เรียนรู้ความขมขื่น ญี่ปุ่นจัดทริปพานักเรียนดูพื้นที่ชอกช้ำภัยพิบัติสึนามิ

เรียนรู้ความขมขื่นเอ็นเอชเค รายงานว่า จุดหมายปลายทางทัศนศึกษาประจำปีของนักเรียนญี่ปุ่นในปีนี้ เปลี่ยนจากกรุงโตเกียวและเมืองเกียวโต เป็นพื้นที่ประสบมหาภัยพิบัติแผ่นดินไหว-สีนามิ เมื่อปี 2554

 

หลายโรงเรียนยกเลิกการเดินทางไปทัศนศึกษาในสองเมืองใหญ่ของประเทศเนื่องจากมีการระบาดของโควิด-19 ครูจึงหันไปเลือกเส้นทางทัศนศึกษาใกล้บ้าน เช่น ที่จังหวัดอิวาเตะ พื้นที่หนึ่งที่ถูกสึนามิซัดถล่มทางตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อ 11 มีนาคม 2554

เปลี่ยนแผน

นักเรียนมัธยมฯ ต้น โรงเรียนมุโรเนะ ตั้งอยู่ลึกเข้าไปในจังหวัดอิวาเตะ ไม่ค่อยมีโอกาสได้เห็นทะเล แต่ปีนี้มีโอกาสได้ไปศึกษาทริปพิเศษภายในจังหวัดของตนเองที่บริษัทการรถไฟซันริกุ พาเด็กๆ ไปดูพื้นที่ที่เคยประสบหายนะตามแนวชายฝั่งจากคลื่นยักษ์

เรียนรู้ความขมขื่น

คุณครูซูซึกิ ชิโฮะ Two days before the trip, Suzuki Shiho explains why her students will be visiting the disaster-hit areas.

ซูซึกิ ชิโฮะ ครูผู้จัดการทริปนี้ กล่าวว่าสอนนักเรียนให้รู้จักภัยพิบัติทางธรรมชาติแค่ในห้องเรียนมานานหลายปี เพราะตารางเรียนแน่นมากจนหาเวลาพานักเรียนไปชายทะเลไม่ได้ แต่การระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้มีโอกาสพิเศษเช่นนี้ แทนที่จะไปกรุงโตเกียว กลับได้มาเก็บเกี่ยวประสบการณ์จังหวัดชายทะเลแทนเพื่อเรียนรู้ภัยธรรมชาติ

เรียนรู้การฟื้นฟู

บริษัทซันริกุ เริ่มจัดการศึกษาดูงานมาตั้งแต่ปี 2555 รางรถไฟและสถานีรถไฟล้วนเสียหายอย่างหนักจากสึนามิ แต่ซ่อมแซมแล้วเสร็จภายใน 5 วันต่อมา และกลายเป็นสัญลักษณ์แห่งความหวังของชาวบ้าน

เรียนรู้ความขมขื่น

เด็กๆ นั่งรถไฟไปยังพื้นที่เคยประสบภัย / NHK

ยามากาเสะ ยาซุอากิ เป็นมัคคุเทศก์ ให้กับเด็กๆ โรงเรียนมุโรเนะ ชี้ให้นักเรียนดูถึงการฟื้นฟูพัฒนาพื้นที่ที่เสียหาย รวมทั้ง ถนน ซึ่งตนคิดว่าคงต้องใช้เวลาอีก 2 ปีกว่าจะซ่อมเสร็จ

ทัศนศึกษาครั้งนี้ช่วยให้นักเรียนเข้าใจพื้นที่ชายหาดจากการสัมผัสของจริงซึ่งกำลังบูรณะซ่อมแซมมาเกือบ 10 ปีแล้ว

เรียนรู้ความขมขื่น

เด็กนักเรียนเข้าชมพิพิธภัณฑ์รำลึกเหตุการณ์สึนามิที่จังหวัดอิวาเตะ / NHK

ความทรงจำอันขมขื่น

จุดหมายต่อมา นักเรียนไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์สึนามอิวาเตะซึ่งเปิดให้เข้าชมตั้งแต่เมื่อ ก.ย. 2562

ครูซุซุกิไม่ได้เป็นคนเดียวที่คิดถึงความสำคัญของการสอนให้เด็กๆ รู้จักภัยพิบัติเพราะมีโรงเรียนอีกกว่า 60 แห่งที่พานักเรียนไปทัศนศึกษาที่นี่เมื่อเดือน ต.ค. มากกว่าปีที่แล้ว 6 เท่า

ความเสียหายที่จังหวัดอิบารากิ เมื่อ 11 มี.ค. 2554 / In this photo taken Friday, March 11, 2011, an aerial view shows vehicles washed away by an earthquake triggered tsunami in Hitachinaka, Ibaraki prefecture, Japan. The country’s biggest recorded earthquake slammed into its eastern coast Friday. (AP Photo/The Yomiuri Shimbun, Atsushi Taketazu)

คุมากาอิ มาซาโนริ รองผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ กล่าวว่า สึนามิเกิดขึ้นมาเกือบ 10 ปีแล้ว เด็กๆ บางคนไม่รู้จักด้วยซ้ำว่าคืออะไรจึงจำเป็นต้องเข้าใจชีวิตและเรียนรู้การป้องกันภัยพิบัติตั้งแต่ยังเด็กซึ่งเรามีศักยภาพที่จะสอนได้

ซุซุกิให้เด็กๆ ดูภาพยนตร์ที่เกี่ยวกับสึนามิที่มีภาพสะเทือนใจ แต่ได้รับอนุญาตจากพ่อแม่และผู้ปกครองแล้ว

นักเรียนชมวิดีโอบันทึกเหตุการณ์ ความยาว 7 นาที ที่พิพิธภัณฑ์ The museum features a seven-minute video of the tsunami hitting the coastal region. / NHK

เอ็นโดะ เรียวตะ เด็กชายวัย 14 ปี กล่าวว่า ทุกสิ่งเกิดขึ้นได้ในธรรมชาติซึ่งน่ากลัวมาก ยังจำได้ดีว่าถนนหนทางในเมืองริมทะเลซึ่งคุณตาเคยอาศัยอยู่มีสภาพการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรหลังจากเกิดสึนามิ

ส่วนโอยามะ คิระ วัย 15 ปี อยู่ในจังหวัดที่ไม่ติดทะเล จึงไม่มีประสบการณ์ตรงเกี่ยวกับสึนามิ แต่จำได้ว่าวันนั้นเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่และไม่ใช้ไฟฟ้าใช้

โอยามะ คิระ (ขวา) มีโอกาสเรียนรู้ภัยจากสึนามิ / NHK

โอยามะกล่าวว่าประสบการณ์นี้จะช่วยให้คนและคนอื่นๆ เข้าใจความหายนะและตนก็ได้เรียนรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างระหว่างการระบาดไวรัส ซึ่งเป็นโอกาสดีในการเรียนรู้

เรียนรู้ใกล้บ้าน

“นักเรียนบางคนบอกฉันว่านี่เป็นทริปที่มีความหมายมาก เราเห็นเศษเสี้ยวของโลกอยู่ตรงหน้าและตนคิดว่าเป็นโอกาสดีที่จะได้เรียนรู้พื้นที่ชายฝั่งที่อยู่ไม่ใกล้ ไม่ไกลจนเกินไป” คุณครูซูซึกิ กล่าว

กรุงโตเกียวอาจจะเป็นเมืองที่น่าไปกว่าก็จริง แต่การได้อยู่ใกล้บ้าน ทำให้ครูซุซุกิและนักเรียนได้รับประสบการณ์ที่ดีและจะไม่ลืมอย่างรวดเร็วนัก

////////

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง : งานรำลึก9ปีมหันตภัยสึนามิ คร่าหมื่นชีวิต ยังต้องหลบโควิดระบาด

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน