อาลัยยอดหญิงยูเอ็นเอชซีอาร์คนแรก อดีตพระจักรพรรดินีทรงร่วมพิธีศพ

อาลัยยอดหญิงยูเอ็นเอชซีอาร์คนแรก – เอ็นเอชเค รายงานว่า ครอบครัวและญาติมิตร รวมถึงอดีตสมเด็จพระจักรพรรดินีมิชิโกะ ร่วมพิธีศพ ดร.ซาดาโกะ โองาตะ สตรีคนแรกที่ดำรงตำแหน่งข้าหลวงใหญ่เพื่อผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติหรือยูเอ็นเอสซีอาร์ เสียชีวิตขณะอายุ 92 ปี ที่โบสถ์ในกรุงโตเกียวประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 29 ต.ค.

อดีตสมเด็จพระจักรพรรดินี มิชิโกะ เสด็จทรงร่วมพิธีศพ ดร.โองาตะ / asahi.com

ดร.โองาตะเป็นชาวญี่ปุ่นคนแรกที่เป็นอัครราชทูตของคณะผู้แทนถาวรญี่ปุ่นประจำสหประชาชาติ และคนแรกที่ดำรงตำแหน่งหัวหน้าของยูเอ็นเอชซีอาร์ ได้รับความเคารพจากเจ้าหน้าที่ยูเอ็นและบรรดาผู้นำโลก ด้วยฉายา “ยักษ์ใหญ่ 5 ฟุต” จากความเป็นผู้หญิงตัวเล็กๆ สูงเพียง 152 เซนติเมตร แต่มีความน่าเกรงขามในการเจรจาความและเผชิญหน้ากับท่าทีอันเป็นปรปักษ์ของอีกฝ่าย เป็นผู้เอาใจใส่ ทุ่มเทอย่างยิ่งในงาน เพื่อคุ้มครองผู้ที่ถูกขับไล่และไร้ทางป้องกันตนเอง

อาลัยยอดหญิงยูเอ็นเอชซีอาร์คนแรก

เมื่อครั้งเยือนหมู่บ้านเอสตาฟิล ใกล้กรุงคาบูล อัฟกานิสถาน 9 ม.ค.2545 REUTERS/Erik de Castro/File Photo

สร้างผลงานรับมือวิกฤตผู้อพยพช่วงปี 2534-2543 นับจากการช่วยผู้ลี้ภัยชาวเคิร์ดอพยพหนีตายจากอิรักหลังสงครามอ่าวปี 2534 จนถึงช่วงสงครามบอลข่าน

ช่วงเวลาที่ดำรงตำแหน่งโลกเกิดเหตุการณ์ที่น่าวิตกต่าง ๆ เช่น การล่มสลายของยูโกสลาเวียและสหภาพโซเวียต เหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในรวันดา เมื่อปี 2537 นักการทูตแห่งยูเอ็นจะลงพื้นที่ไปดูสถานการณ์อันเลวร้ายของผู้ลี้ภัยจำนวนมากที่ถูกขับออกมาจากบ้านเกิดด้วยตนเอง

พบนายจุนอิจิโร โคอิซึมิ นายกรัฐมนตรีในปี 2544 ที่ทำเนียบกรุงโตเกียว เมื่อ 13 ธ.ค.2544 . Katsumi Kasahara/Pool via REUTERS

โองาตะยังวิจารณ์ประเทศตนเองว่ารับผู้ลี้ภัยน้อยเกินไปว่า “ญี่ปุ่นต้องจัดเตรียมสถานการณ์ที่จะต้อนรับประชาชนที่ประสบความยากลำบาก ควรเปิดกว้างให้เขาเข้ามา หากอ้างว่าญี่ปุ่นไม่มีทรัพยากร นั่นเป็นข้ออ้างที่เหลวไหล”

ประวัติส่วนตัว เป็นเหลนของอดีตนายกรัฐมนตรี ซึโยชิ อินูงาอิ ผู้ถูกลอบสังหารในปี 2475 ในเหตุที่มีผู้พยายามก่อรัฐประหาร ส่วนพ่อเป็นนักการทูต จึงทำให้โองาตะใช้ชีวิตในวัยเด็กอยู่ต่างประเทศ

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน