40ปีนองเลือดที่กวางจู เผด็จการส่งทหารปราบประชาชน ใส่ร้ายเป็นกบฏ

40ปีนองเลือดที่กวางจูเอเอฟพี รายงานบทความพิเศษ เนื่องในวาระครบรอบ 40 ปี เหตุการณ์ลุกฮือของประชาชนที่เมืองกวางจู (ควังจู) ภาคใต้ของประเทศ เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยและต่อต้านเผด็จการชุน ดูฮวาน ลงเอยด้วยการถูกทหารใช้กำลังปราบปรามจนมีผู้เสียชีวิตราว 165 ราย หลายคนยังหาศพญาติไม่พบ กลายเป็นแผลเป็นทางการเมืองของประเทศมาจนถึงทุกวันนี้

 

ชเว จุง-จา เป็นคนหนึ่งที่ไม่ได้พบหน้าสามีมา 40 ปีแล้ว ตั้งแต่สามีหายไปในเหตุการณ์ดังกล่าวซึ่งเริ่มต้นวันที่ 18 พ.ค. เมื่อผู้นำจอมเผด็จการประกาศกฎอัยการศึกให้กองทัพใช้กำลังปราบปรามผู้ประท้วง ก่อนเหตุการณ์ปิดฉากลงวันที่ 27 พ.ค. รวมเวลาวิกฤตนองเลือด 10 วัน

40ปีนองเลือดที่กวางจู

จุง คียอง ถือภาพพ่อ นั่งอยู่ข้างๆ นางชเว จุงจา แม่ ขณะเปิดใจกับผู้สื่อข่าวที่บ้านในเมืองกวางจู ถึงเหตุการณ์ที่ทิ้งรอยแผลทางใจไว้ใหเครอบครัว Photo by Ed JONES / AFP) / TO GO WITH SKorea-politics-democracy-NKorea,FOCUS by Claire LEE

วันดังกล่าว สามีของนางชเว ขณะนั้นมีอายุ 43 ปี ออกจากบ้านในเมืองกวางจูเพื่อหาซื้อน้ำมันเป็นเชื้อเพลิงเครื่องทำความร้อน แต่ไม่กลับมาอีกเลย

หลังการปะทะยุติลง นางชเวออกค้นหาสามีด้วยใจร้อนรน แม้แต่ไปเปิดดูโลงศพที่คลุมด้วยธงชาติเกาหลีเปื้อนเลือดเรียงรายตามท้องถนน

นายชเว จุงฮวา ผู้สูญหายในเหตุการณ์นองเลือดที่เมืองกวางจู เมื่อ 40 ปีก่อน (Photo by Ed JONES / AFP) / TO GO WITH SKorea-politics-democracy-NKorea,FOCUS by Claire LEE

“ฉันทำต่อไปไม่ไหว หลังจากเปิดโลงที่สามดู ใบหน้าคนเหล่านั้นอาบไปด้วยเลือด ไม่อาจจะบรรยายออกมาได้ เป็นใบหน้าที่ดูไม่ออกเลยว่าใครเป็นใคร” นางชเวกล่าว และว่าตั้งแต่นั้นมาต้องกินยาระงับอาการชอกช้ำทางใจ และเหมือนถูกสาป เมื่อเห็นหน้าชุน ดูฮวานทางโทรทัศน์

40ปีนองเลือดที่กวางจู

การชุมนุมใหญ่เดือนพฤษภาคม 2523 ที่เมืองกวางจู (Photo by Handout / 5.18 Memorial Foundation / AFP) /

รายงานหลายชิ้นระบุตรงกันว่าผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ดังกล่าวถูกฝังทั้งบนบกและทิ้งในน้ำ
ข้อมูลอย่างเป็นทางการ ระบุว่า มีผู้เสียชีวิตประมาณ 160 คน รวมทั้งทหารและตำรวจ และมีผู้สูญหายอีก 70 คน แต่นักเคลื่อนไหวคาดว่าน่าจะมีผู้เสียชีวิตมากกว่านั้นสามเท่า

แต่หลังจากเหตุนองเลือด กองทัพยังคงปกครองประเทศอีก 8 ปี และทำลายหลักฐานทิ้ง

40ปีนองเลือดที่กวางจู

This undated handout photo taken in May 1980 (Photo by Handout / 5.18 Memorial Foundation / AFP)

เมื่อปี 2562 มีผู้พบชิ้นส่วนศพราว 40 ราย ตรงสถานที่ที่เคยเป็นเรือนจำในกวางจู ญาติๆ ของผู้สูญหาย 242 คนจึงมีความหวังอีกครั้งและนำตัวอย่างดีเอ็นเอไปมอบให้ตรวจสอบเผื่อจะพบศพญาติเสียที

ญาติผู้สูญเสียคนหนึ่งที่เข้ากระบวนการนี้คือ นางชา โช-กัง วัย 81 ปี ผู้สูญเสียลูกชายไปหลังจากออกไปขายกระเทียมที่ตลาดในเมือง ขณะอายุ 19 ปี

40ปีนองเลือดที่กวางจู

ภาพแม่สูญเสียลูกที่น่าสะเทือนใจ เมื่อ 23 พ.ค.2523 This handout photo taken on May 23, 1980 (Photo by Handout / 5.18 Memorial Foundation / AFP)

ชากล่าวว่าสามีเสียชีวิตไปเมื่อ 3 ปีก่อน ความปรารถนาครั้งสุดท้ายของสามีคือพบศพของลูกชาย ก่อนที่จะเสียชีวิตและตอนนี้

“ฉันมีความหวังขึ้นมาบ้างแล้ว แต่ไม่รู้ว่าจะสมหวังหรือไม่” หญิงชรากล่าว

แม้เหตุการณ์ผ่านมา 40 ปีแล้ว แต่กลุ่มนิยมขวายังคงกล่าวหาว่าการลุกฮือของฝูงชนครั้งนั้นมีพวกกบฏที่คอมมิวนิสต์เกาหลีเหนือหนุนหลัง ตรงกับที่เผด็จการชุน ดู ฮวาน อ้างเหตุเกาหลีเหนือกล่าวหาผู้ชุมนุมเป็นกบฏ และพยายามจะเล่นงาน นายคิม แด-จุง ผู้นำฝ่ายค้านในตอนนั้น เป็นผู้ปลุกระดมให้มวลชนเข้าพวกกับฝ่ายเกาหลีเหนือ

ญาติร่ำไห้อาลัย เมื่อ 23 พ.ค.2523 This handout photo taken on May 23, 1980 a (Photo by Handout / 5.18 Memorial Foundation / AFP)

คิม แดจุง ถูกจับกุมและต้องโทษประหาร แต่นานาชาติกดดันเกาหลีใต้อย่างหนัก ทำให้ได้รับสิทธิให้ลี้ภัยไปยังสหรัฐอเมริกา ก่อนกลับมาได้รับการเลือกตั้งให้เป็นประธานาธิบดีในปี 2541 หลังจากปฏิรูปประชาธิปไตยและส่งเสริมสันติภาพกับเกาหลีเหนือ ทำให้คิม แดจุง ได้รับรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพในปี 2543

ส่วนชุนถูกตัดสินว่ามีความผิดฐานก่อกบฏในกวางจูและติดสินบน ถูกต้องโทษแขวนคอ ภายหลังประธานาธิบดีอภัยโทษให้ จึงได้รับการปล่อยตัว แต่ยังยืนกรานว่าไม่ได้ข้องเกี่ยวกับการสังหารหมู่

ผู้ประท้วงทำหุ่นเผด็จการ ชุน ดูฮวาน เดินขบวนไปที่หน้าบ้านในกรุงโซล เมื่อ 16 พ.ค.2563 (Photo by Ed JONES / AFP) / TO GO WITH SKorea-politics-democracy-NKorea,FOCUS by Claire LEE

ด้านผู้นำคนปัจจุบัน มุน แจ-อิน ช่วงเกิดเหตุนองเลือดที่กวางจู เขาเป็นนักศึกษาที่เข้าร่วมการต่อต้านเผด็จการด้วย ปัจจุบัน นายมุนจึงสั่งการให้เจ้าหน้าที่ฟื้นการสอบสวนเหตุการณ์นี้อย่างจริงจัง ทั้งคิดจะบรรจุประวัติศาสตร์นี้ไว้ในรัฐธรรมนูญ

แต่นายมุนก็ถูกฝ่ายขวาพยายามสร้างภาพให้ว่าเป็นคนที่เห็นอกเห็นใจเกาหลีเหนือ อันเป็นประเด็นที่ทำให้คนในสังคมเกาหลีใต้ แบ่งแยกแตกขั้วมาโดยตลอด

ประธานาธิบดี มุน แจอิน เป็นประธานในพิธีรำลึกครบ 40 ปี เหตุนองเลือดที่กวางจู เมื่อ 18 พ.ค.2563 (Photo by JUNG YEON-JE / POOL / AFP)

ศาสตราจารย์ฮานส์ โมสเลอร์ จากมหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยดุยสบวร์ก-เอสเซิน กล่าวว่า เหตุการณ์กวางจูถูกใช้มาทำลายความน่าเชื่อของคนที่เป็นเสรีนิยม และเชื่อมโยงว่าพวกเสรีนิยมเป็นปิศาจร้ายเกาหลีเหนือ

“เกาหลีเหนืออยู่ใจกลางยุทธศาสตร์ของการแบ่งฝ่ายในเกาหลีใต้” นายโมสเลอร์ให้ความเห็น

This photo taken on May 14, 2020 shows visitors paying their repspects at the May 18 National Cemetery for victims of the Gwangju pro-democracy movement, in Gwangju. (Photo by Ed JONES / AFP)

พรรคประชาธิปไตยแห่งเกาหลีของนายมุนชนะการเลือกตั้งเมื่อเดือนก่อนอย่างถล่มทลายและเมื่อเกิดเหตุการณ์ไวรัสโคโรนายพันธุ์ใหม่ระบาด ก็ได้รับความนิยมล้นหลามเพราะจัดการสถานการณ์ได้ดี ยกเว้นที่เมืองแทกู ศูนย์กลางที่ไวรัสระบาด และฐานที่มั่นของฝ่ายขวา พรรคนายมุนไม่ได้แม้แต่เก้าอี้เดียว

++++

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง :

ผู้นำโสมใต้หลั่งน้ำตา สั่งรื้อคดีใครสั่งทหารยิงผู้ประท้วง เหตุสังหารหมู่กวางจู เกิน 200 ชีวิต

กองทัพเกาหลีขอโทษแล้ว ทหารข่มขืนนศ.ต้านรัฐประหาร ‘กวางจู1980’

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน