โควิด:ฝรั่งเศส จี้เร่งแก้ไข ช่วยคนแก่ตายอย่างสงบ อย่าให้สิ้นใจทรมาน

โควิด:ฝรั่งเศส – สำนักข่าว เอเอฟพี รายสถานการณ์โควิด-19 ระบาดที่ประเทศฝรั่งเศส ว่า แพทย์และผู้เชี่ยวชาญด้านบรรเทาอาการปวดของคนไข้ เผชิญสภาพปวดใจที่ไม่อาจจะช่วยคนไข้ที่อาการหนักให้เสียชีวิตอย่างสงบ เนื่องจากขาดแคลนยา ทำให้คนไข้ต้องสิ้นใจอย่างทรมาน ด้วยอาการหายใจไม่ออกและเจ็บปวด

โควิด:ฝรั่งเศส

เจ้าหน้าที่ต้องตัดสินใจว่าจะเลือกรักษาคนไข้คนใดที่มีแววรอดชีวิต / GUILLAUME SOUVANT AFP/File

คณะผู้ดูแลผู้ป่วยหลายคนในพื้นที่ภาคตะวันออกของฝรั่งเศสเผยประสบการณ์ที่ต้องตัดสินใจลำบากว่า คนไข้คนใดควรได้นอนเตียงพิเศษสำหรับการดูแลพิเศษ

ศาสตราจารย์ โอลิวิเยร์ เกอแรง หัวหน้าสมาคมเวชศาสตร์ผู้สูงอายุฝรั่งเศส กล่าวว่า สำหรับคนไข้บางราย การรักษาอาจจะเป็นทั้งไม่มีจุดหมายและอาจโหดร้าย การตัดสินใจว่าใครควรจะรอดชีวิตเป็นสิ่งที่ทีมผู้รักษาเผชิญอยู่ตลอดเวลา

 

“เรื่องนี้เกิดขึ้นก่อนที่ไวรัสโคโรนาจะระบาด คนไข้บางรายที่มีปัญหาป่วยเรื้อรังและร้ายแรง จากการหายใจ เรารู้ว่าการกู้ชีวิตคืนมานั้นไม่เป็นประโยชน์เลยในระยะยาว เราจะไปทำให้คนไข้ทรมานโดยไม่ได้อะไรขึ้นมาเลย” ดร.ธีโบด์ ซูมาญน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านปอด และทำงานที่แผนกไอซียู เมืองเบซองกอง ใกล้พรมแดนสวิส กล่าว

ด้าน ศาสตราจารย์ เรจิส โอบรี อดีตหัวหน้าสมาคมดูแลผู้ป่วยสูงอายุฝรั่งเศส SFAP ที่ทำงานในแผนกรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ในอีกโรงพยาบาลหนึ่งทางภาคตะวันออกชองฝรั่งเศส กล่าวว่า การปล่อยคนไข้ที่กำลังจะตาย โดยไม่มีญาติและเพื่อนฝูงมาดูใจ เพราะหวาดกลัวติดเชื้อไวรัส เป็นกลุ่มที่ควรได้รับความการุณให้ตายอย่างสงบเท่าที่จะทำได้

โควิด:ฝรั่งเศส

Medical staff push a gurney carrying a patient infected with COVID-19, after being taken off a train that left Paris’ Gare d’Austerlitz earlier in the day and arriving at Quimper railway station in western France on April 5, 2020 (Photo by Fred TANNEAU / AFP)

“แม้เราจะอยู่ในสถานการณ์ฉุกเฉิน เราต้องไม่ลืมความเป็นมนุษย์ด้วย” ศ.โอบรี กล่าว ขณะที่ฝรั่งเศส มียอดผู้ป่วยโควิดแล้ว 89,953 คน เสียขีวิตแล้ว 7,560 ราย ในจำนวนนี้เป็นคนแก่ตามบ้านพักคนชราไม่น้อยกว่า 2,000 ราย

สมาคม SFAP จัดตั้งสายด่วน หรือ ฮอตไลน์เพื่อแนะนำคนทำงานดูแลผู้สูงอายุตามบ้านพักคนชรา พร้อมเรียกร้อง ว่า บ้านพักคนชราเหล่านี้ควรได้รับความช่วยเหลือทางการแพทย์มากขึ้นกว่าเดิม และควรจะได้รับการผ่อนปรนกฎระเบียบในการใช้ยาบางตัวสำหรับบรรเทาอาการปวด ที่โรงพยาบาลนั้นๆ ไม่มี โดยบางพื้นที่ในประเทศจัดตั้งหน่วยบรรเทาอาการปวดขึ้นด้วย

โควิด:ฝรั่งเศส

Medical personnel tend to a woman (L) at the emergency entrance set up under a tent in the courtyard of the Henri Mondor Hospital in Creteil, in the suburbs of Paris on April 5, 2020. Photo by Philippe LOPEZ / AFP)

ดร.แบร์นาร์ เดวาลัวร์ หมอบรรเทาอาการปวด ที่เมืองบอร์โดซ์ เตือนว่า รายงานการขาดแคลนมอร์ฟีน และยามิดาโซแลม ที่ใช้ช่วยผู้ป่วยจบชีวิตอย่างสงบ เป็นเรื่องน่าวิตก เพราะทำให้ผู้ดูแลคนไข้ทรมานกับการเห็นคนหายใจไม่ออก

ดร.เดวาลัวร์ กล่าวด้วยว่าการหายใจลำบากที่เป็นอาการของโควิด-19 ทำให้คนไข้ทุกข์ทรมาน และจำเป็นต้องได้รับยาลดเครียด เช่น อัลพราโซแลม หรือ ซาแน็กซ์ ในขณะที่คนไข้ยังพอกินยาเองได้ แต่หากอาการหนักถึงขั้นหายใจไม่ออกแล้ว ควรจะต้องฉีดยาเข้าเส้นเพื่อให้สลบไป

Doctors tend to a patient arriving on a wheelchair at the reception of the Emergency Room / AFP) (Photo by BERTRAND GUAY/AFP via Getty Images)

ดังนั้นเจ้าหน้าที่ควรจะขอร้องให้แผนกเภสัชกรรมของโรงพยาบาล ส่งยาแบบมิดาโซแลมให้กับบ้านพักคนชรา ซึ่งปกติแล้วจะไม่ได้มียาดังกล่าว แต่ตอนนี้ต้องมีเพื่อให้คนไข้ไม่ต้องเสียชีวิตอย่างทรมานเป็นที่สะเทือนใจ

ศาสตราจารย์ โคลด ฌองเดล เป็นอีกคนที่เห็นด้วยว่า ผู้ดูแลคนชราจำเป็นต้องมียาที่ได้รับคำแนะนำจากสมาคม SFAP เพื่อไว้รับมือกับคนไข้สูงอายุที่ไม่ได้ไปโรงพยาบาล ได้มีโอกาสสิ้นใจอย่างสงบที่บ้านพักคนชรา

……

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง : โควิด:สหรัฐ ตายแซงจีน ฝรั่งเศสด้วย

 

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน