คดีฆ่าหมู่ลาสเวกัส โรงแรมจ่ายชดเชย2หมื่นล้าน ! ชี้ตีค่าชีวิต-เลือดเย็น

คดีฆ่าหมู่ลาสเวกัส – เมื่อ 5 ต.ค. เอพี รายงานเสียงวิจารณ์กรณี บริษัท เอ็มจีเอ็ม รีสอร์ต เจ้าของโรงแรมมัณฑะเลย์ เบย์ ที่เกิดเหตุยิงกราดสังหารหมู่ผู้ชมคอนเสิร์ตในนครลาสเวกัส สหรัฐอเมริกา เมื่อปี 2560 ตกลงจะจ่ายเงินชดเชยให้เหยื่อที่รอดชีวิต และครอบครัวเหยื่อที่เสียชีวิต 58 ราย รวม 800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 24,400 ล้านบาท ว่า การคำนวณเงินจะเป็นไปตามหลักฐานและผลประโยชน์การเงินที่เหยื่อแต่ละรายได้รับไม่เท่ากัน

“มันเป็นการคำนวณตัวเลขที่เลือดเย็น มองข้ามความกล้าหาญ การรวมใจ ผู้ที่มีคุณสมบัติเป็นบาทหลวง หรือรับไบ จะไม่ได้เป็นคณะกรรมการพิจารณากองทุนชดเชยนี้” เคนเนธ ไฟน์เบิร์ก อัยการที่เคยร่วมคณะพิจารณาการจ่ายชดเชยเหตุการณ์โศกนาฏกรรมระดับชาติอื่นๆ มาก่อน กล่าว

เจ้าหน้าที่ตรวจสอบพื้นที่ที่ถูกกระสุนกราดยิงลงมา (AP Photo/Marcio Jose Sanchez)

เหตุการณ์ฆ่าหมู่เหยื่อสูงสุดในประวัติศาสตร์ยุคใหม่ของสหรัฐ เกิดขึ้นวันที่ 1 ต.ค.2560 นายสตีเฟน แพดด็อก อายุ 64 ปี สาดกระสุนหลายพันนัด จากห้องพักบนชั้น 32 ใส่ฝูงชนราว 22,000 คน ที่ร่วมคอนเสิร์ต เทศกาลดนตรี รูต 91 ฮาร์เวสต์ ด้านล่างตรงข้ามโรงแรม ส่งผลให้คนเสียชีวิต 58 ราย บาดเจ็บมากกว่า 422 คน ส่วนมือปืนยิงตัวตาย

LAS VEGAS, NV – ห้องที่มือปืนยิงลงมาสังหารเหยื่อ จากชั้น 32 David Becker/Getty Images/AFP

เหยื่อที่รอดชีวิตยื่นฟ้องเจ้าของโรงแรมที่ไม่รักษาความปลอดภัยให้ผู้ร่วมชมคอนเสิร์ต 22,000 คน และไม่อาจหยุดการกราดยิงของคนร้ายภายในห้องพักของโรงแรมได้

FILE – This Oct. 2017 จากห้องยิงมองลงไปด้านล่าง (Las Vegas Metropolitan Police Department via AP, File)

คณะกรรมการพิจารณาจ่ายเงินชดเชยผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์นี้ต้องคำนวณมูลค่าชีวิต ของเหยื่อแต่ละรายจากองค์ประกอบมากมาย เช่น เหยื่อเคยทำงานได้เงินเท่าไร ค่ารักษาบาดแผลเท่าไร รวมถึงผลกระทบที่ก่อความทุกข์ทรมานทางอารมณ์ในระยะยาว

คดีฆ่าหมู่ลาสเวกัส

ผู้คนมาร่วมรำลึกเหตุการณ์ People visit a memorial garden for victims of a mass shooting in Las Vegas, Thursday, Oct. 3, 2019, in Las Vegas. (AP Photo/John Locher)

เงินชดเชยดังกล่าวมีมูลค่าเป็นอันดับ 3 ในการจ่ายชดเชยเหยื่อของเหตุการณ์ช็อกสหรัฐ รองจากเหตุวินาศกรรม 11 กันยา 2544 มูลค่า 7,100 ล้านดอลลาร์ หรือราว 216,550 ล้านบาท และเหตุน้ำมันรั่วในอ่าวเม็กซิโก ปี 2553 มูลค่า 6,500 ล้านดอลลาร์ หรือราว 198,250 ล้านบาท

นายจิม เมอร์เรน ประธานเอ็มจีเอ็ม รีสอร์ต กล่าวว่า ต้องการให้ชุมชน เหยื่อ และครอบครัวได้รับการเยียวยาและสามารถก้าวต่อไปได้ และว่าการต่อสู้คดีอย่างยาวนานจะไม่มีใครได้รับผลประโยชน์สูงสุด

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน