พลิกวิกฤต จับตั๊กแตกอาละวาด ขายเป็นอาหารให้ไก่ โปรตีนชั้นดี

พลิกวิกฤต จับตั๊กแตกอาละวาดเอเอฟพี รายงานว่า รัฐบาลปากีสถานแก้ไขปัญหาตั๊กแตน อาละวาดกัดกินทำลายพืชไร่ จนเกษตรกรเดือดร้อนอย่างหนัก ด้วยการสนับสนุนให้เกษตรกรและชาวบ้านช่วยกันจับตั๊กแตนมาทำเป็นอาหารสัตว์ ถือเป็นแหล่งโปรตีนชั้นดีสำหรับไก่

 

นายอิมราน ข่าน นายกรัฐมนตรีปากีสถาน ริเริ่มโครงการนำร่องในรัฐปัญจาบ ให้ประชาชนจับตั๊กแตนทะเลทรายมาตากแห้งและบดเพื่อนำมาผสมอาหารเลี้ยงไก่ หลังจากเกษตรกรพยายามกำจัดตั๊กแตนที่ปั่นป่วนพืชไร่ปากีสถานมานาน 25 ปีแล้ว ส่งผลให้รายได้เกษตรกรฐานะยากจน ผลผลิตยิ่งลดน้อยลง

พลิกวิกฤต จับตั๊กแตกอาละวาด

มูฮัมหมัด เคิร์ดชิด เจ้าหน้าที่กระทรวงอาหารและโจฮาร์ อาลิ นักไบโอเทค คิดโครงการดังกล่าวขึ้นมา โดยเห็นต้นแบบจากเยเมน ประเทศที่ตกอยู่ในสงครามทำให้รัฐบาลแนะนำให้ประชาชนหันไปรับประทานตั๊กแตนซึ่งมีโปรตีนสูง ท่ามกลางภาวะการขาดแคลนอาหาร

นักวิจัยทั้งคู่เลือกเขตโอการา ในรัฐปัญจาบ เพราะเกษตรกรที่นี่ไม่ได้ใช้ยาฆ่าแมลงจึงปลอดภัยสำหรับการบริโภค เริ่มจากการสอนให้เกษตรกรรู้จักการจับตั๊กแตน จะใช้ตาข่ายจับไม่ได้ ต้องอาศัยเวลากลางคืน ฝูงตั๊กแตนจะมาเกาะต้นไม้และพืช จึงง่ายต่อการ “ตัก” เพราะพวกมันอยู่นิ่งๆ ท่ามกลางอากาศเย็น จนกระทั่งแสงอาทิตย์เริ่มจับขอบฟ้า

พลิกวิกฤต จับตั๊กแตกอาละวาด

A farmer displaying a locust in Okara district in eastern Pakistan’s Punjab province. Locust attack on crops incurred heavy financial losses to farmers in some areas of the country. (Str/Xinhua)

แม้โครงการนี้ไม่ประสบความสำเร็จในคืนแรก แต่เมื่อล่วงเข้าสู่คืนที่ 3 มีเกษตรกรหลายร้อยคนมาจับตั๊กแตนจนเต็มกระสอบกันทุกคน เกษตรกรได้เงินค่าจับตั๊กแตน 20 รูปี หรือประมาณ 4 บาท ต่อ 1 กิโลกรัม ชาวบ้านจึงจับกันทั้งคืน

เกษตรกรหญิงคนหนึ่ง ซึ่งถูกตั๊กแตนกัดกินพืชผลการเกษตรจนหมด กล่าวว่าได้เงินเลี้ยงลูก 1,600 รูปี หรือ ประมาณ 320 บาท จากการจับตั๊กแตนเพียงครั้งเดียว ถือว่าชดเชยผลผลิตที่สูญเสียไป

อย่างไรก็ตาม เมื่อเกษตรกรจับตั๊กแตนได้ 20 ตัน จึงเกินงบประมาณที่รัฐบาลจะจ่ายให้ได้ โครงการนี้จึงระงับไปและกำลังพิจารณาขยายเวลานี้ในพื้นที่อื่นๆ

พลิกวิกฤต จับตั๊กแตกอาละวาด

ตั๊กแตนเปลี่ยนโฉมหน้าอาหารไก่

บริษัทผลิตอาหารไก่ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในปากีสถาน หันมาใช้ตั๊กแตนแทนถั่วเหลืองประมาณร้อยละ 10 มูฮัมหมัด อาธาร์ ผู้จัดการทั่วไปกล่าวว่าตั๊กแตนเป็นแหล่งโปรตีนที่ดี หลังจากทดลองให้ไก่ 500 ตัวกิน

โครงการให้ไก่กินตั๊กแตน อาจไม่ได้เป็นการแก้ปัญหาตั๊กแตนทำลายพืชผลการเกษตร แต่ช่วยเยียวยาเกษตรกรให้พอมีรายได้บ้างและช่วยลดความกดดันที่เจ้าหน้าที่ในการกระจายยาฆ่าแมลงให้เกษตรกร

ตั๊กแตนอาละวาดที่เยเมน A swarm of locusts are seen in the air as they arrive at a cultivation area in Dhamar province, Yemen, June 6, 2020. (Photo by Mohammed Mohammed/Xinhua)

ตั๊กแตนบุกกินพืชผลการเกษตรทั่วแอฟริกาตะวันออก คาบสมุทรอาระเบีย และพื้นที่บางส่วนของอินเดีย ส่วนปากีสถานต้องประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินและร้องขอความช่วยเหลือจากนานาชาติ หลังจาก กล้วย มะม่วง พืชผักชนิดต่างๆ ถูกทำลายเรียบ ทำให้เกรงว่าจะเกิดปัญหาขาดแคลนอาหาร ขณะที่ข้าวสาลีและฝ้ายเป็นแหล่งรายได้หลักอย่างหนึ่งของปากีสถาน

A farmer shows dead locusts found in his field as locust swarms currently plague large zones in the country at Badra Sonauti village on the outskirts of Allahabad on June 10, 2020. (Photo by SANJAY KANOJIA / AFP)

องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ ประเมินว่าปากีสถานอาจสูญเสียเงิน 5,000 ล้านดอลลาร์หรือประมาณ 160,000‬ ล้านบาท หากพืชผลการเกษตรถูกทำลายเสียหาย

ยิ่งไปกว่านี้ การที่เก็บเกี่ยวผลผลิตได้น้อย จะส่งผลให้ราคาถีบตัวสูงขึ้นและส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหารให้เลวร้ายยิ่งขึ้น

ขณะที่โครงการอาหารโลกระบุว่าประชากรปากีสถานประมาณร้อยละ 20 ขาดแคลนอาหาร เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี จำนวนเกือบครึ่งหนึ่งหนึ่งแคระแกร็น

++++

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง :

โดรน-รถดับเพลิงพ่นๆฉีดๆ อินเดียปราบฝูงตั๊กแตนทะเลทราย บุกหนักสุดรอบ 30 ปี

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน