มือวางเพลิงสตูดิโอ ตะโกน “แกตาย!” เหยื่อญี่ปุ่นสังเวยพุ่ง 33 ศพ

มือวางเพลิงสตูดิโอ – เมื่อ 19 ก.ค. เอพี และ เอ็นเอชเค รายงานความคืบหน้าเหตุการณ์วางเพลิงอาคารสตูดิโอ เกียวโต แอนิเมชัน ในนครเกียวโต เมืองหลวงเก่าของญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 18 ก.ค. ว่ายอดผู้เสียชีวิตเพิ่มเป็น 33 รายแล้ว เป็นจำนวนผู้เสียชีวิตจากเหตุเพลิงไหม้สูงที่สุดของญี่ปุ่นในรอบ 2 ทศวรรษ

นอกจากนี้ยังมีผู้บาดเจ็บอีก 36 คนในจำนวนนี้บางคนอาการสาหัสน่าวิตก ส่วนใหญ่บาดเจ็บเพราะวิ่งหนีควันตะเกียกตะกายวิ่งหนีควันขึ้นบันไดไปยังหลังคาของอาคาร 3 ชั้น ส่วนผู้ต้องสงสัยลงมือเผาที่ตะโกนก่อเหตุด้วยอารมณ์เคียดแค้น บาดเจ็บถูกไฟคลอกเช่นกัน

จากคำให้สัมภาษณ์ของผู้เห็นเหตุการณ์ ชายผู้ก่อเหตุ อายุ 41 ปี ตะโกนขณะราดน้ำมันและจุดไฟเผา สตูดิโอ ว่า “แกตาย!” และบางประโยคพูดว่ามีคนขโมบบางอย่างของตนไป คล้ายๆ กับว่าบริษัทแอนิเมชันเป็นฝ่ายกระทำต่อตนเอง เบื้องต้น เจ้าหน้าที่สอบสวนประวัติไม่พบว่าชายคนนี้ทำงานให้สตูดิโอแห่งนี้

มือวางเพลิงสตูดิโอ

Firefighters work as smoke billows from a three-story building of Kyoto Animation in a fire in Kyoto, western Japan, Thursday, July 18, 2019. (Kyodo News via AP)

.”เขาพูดเหมือนแค้นสังคม เขาพูดกับตำรวจด้วยอารมณ์โกรธเกรี้ยว แม้ว่าตัวเองจะเจ็บ และเขาก็พูดเหมือนเคียดแค้นเกียวโต แอนิเมชันมาก”

“มีเสียงระเบิดตูมหนึ่ง จากนั้นฉันได้ยินเสียงคนตะโกนขอความช่วยเหลือ ควันดำคลุ้งออกมาจากหน้าต่างชั้นบน ฉันเห็นผู้ชายคนหนึ่งพยายามดิ้นรนปีนหน้าต่างออกมา” ผู้เห็นเหตุการณ์คนหนึ่งกล่าว ขณะสื่อญี่ปุ่นรายงานว่า ไฟปะทุขึ้นที่หน้าประตูทางเข้า เจ้าหน้าที่ใช้เวลาถึง 5 ชั่วโมงกว่าจะควบคุมเพลิงได้

ยูจิ ฮาเสะมิ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องไฟ ประจำมหาวิทยาลัยวาเซดะ ให้สัมภาษณ์เอ็นเอชเค ว่า กระดาษสำหรับวาดการ์ตูนอนิเมะน่าจะเป็นเชื้อเพลิงอย่างดีที่ทำให้ไฟไหม้ลามอย่างรวดเร็ว

เจ้าหน้าที่ดับเพลิงพบศพในที่เกิดเหตุ 33 ราย ในจำนวนนี้ 20 รายอยู่บนชั้น 3 บางรายสลบอยู่คาบันได และบางรายสลบอยู่บนหลังคา อีก 11 รายอยู่ชั้นสอง

Light is cast on the building of Kyoto Animation following a fire in Kyoto, western Japan, Thursday, July 18, 2019. Photo/Hiromi Tanoue)

สำหรับเกียวโต แอนิเมชัน หรือที่รู้จักชื่อย่อๆ ว่า เกียวแอนิ ก่อตั้งเมื่อปี 2524 ผลงานแอนิเมชันของสร้างชื่อมีตัวละครเด็กสาวมัธยมฯ ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง เช่น “Lucky Star” ปี 2551 “K-On!” ปี 2554 และ “Haruhi Suzumiya” ปี 2552 บรรดาแฟนแอนิเมะของสตูดิโอแห่งนี้ ต่างตกตะลึงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและส่งสารแสดงความเสียใจกับผู้สูญเสียในโลกออนไลน์อย่างกว้างขวาง

……………

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง : เกียวโตระทึก! ไฟไหม้สตูดิโอแอนิเมชั่นชื่อดัง

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน