ใครอยู่ใครไป เกาะกระแสโลก 2019

ใครอยู่ใครไป – เป็นปีคริสต์ศักราชที่ คาดหมายได้ว่าผู้นำนานาประเทศจะมีบทบาทกำหนดสถานการณ์โลก ว่าจะให้ร้อนขึ้นหรือเย็นลง

หลังจากสงครามในสมรภูมิต่างๆ รวมถึงความขัดแย้งที่ผันสู่การก่อการร้ายยังคงเขย่าขวัญ ส่วนสงครามการค้าระหว่างมหาอำนาจยักษ์ใหญ่ จีน VS สหรัฐ ยังสั่นประสาท

การตัดสินใจของผู้นำโลกว่าจะเดินหน้า หยุด หรือถอยหลัง ย่อมมีผลต่อความเป็นไปของโลก

พร้อมกับกระบวนการทางประชาธิปไตยที่เชื่อมโยงถึงการเลือกตั้งและการตรวจสอบวัดผล อันจะมีส่วนตัดสินว่า ใครจะอยู่ใครจะไปในปีใหม่นี้

ทรัมป์สุดปังก้าวสู่ปีที่ 3

นายโดนัลด์ ทรัมป์ ผู้ครองพื้นที่สื่อทั่วโลกตลอดศก ทำงานในฐานะผู้นำสหรัฐอเมริกาขึ้นสู่ปีที่ 3 จากวาระ 4 ปี หลังจากสองปีแรกสรุปผลงานตนเองขณะกล่าวสุนทรพจน์บนเวทีสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ เมื่อเดือนกันยายน 2561 จนเป็นที่เกรียวกราว

ในช่วงเวลาไม่ถึง 2 ปี รัฐบาลของผมทำงานสำเร็จลุล่วงมากกว่ารัฐบาลเกือบทุกชุดในประวัติศาสตร์ชาติของเราคือถ้อยคำที่ทำให้ผู้ฟังส่งเสียงฮาครืนออกมา จนนายทรัมป์หยุดชะงักแล้วกล่าวต่อแก้เก้อว่าผมไม่ได้คาดคิดว่าจะได้รับปฏิกิริยาแบบนี้ แต่ก็ไม่เป็นไรนะ

ใครอยู่ใครไป

โดนัลด์ ทรัมป์

ก่อนคุยต่อว่าในยุคสมัยของตน สหรัฐ เป็นประเทศที่แข็งแกร่งขึ้น ร่ำรวยขึ้น และปลอดภัยขึ้น

ทำให้เกิดคำถามว่าการสรุปแบบนี้ สวนทางกับเหตุการณ์ความขัดแย้งทั้งในประเทศและนอกประเทศหรือไม่

เมื่ออเมริกายังคงเกิดเหตุกราดยิงอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางความขัดแย้งในนโยบายขับไล่ไสส่งผู้อพยพตลอดแนวชายแดนสหรัฐ จับพ่อแม่พรากจากลูกจนสะเทือนใจผู้คนไปทั่ว เกิดกรณีเด็กหญิง อายุ 7 ขวบ และเด็กชาย 8 ขวบตายระหว่างอยู่ในการกักกันของเสหรัฐ

เช่นเดียวกับคำถามว่าด้วยการแทรกแซงของรัสเซียที่มีผลต่อการเลือกตั้งประธานา ธิบดีสหรัฐ ซึ่งตามหลอกหลอนนายทรัมป์มาสองปีแล้ว และคาดว่าปีที่สามนี้จะหลอนหนักยิ่งขึ้น เนื่องจากผลการเลือกตั้งกลางเทอมเมื่อปลายปี 2561 พรรครีพับลิกันของนายทรัมป์เสียการครองที่นั่งข้างมากในสภาล่างไปแล้ว

หากพรรคเดโมแครตเริ่มกระบวนการถอดถอน หรืออิมพีชเมนต์ คงจะไม่เป็นเรื่องเกินความคาดหมาย

ยุโรปทิ้งทรัมป์ทำศึกอิหร่าน

อีกสถานการณ์ที่น่าวิตกว่าจะตึงเครียดขึ้นอีกในปีนี้ มาจากการที่นายทรัมป์เปิดศึกอย่างโจ่งแจ้งกับอิหร่าน ทั้งการฟื้นฟูมาตรการลงโทษทางเศรษฐกิจและถ้อยคำกล่าวร้ายอย่างไม่ไว้หน้า

ยอมทำแม้กระทั่งขัดใจพันธมิตรยุโรปที่ยังยึดถือข้อตกลงปลดอาวุธนิวเคลียร์อิหร่าน ปี 2558 สมัยที่ นายบารัก โอบามา เป็นประธานาธิบดีสหรัฐ

การตัดสินใจดังกล่าวทำให้ชาติยุโรปไม่ไปยืนเคียงข้างสหรัฐได้เหมือนกับสมัยทำสงครามอิรัก

เพราะบรรดาชาติยุโรปต่างมีการบ้านที่ต้องสะสางภายในภูมิภาค ทั้งกรณีที่อังกฤษภายใต้การนำของนายกฯหญิง เทเรซา เมย์ มีกำหนดแยกตัวจากสหภาพยุโรปอย่างเป็นทางการ

ส่วน นายเอ็มมานูเอล มาครง ผู้นำหนุ่มแห่งฝรั่งเศส ต้องเร่งฟื้นฟูเก้าอี้ผู้นำที่ถูกผู้ประท้วงเสื้อกั๊กเหลืองเขย่าจนเอียงกระเท่เร่ แม้จะยอมกลับลำยกเลิกแผนขึ้นภาษีน้ำมัน พร้อมเพิ่มสวัสดิการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยแล้วก็ตาม

ใครอยู่ใครไป

มาครง

ใครอยู่ใครไป

เมย์-แมร์เคิล

ขณะที่ นางแองเกลา แมร์เคิล เจอกระแสขาลงจนต้องลงจากเก้าอี้หัวหน้าพรรคคริสเตียน เดโมเครติก ยูเนียน เหลือเก้าอี้นายกรัฐมนตรีที่ต้องรักษาไว้เป็นผู้นำประเทศและเสาหลักประชาธิปไตยโลก

ความสับสนวุ่นวายภายในยุโรปบวกกับการเผชิญหน้ากับรัสเซีย กรณีพิพาทยูเครนที่ยังไม่จบสิ้น ทำให้ยุโรปไม่มีเวลามาช่วยสหรัฐท้าตีท้าต่อยกับอิหร่านอย่างแน่นอนในปี 2562 นี้

คาช็อกกีหลอนเจ้าชายซาอุฯ

สำหรับนายทรัมป์ การลั่นวาจาว่าจะไม่ทำอะไรซาอุฯ เพราะต้องอาศัยเป็นคู่ศึกชนกับอิหร่าน ปล่อยให้คดี อื้อฉาวที่ มกุฎราชกุมารโมฮัมเหม็ด บิน ซัลมาน ถูกครหาว่าบงการสังหาร นายจามาล คาช็อกกี นักข่าวอิสระชาวซาอุฯ และคอลัมนิสต์วอชิงตันโพสต์ สื่อทรงอิทธิพลของสหรัฐ ภายในสถานกงสุลซาอุฯ ประจำนครอิสตันบูลของตุรกี เมื่อวันที่ 2 ..2561 เป็นอีกเรื่องที่ฉุดสหรัฐลงจากมาตรฐานเดิม

ใครอยู่ใครไป

เจ้าชายซาอุ

ใครอยู่ใครไป

คาช็อกกี

ทรัมป์ยืนยันด้วยว่า สหรัฐจะไม่ยกเลิกการขาย อาวุธระดับพันล้านดอลลาร์ให้ซาอุฯ เพราะไม่เช่นนั้นจะเหมือนไปโยนผลประโยชน์ให้จีนและรัสเซียขาย ได้แทน

ปูตินมุ่งอาวุธสยบโลก

การเอ่ยถึงผลประโยชน์ในการขายอาวุธเช่นนี้ของนายทรัมป์ไม่ใช่เรื่องพูดแบบขอไปที โดยเฉพาะเมื่อเอ่ยชื่อจีน คู่แข่งใหญ่ และรัสเซีย ชาติที่ขยับขึ้นมาเป็นประเทศส่งออกอาวุธอันดับสองของโลกรองจากสหรัฐในปี 2560

ใครอยู่ใครไป

ปูติน-โมที

นายทรัมป์เพิ่งประกาศขีดเส้นตายให้รัสเซียถอนการติดตั้งขีปนาวุธวิถีโค้งพิสัยสั้นถึงปานกลาง ภายใน 60 วัน ด้วยคำขู่จะดึงสหรัฐถอนตัวออกจากสนธิสัญญาแสนยานุภาพนิวเคลียร์พิสัยกลาง หรือไอเอ็นเอฟ ที่โซเวียตกับสหรัฐเคยลงนามกันไว้เมื่อปี 2531

แต่นายวลาดิเมียร์ ปูติน ผู้นำรัสเซียตอบโต้ทันทีว่าหากสหรัฐถอนตัวเมื่อใด รัสเซียพร้อมจะพัฒนาขีปนาวุธไร้เทียมทานที่มีอยู่ในมือ

ระทึกได้อีกสงครามการค้า

สงครามการค้าที่เดิมจะเปิดฉาก 1 ..2562 เลื่อนออกไปแล้ว 90 วัน หลังนายทรัมป์ตกลงระงับศึกชั่วคราวกับ นายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน บนเวทีจี 20 เมื่อปลายปีก่อน

แต่หากเจรจาเพื่อแก้ไขข้อขัดแย้งด้านการค้าลงเอยไม่สวยเมื่อครบกำหนดในเดือนมีนาคมปีนี้ สหรัฐจะขึ้นอัตราภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนเป็นร้อยละ 25 จากเดิมร้อยละ 10

ระหว่างมาตรการดังกล่าวยังถูกแขวนไว้รอการต่อรองของสองมหาอำนาจ น่าสังเกตว่ามีมาตรการพิเศษผุดขึ้นมาให้หนักใจ

ใครอยู่ใครไป

สี จิ้นผิง

กรณีสหรัฐแจ้งขอให้รัฐบาลแคนาดาจับกุมและส่งตัว นางเมิ่ง หว่านโจว ผู้บริหารหญิงแห่ง บริษัทหัวเว่ย ฐานละเมิดมาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐต่ออิหร่านช่วงปี 2552-2557 มาดำเนินคดีในสหรัฐ

ยิ่งเมื่อนายทรัมป์ฉวยใช้เป็นเครื่องต่อรองว่า ตนเองจะแทรกแซงการขอตัวนางเมิ่งในฐานะผู้ร้ายข้ามแดนของสหรัฐจากแคนาดาให้ได้ หากจีนยอมเปิดทางให้สหรัฐชนะการต่อรองในสงครามการค้า

การแสดงท่าทีประเจิดประเจ้อเช่นนี้ ตอกย้ำการใช้อำนาจฝ่ายบริหารที่สุ่มเสี่ยงล้ำเส้น

ส่วนจีนก็ไม่รอช้าที่จะตอบโต้ด้วยการตัดสินคดีที่ส่งผลให้ห้ามบริษัทแอปเปิ้ล ยักษ์ใหญ่ของสหรัฐ เข้าไปขายสินค้าไอโฟนหลายรุ่นในจีน รวมถึงการจับกุมพลเรือนแคนาดาอย่างน้อย 3 คน ส่งสัญญาณให้อีกฝ่ายรับรู้ว่าจะต้องเจอกับอะไร

สันติภาพปชต.เอเชีย

สำหรับภูมิภาคเอเชีย การลดดีกรีเผชิญหน้าในคาบสมุทรเกาหลี เป็นสถานการณ์ที่มาไกลเกินคาด

ด้วยการเดินแผน ที่สุขุมอดทนของ นายมุน แจอิน ผู้นำสายพิราบของเกาหลีใต้ ทำให้การพบปะครั้งประวัติ ศาสตร์ของตนกับนายคิม จองอึน เกิดขึ้นได้ในบรรยากาศอบอุ่น และช่วยตรึงหมายการพบปะระหว่างนายทรัมป์ที่พร้อมจะพลิกผัน ให้พบหน้ากับ นายคิม จองอึน ที่ประเทศสิงคโปร์ ในเดือนมิ..2561 ได้ในที่สุด

ใครอยู่ใครไป

คิมแอนด์มุน

ปี 2562 จึงเป็นปีที่นายคิมก้าวเดินออก จากประเทศเพื่อเยือนกรุงโซล เป็นครั้งแรก และอาจไปได้ไกลกว่านั้นหากนายทรัมป์เปิดทำเนียบขาวต้อนรับผู้นำวัยเยาว์ที่ตนเองเคยเรียกว่าร็อกเก็ตแมน

ส่วนชาติประชาธิปไตยยักษ์ใหญ่ของเอเชีย 2 ประเทศมีการเลือกตั้ง อินโดนีเซีย จะเลือกประธานาธิบดี วันที่ 17 เม.. ลุ้นว่า นายโจโก วิโดโด จะได้นั่งเก้าอี้สมัยสองหรือไม่

เช่นเดียวกับ อินเดีย นายนเรนทรา โมที จะนำพรรคภารติยะชนตะ หรือบีเจพี ฝ่ายชาตินิยมฮินดู สู้ศึกการเลือกตั้งทั่วไปเพื่อต่ออายุผู้นำสมัยสอง

ใครอยู่ใครไป

องค์จักรพรรดิ อากิฮิโตะ

ใครอยู่ใครไป

มกุฎราชกุมารนารุฮิโตะ

อีกเหตุการณ์ใหญ่ เดือนเมษายนเช่นเดียวกัน จะเป็นหน้าประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่น เมื่อองค์อากิฮิโตะ พระชนมพรรษา 85 พรรษา จะเป็นจักรพรรดิพระองค์แรกของราชวงศ์เบญจมาศที่ทรงสละราชบัลลังก์วันที่ 30 เม.. จากนั้นมกุฎราชกุมารนารุฮิโตะ จะทรงขึ้นครองราชย์วันที่ 1 .. 2562

จับตาประธานอาเซียน

สำหรับอาเซียน นางออง ซาน ซู จี แม้ถูกถอดรางวัลต่อเนื่องไปแล้ว 7-8 รายการ จากกรณีเพิกเฉยปล่อยให้กองทัพกระทำ ต่อชาวโรฮิงยา น่าจะอยู่ในตำแหน่งต่อไปได้อย่างไม่ต้องสงสัย เมื่อทางการจีนออกโรงว่าจะสนับสนุนรัฐบาลพม่าอย่างเต็มกำลัง

ใครอยู่ใครไป

ส่วน ดร.มหาเธร์ โมฮัมหมัด แห่งมาเลเซีย วัย 93 ปี อาจทำงานปี 2562 เป็นปีสุดท้าย ตามที่เคยแจ้งไว้ว่าจะอยู่ในตำแหน่ง 1-2 ปี หลังเริ่มงานล้างหนี้สินของประเทศยกเลิกโครงการเมกะโปรเจ็กต์ กับสิงคโปร์และจีนที่เห็นว่าใหญ่โตเกินตัว

ปิดท้ายที่ประธานอาเซียน พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะต้องทำหน้าที่นี้ไปจนจบปีหรือไม่ การเลือกตั้งครั้งแรกจากการรัฐประหารของท่านจะเป็นตัวกำหนดเอง

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน