4 หมื่นปียังสมบูรณ์ หัวหมาป่ายักษ์ ยุคไพลสโตซีน ในไซบีเรีย

4 หมื่นปียังสมบูรณ์ – วันที่ 7 มิ.ย. ไซบีเรียนไทม์ รายงานการค้นพบน่าทึ่งของหัวหมาป่ายักษ์ที่มีสมองในสภาพสมบูรณ์ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ในพื้นดินที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส หรือเพอร์มาฟรอสต์ (Permafrost) ในรัสเซีย

หัวหมาป่าในยุคไพลสโตซีนถูกค้นพบเมื่อฤดูร้อนปี 2561 โดยชาวบ้านที่ชายฝั่งแม่น้ำตีเรฮ์เตียฮ์ เมืองอินดีกีร์คา เขตอาบืยสกี ทางเหนือของสาธารณรัฐซาฮา (ยาคูเทีย) ทางตะวันออกไกลของแดนหมีขาว

Pleistocene wolf

ทีมนักวิทยาศาสตร์ญี่ปุ่นระบุว่า หัวหมาป่าที่ค้นพบมีอายุเก่าแก่กว่า 40,000 ปี ขณะที่ทีมนักวิทยาศาสตร์จากพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์แห่งชาติสวีเดนจะทดสอบดีเอ็นเอของหมาป่าในยุคไพลสโตซีนต่อไป

Map

อัลเบิร์ต โปรโตโปปอฟ นักวิทยาศาสตร์จากสภาบัณฑิตวิทยาศาสตร์แห่งสาธารณรัฐซาฮา ระบุว่า เป็นการค้นพบซากหมาป่าในยุคไพลสโตซีนที่เติบโตสมบูรณ์และยังมีเนื้อเยื่อเป็นครั้งแรก

CT scan

“เราจะศึกษาเปรียบเทียบกับหมาป่าในยุคสมัยใหม่ เพื่อทำความเข้าใจว่าหมาป่ามีวิวัฒนาการและสร้างใหม่อย่างไร”

CT scan

หัวหมาป่าในยุคไพลสโตซีนมีความยาว 40 เซนติเมตร เท่ากับครึ่งหนึ่งของความยาวลำตัวหมาป่าในยุคปัจจุบันที่มีความยาวตั้งแต่ 66-86 เซนติเมตร

CT scan

หมาป่าตัวดังกล่าวมีขนหนาเหมือนช้างแมมมอธและเขี้ยวในสภาพสมบูรณ์ เติบโตอย่างเต็มที่ และคาดว่าตายในช่วงอายุ 2-4 ปี

Pleistocene wolf

การค้นพบน่าอัศจรรย์มีการเปิดเผยระหว่างการเปิดนิทรรศการสัตว์ดึกดำบรรพ์ Woolly Mammoth ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ด้วยความร่วมมือระหว่างนักวิทยาศาสตร์รัสเซียกับญี่ปุ่น

นอกจากหมาป่าแล้ว นักวิทยาศาสตร์ยังนำเสนอลูกสิงโตถ้ำที่ถูกธรรมชาติรักษาในสภาพสมบูรณ์ดี

Spartak

นาโอกิ ซูซูกิ ศาสตราจารย์บรรพชีวินวิทยาและแพทยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยจิเคย์ กรุงโตเกียว ผู้ศึกษาซากสัตว์ด้วยเครื่องสแกนซีที กล่าวว่า กล้ามเนื้อ อวัยวะ และสมองของสัตว์ อยู่ในสภาพดี และต้องการประเมินสมรรถภาพทางกายและนิเวศวิทยาของสัตว์เหล่านี้ ด้วยการเปรียบเทียบสิงโตและหมาป่าในยุคสมัยใหม่

Spartak

สิงโตถ้ำ ซึ่งมีการตั้งชื่อว่า สปาร์ตัค มีความยาวเกือบ 40 เซนติเมตร และน้ำหนักราว 800 กรัม นักวิทยาศาสตร์คาดว่า สิงโตถ้ำตายหลังเกิดไม่นานนัก ถือเป็นการค้นพบครั้งล่าสุด หลังทีมนักวิทยาศาสตร์เดียวกันค้นพบซากสิงโตถ้ำ 3 ตัว เมื่อปี 2558 และ 2560

Research

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน