Hein KYAW

เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเกือบ 2 สัปดาห์หลังคณะกรรมการอิสระระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ เปิดเผยรายงานว่ากองทัพพม่าเกี่ยวข้องกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในช่วงที่อ้างว่าพยายามกวาดล้างกลุ่มติดอาวุธชาวโรฮิงยาเมื่อปี 2560 ซึ่งเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตหลายพันราย และอีกกว่า 720,000 คนต้องอพยพหนีไปยังบังกลาเทศ จนเกิดกระแสประณามรัฐบาลพม่าอย่างดุเดือด

อ่านต่อ:

นายพลมินอ่องไหล่ โผล่ตรวจน้ำท่วม นาทีถูกบี้หนักปมกวาดล้างโรฮิงยา

พม่าบีบบังกลาเทศยุติความช่วยเหลือ 6 พัน “โรฮิงยา” ในรัฐยะไข่

ฆาตกรรมปริศนา เขย่าขวัญค่ายโรฮิงยาต่อเนื่อง20ศพ หนุ่มถูกแทง25แผล

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน