ภูเขาน้ำแข็ง 3 แสนล้านตัน หลุดจากหิ้งน้ำแข็งในแอนตาร์กติกา

ภูเขาน้ำแข็ง – วันที่ 1 ต.ค. เอบีซี รายงานว่า ภูเขาน้ำแข็งขนาด 1,636 ตารางกิโลเมตร น้ำหนัก 315,000 ล้านตัน หลุดออกจากหิ้งน้ำแข็งในแอนตาร์กติกาแล้ว

กรมแอนตาร์กติกาออสเตรเลีย (AAD) รายงานว่า ภูเขาน้ำแข็งลูกดังกล่าว ซึ่งมีชื่อ ดี 28 (D28) หลุดออกจากหิ้งน้ำแข็งเอเมอร์ ทางตะวันออกของแอนตาร์กติกา เมื่อวันพฤหับสดีที่ 26 ก.ย. โดยนักวิทยาศาสตร์สังเกตปรากฏการณ์ดังกล่าวจากภาพถ่ายจากดาวเทียม

An inset points to the location of a helicopter on the Amery ice shelf

Australian Antarctic Division

ดร.เบ็น แกลตัน-เฟนซี นักวิทยาธารน้ำแข็งแห่ง AAD กล่าวว่า ภูเขาน้ำแข็งหลุดครั้งนี้จะไม่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อระดับน้ำทะเล เนื่องจากหิ้งน้ำแข็งเอเมอรีลอยอยู่ก่อนแล้ว เหมือนก้อนน้ำแข็งในแก้วน้ำ

Illustration of an ice shelf

Sue Cook

“แต่สิ่งน่าสนใจที่จะต้องดูต่อไปคือว่า ภูเขาน้ำแข็งที่หลุดออกไปจะมีส่งผลต่อมหาสมุทรที่จะละลายข้างใต้หิ้งน้ำแข็งเอเมอรีที่เหลืออยู่อย่างไร และความเร็วของการไหลของน้ำแข็ง (Ice Flow) ออกไปจากแอนตาร์กติกา”

A helicopter flies over the Amery ice shelf break

Australian Antarctic Division

หิ้งน้ำแข็งเป็นแผ่นน้ำแข็งหนา ลอยตัวเหนือมหาสมุทร ก่อตัวเป็นธารน้ำแข็งไหลลงสู่ชายฝั่งและบนพื้นผิวมหาสมุทร การสูญเสียภูเขาน้ำแข็งเป็นการที่ธารน้ำแข็งรักษาสมดุลระหว่างปริมาณหิมะตกและทับถมลงมา

ภูเขาน้ำแข็งดี 28 เป็นส่วนหนึ่งของธารน้ำแข็งที่มีชื่อ ฟันน้ำนม เนื่องจากรูปร่างคล้ายฟันน้ำนม และนักวิทยาศาสตร์คาดว่าจะเป็นส่วนที่หลุดออกจากหิ้งน้ำแข็งอาเมรี

  • ไม่เชื่อมโยงกับ “การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ” (Climate Change)

เฮเลน อแมนดา ฟริกเกอร์ ศาสตราจารย์แห่งสถาบันสมุทรศาสตร์ สคริปป์ส (Scripps) ในสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า นักวิทยาศาสตร์สังเกตรอยแตกในหิ้งน้ำแข็งเอเมอรีเป็นครั้งแรกเมื่อเกือบ 20 ปีที่แล้ว ทำนายว่า ภูเขาน้ำแข็งลูกใหญ่จะหลุดออกไประหว่างปี 2553-2558

“เรารู้สึกตื่นเต้นที่เห็นปรากฏการณ์ภูเขาน้ำแข็งหลุดหลังจากปีที่ผ่านมานี้ เรารู้แล้วจะต้องเกิดขึ้นในที่สุด แต่แค่ตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา และเกิดขึ้นไม่ตรงกับที่เราคาดไว้ตอนแรก”

ฟริกเกอร์กล่าวว่า ปรากฏการณ์ภูเขาน้ำแข็งหลุดนี้ไม่เชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ เนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งวัฏจักรปกติของหิ้งน้ำแข็ง ซึ่งจะมีการหลุดออกครั้งใหญ่ทุก 60-70 ปี

อย่างไรก็ตาม ซู คุก จากสถาบันทะเลและอาร์กติกศึกษา (IMAS) เชื่อว่า การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศจะส่งผลกระทบต่อหิ้งน้ำแข็งในอนาคต ปรากฏการณ์ภูเขาน้ำแข็งหลุดออกจะเพิ่มขึ้น

“กระบวนการมากมายต่างๆ จะเกิดขึ้น ขณะที่น้ำรอบแอนตาร์กติกาอุ่น หิ้งน้ำแข็งจะเริ่มบางลงและเสี่ยงต่อการหลุดเพิ่มขึ้น พื้นผิวบนหิ้งน้ำแข็งจะละลายเพิ่มขึ้น และสามารถเข้าไปในรอยแตกและขยายออก”

นักวิทยาศาสตร์จาก IMAS กล่าวด้วยว่า จะติดตามการเคลื่อนที่ของภูเขาน้ำแข็งดี 28 ต่อไป เนื่องด้วยขนาดใหญ่ ง่ายต่อการติดตาม และง่ายต่อการคำนวณว่า ภูเขาน้ำแข็งลูกนี้จะเคลื่อนที่ไปไหน และแสดงความหวังว่า ภูเขาน้ำแข็งลูกนี้จะไม่สร้างความเสี่ยงมหาศาลต่อการเดินเรือ

  • ภูเขาน้ำแข็งหลุดครั้งใหญ่ล่าสุดจากหิ้งน้ำแข็งเอเมอรีเมื่อทศวรรษที่ 1960

สำหรับ เอเมอรี เป็นหิ้งน้ำแข็งขนาด 60,000 ตารางกิโลเมตร มีขนาดใหญ่สุดอันดับ 3 ในแอนตาร์กติกา

นักวิทยาศาสตร์ใช้เวลาศึกษาหิ้งน้ำแข็งเอเมอรี่มาตั้งแต่ทศวรรษที่ 1960 และบันทึกการหลุดครั้งใหญ่ล่าสุดในปลายปี 2506 ถึงต้นปี 2507

ภูเขาน้ำแข็งที่หลุดออกมาเป็นทรงกลมขนาดราว 10,000 ตารางกิโลเมตร ก่อนแยกตัวออกเป็นภูเขาน้ำแข็งลูกเล็ก 2 ก้อน ในปี 2508

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน