25ปีรวันดาฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ รัฐจัดรำลึกพิธีรำลึก เหยื่อ 8 แสนศพ

25ปีรวันดาฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ – เมื่อ 7 เม.. เอพี รายงานว่า การจัดพิธีรำลึกเหตุฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ครบ 25 ปีของประเทศรวันดา ซึ่งมีผู้เสียชีวิตกว่า 800,000 ราย หรือร้อยละ 20 ของประชากร เป็นเหตุการณ์ที่สร้างความตกตะลึงให้กับประชาคมโลก

ประธานาธิบดีพอล คากาเม ผู้นำรวันดา เป็นประธานในพิธีจุดคบเพลิงที่อนุสรณ์รำลึกการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่กรุงคิกาลี ซึ่งเป็นสถานที่ที่คาดว่ามีศพผู้เสียชีวิตกว่า 250,000 ราย ฝังอยู่ นอกจากนี้ยังมีผู้นำจากนานาประเทศเข้าร่วม อาทิ ชาด สาธารณรัฐคองโก จีบูติ ไนเจอร์ เบลเยียม แคนาดา เอธิโปเปีย สหภาพแอฟริกา สหภาพยุโรป

ภาพของผู้ถูกฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ จัดแสดงในนิทรรศการที่ศูนย์รำลึกเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์คิกาลี (AP Photo/Ben Curtis)

จากนั้น ผู้นำรวันดาเดินทางไปกล่าวสุนทรพจน์ต่อที่ศูนย์จัดแสดงนิทรรศการคิกาลี โดยผู้เข้าร่วมบางคนยังอยู่ในอาการหวาดผวา บางคนร้องไห้ และบางคนถึงกับกรีดร้องจนเป็นลมหมดสติด้วยความเสียใจ

“ผมสะเทือนใจจะเกินกว่าจะกล่าวทำใดได้ในพิธีรำลึกโศกนาฏกรรมนี้” นายฌอง โคล้ด ยุงเตอร์ ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป กล่าว

หลังพิธีรำลึก รัฐบาลยังประกาศไว้ทุกข์ตลอด 100 วัน ท่ามกลางบาดแผลในใจของครอบครัวผู้สูญเสีย ซึ่งบรรยากาศในพิธียังคงเต็มไปด้วยความโศกเศร้า

25ปีรวันดาฆ่าล้างเผ่าพันธุ์

Family photographs of some of the infants and children who died hang on display in an exhibition at the Kigali Genocide Memorial centre in the capital Kigali, Rwanda (AP Photo/Ben Curtis)

เหตุฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เริ่มจากกองกำลังกบฏอินเตอร์ฮัมเวจากกลุ่มชนเผ่าฮูตู หลังเหตุสังหารอดีตประธานาธิบดี จูเวนัล ไฮเบียรีมานา ผู้นำจากเผ่าฮูตู จากนั้นมีการรณรงค์สร้างความเกลียดชังต่อชาวทุตซี ผ่านสื่อมวลชน ด้วยข้อมูลเท็จและภาษาหยาบคาย รวมถึงการเปรียบชาวทุตซีเป็นแมลงสาบ

การปลุกระดมให้สังหารชาวทุตซี ว่าเป็นความชอบธรรม นำไปสู่การฆ่าล้างชาวเผ่าทุตซีอย่างโหดเหี้ยม ไม่ว่าจะเป็นการใช้ปืนยิง มีดฟัน และรุมทึ้งจนขาดใจตาย ตั้งแต่ 7 เม.. 2537

กะโหลกผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ทั้งหมดถูกล้อมปราบขณะหลบอยู่ในโบสถ์ที่เใทองเอ็นตารามา เมื่อ 25 ปีก่อน (AP Photo/Ben Curtis)

การสังหารโหดดังกล่าวกินเวลานาน 100 วัน กระทั่งนายพอล คากาเม ตอนนั้นอายุ 36 ปี พร้อมแนวร่วมรักประเทศชาติรวันดา หรืออาร์พีแอฟ นำกำลังเข้ายึดกรุงคิกาลีในวันที่ 4 .. เพื่อจัดตั้งรัฐบาลและควบคุมสถานการณ์ ท่ามกลางประเทศที่เหลือแต่ซากปรักหักพัง

หลังจากนั้น รวันดาเดินหน้าเข้าสู่กระบวนการสมานฉันท์ รวมถึงการจัดตั้งกระบวนการค้นหาความจริง ตัดสินผู้กระทำผิด การเยียวยาเหยื่อ และถอดบทเรียนร่วมกัน

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน