เนปาลพบครั้งแรก – วันที่ 20 ส.ค. เพนนิวส์ รายงานการค้นพบ เต่าสีทอง ที่หมู่บ้านทางตะวันออกเฉียงใต้ของเนปาล ถือเป็นเต่าสีทองตัวแรกที่มีการค้นพบในประเทศ

กามัล เทวโกตา ผู้เชี่ยวชาญสัตว์เลื้อยคลาน สมาคมพิษวิทยาเนปาล ผู้บันทึกข้อมูลการค้นพบ ระบุว่า เต่าสีทองพราวมีความสำคัญจิตวิญญาณอย่างลึกซึ้ง ทั้งคุณค่าศาสนา และวัฒนธรรมในเนปาล และได้รับการบูชาตามหลายวัดในอินเดีย

ด้วยความเชื่อตามตำนานฮินดูว่า พระวิษณุ จุติลงมาเกิดเป็นเต่าทองที่มีชื่อ กุมาร เพื่อไม่ให้จักรวาลถูกทำลาย กระดองส่วนบนของเต่าทองหมายถึง ฟ้า ส่วนกระดองส่วนล่างหมายถึง ดิน

อย่างไรก็ตาม เทวโกตาอธิบายในแง่วิทยาศาสตร์ว่า เต่าสีทองเกิดจาก ภาวะด่าง จากการสูญเสียเม็ดสี ปกติส่งผลให้ผิวหนังสัตว์มีสีขาวหรือซีด แต่เต่าตัวนี้มีสีทองเนื่องจาก แซนโตโฟร (xanthophores) เซลล์เม็ดสีเหลือง มีความโดดเด่นขึ้นมา

“นี่เป็นครั้งแรกที่เนปาลบันทึกการค้นพบภาวะด่างในเต่าตัวนี้ หรือในชื่อวิทยาศาสตร์ lissemys punctata andersoni (ตะพาบหับอินเดีย) และเป็นเพียงตัวที่ห้าทั่วโลก” เทวโกตากล่าว ส่วนเต่าสีทองต่อมาถูกปล่อยกลับสู่ธรรมชาติ แม้ว่าโอกาสอยู่รอดจะน้อยกว่าตัวอื่นๆ

 

เนื่องจากสีทองของมันยากต่อการพรางตัวในสภาพแวดล้อมเขียวขจีและในน้ำ ต่างจากตะพาบหับตัวอื่นที่มีสีเข้มๆ อีกทั้ง เป็นสัตว์ราคาแพงในตลาดการค้าสัตว์เลี้ยง

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน