สำนักข่าวเอพีรายงานว่า เมื่อ 22 .. คณะนักวิจัยองค์การการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา หรือ นาซา เปิดแถลงใหญ่ถึงการค้นพบระบบดาวนอกระบบสุริยะแห่งใหม่ เป็นดาวเคราะห์ 7 ดวง ขนาดใกล้เคียงกับโลก โคจรรอบดาวดวงหนึ่ง ในจำนวนนี้ 3 ดวงอยู่ในสภาพแวดล้อมและระดับอุณหภูมิที่เป็นไปได้ว่าอาจมีสิ่งมีชีวิตอยู่

การค้นพบครั้งนี้มาจากการศึกษาวิจัยด้วยกล้องโทรทรรศน์สำหรับสำรวจอวกาศตั้งอยู่ในประเทศชิลี พบกลุ่มดาวดังกล่าวอยู่ห่างออกไป 40 ปีแสงในกลุ่มดาวราศีกุมภ์ (constellation Aquarius) ดาวทั้งเจ็ดโคจรรอบดาวแคระดวงหนึ่งที่ชื่อว่า แทร็ปพิสต์-1 (Trappist-1) มีขนาดใกล้เคียงกับดาวพฤหัสฯ หรือจูปิเตอร์ และน่าลุ้นว่า 3 ดวงอยู่ในข่ายที่จะมีน้ำ และอาจมีสิ่งมีชีวิตอยู่

ภาพจำลองว่าดาวแทร็ปพิสต์อาจมีสภาพแวดล้อมพื้นผิวเป็นแบบนี้ (NASA/JPL-Caltech via AP)

“เราอยู่ในขั้นที่ลุ้นมากสำหรับการค้นหาว่ามีสิ่งมีชีวิตอยู่ที่นั่นหรือไม่ เพราะโอกาสของดาวที่มีขนาดใกล้เคียงกับโลกในกาแล็กซีทางช้างเผือกจำนวนมากจะมีสิ่งมีชีวิตอยู่หรือไม่นั้นยากจะหยั่งรู้ได้ ผมคาดหวังว่าเราจะได้คำตอบในอีกสิบปีข้างหน้า” อโมรี ตริโอด์ นักวิจัยในทีมเบลเยียมจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ กล่าว

ขณะที่เอ็มมานูเอล เจฮิน นักวิจัยร่วมจากมหาวิทยาลัยลีเอจ กล่าวเสริมว่า ในกาแล็กซีของเรามีดาวฤกษ์ราว 2 แสนล้านดวง ถ้าจะคำนวณจำนวนดาวที่มีขนาดเท่าๆ โลกแล้วล่ะก็ ต้องคูณ 10 เข้าไป ซึ่งมีมากมายทีเดียว

เมื่อช่วงต้นปีก่อน มิชาเอล กียง แห่งมหาวิทยาลัยลีเอจ และคณะ ค้นพบดวงดาวรอบดาวแทร็ปพิสต์-1 จำนวน 3 ดวง แต่มาตอนนี้ผลการศึกษาค้นพบเพิ่มเป็น 7 ดวง ซึ่งจริงๆ แล้ว กียงคิดว่ามีมากกว่านั้น ระบบดาวกลุ่มนี้ชวนให้นึกถึงดาวพฤหัสฯ และเหล่าดวงจันทร์บริวาร

จากภาพกราฟิกที่นำมาแสดง ถ้าแทร็ปพิสต์เป็นดวงอาทิตย์หรือดาวฤกษ์ วงโคจรของดาวทั้ง 7 ดวงนี้จะอยู่ในระยะโคจรของดาวพุธ ซึ่งโคจรอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน