จีนชี้ไปที่อินเดีย ต้นตอโควิด เกิดตรงช่วงคลื่นความร้อน สัตว์ป่าแย่งชิงน้ำมนุษย์

จีนชี้ไปที่อินเดียเดลีเมล์ รายงานว่า ทีมวิจัยสถาบันวิทยาศาสตร์จีน หรือ Chinese Academy of Sciences กล่าวอ้างการค้นคว้าว่า ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ที่ทำให้ป่วยโรคโควิด-19 ไปทั่วโลกนี้ มีต้นตอมาจากอินเดีย ช่วงเกิดคลื่นความร้อน กลางปี 2562

นักวิจัยจีนสันนิษฐานว่า เชื้อข้ามจากสัตว์มาสู่มนุษย์ เพราะการปนเปื้อนในแหล่งน้ำที่อินเดีย จากนั้นเชื้อเดินทางมาโดยไม่เป็นที่สังเกตและปรากฏที่เมืองอู่ฮั่นของจีนเป็นทีี่แรก

เจ้าหน้าที่ตรึงกำลังหน้าสถานีรถไฟ ช่วงอู่ฮั่นเริ่มเปิดเมือง 8 เม.ย.2563 / Members of security forces stand guard at the Hankou Railway Station in Wuhan as travel restrictions for leaving the city, the epicentre of a global coronavirus disease (COVID-19) outbreak, are lifted and people will be allowed to leave the city via road, rail and air, in Wuhan, Hubei, China April 8, 2020. REUTERS/Aly Song

การศึกษานี้ใช้การวิเคราะห์ที่เรียกว่า phylogenetic analysis หรือการวิเคราะห์พัฒนาการของสิ่งมีชีวิต และดูว่าไวรัสกลายพันธุ์อย่างไร เพื่อแกะรอยต้นตอโควิด

ผลจากการศึกษาอ้างว่า ใช้การค้นคว้าหาต้นตอไวรัสที่มีการกลายพันธุ์น้อยที่สุด จากสมมติฐานว่าไวรัสเหมือนเซลล์ เมื่อมันผลิตแซลล์ใหม่ มันจะกลายพันธุ์ และอู่ฮั่นไม่ใช่ตัวที่กลายพันธุ์น้อยที่สุด

โควิด

A computer image created by Nexu Science Communication together with Trinity College in Dublin, shows a model structurally representative of a betacoronavirus which is the type of virus linked to COVID-19, better known as the coronavirus linked to the Wuhan outbreak, shared with Reuters on February 18, 2020. NEXU Science Communication/via REUTERS

รายงานระบุว่า ครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่จีนชี้นิ้วโยนไปว่า ไวรัสมีต้นตอจากประเทศอื่น เช่น สหรัฐอเมริกา หรือ อิตาลี ไม่ใช่จีน และล่าสุดนี้ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับอินเดียก็ไม่ค่อยดีนัก เนื่องจากความขัดแย้งตรงพรมแดนแถบเทือกเขาหิมาลัย

นักวิจัยจีนชี้ว่า ไวรัสเหมือนกับเซลล์ทั้งปวง คือจะกลายพันธุ์เมื่อมีการสร้างใหม่ในแต่ละครั้ง ซึ่งจะการเกิดการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยภายในดีเอ็นอ ดังนั้นจึงเป็นไปได้ที่จะแกะรอยหาไวรัสต้นตอเป็นตัวที่มีการกลายพันธุ์น้อยที่สุด

เมื่อศึกษาด้วยวิธีนี้ จึงพบว่า ไวรัสที่อู่ฮั่นไม่ใช่ต้นตอ แต่เป็นอีก 8 ประเทศที่ต้องสงสัย คือ บังกลาเทศ สหรัฐอเมริกา กรีซ ออสเตรเลีย อินเดีย อิตาลี เช็ก รัสเซีย และเซอร์เบีย จากนั้นเมื่อศึกษาเจาะลึกลงไปอีก พบว่าตัวอย่างเชื้อของอินดียและบังกลาเทศมีการกลายพันธุ์ต่ำที่สุด และเมื่อพิจารณาจากการเป็นประเทศเพื่อนบ้านทางภูมิศาสตร์ จึงเป็นไปได้มากที่สุดว่า จุดกำเนิดแรกอยู่ในอินเดีย

ประเทศที่ผลศึกษาของจีนระบุว่า ต้องสงสัยเป็นต้นตอไวรัสโคโรนา / Dailymail

เมื่อประเมินช่วงเวลาที่ไวรัสเริ่มกลายพันธุ์ โดยเปรียบเทียบไวรัสที่กลายพันธุ์แล้ว กับตัวอย่างไวรัสที่นั่น พบว่าความสอดคล้องกับทฤษฎีที่ว่าไวรัสเริ่มปรากฏเดือนกรกฎาคม 2019 (พ.ศ.2562)

ย้อนเวลาไปก่อนหน้านั้นเล็กน้อย จะพบว่าเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน 2019 เป็นช่วงเกิดคลื่นความร้อนปกคลุมอินเดียภาคเหนือตอนกลาง และปากีสถาน ยาวนานที่สุด ตอนนั้นเกิดวิกฤตน้ำร้ายแรงในภูมิภาค การขาดแคลนน้ำทำให้สัตว์ป่า เช่น ลิง เกิดการต่อสู้กันเพื่อแย่งน้ำกับมนุษย์ จึงเป็นจุดที่เพิ่มโอกาสให้เชื้อโรคจากสัตว์ป่าข้ามสู่มนุษย์ในที่สุด

ภาวะคลื่นความร้อนเป็นสถิติ เมื่อปี 2019

“เรามีข้อสังเกตว่าการแพร่เชื้อ SARS-CoV-2 จากสัตว์มายังมนุษย์ เชื่อมโยงกับช่วงเวลาเกิดคลื่นความร้อนที่ผิดปกติ ประจวบกับที่ระบบสาธารณสุขอินเดียไม่ดีนัก และประชากรกลุ่มวัยรุ่นไม่แสดงอาการป่วยโควิดออกมา จึงเปิดทางให้ไวรัสแพร่ระบาดโดยไม่เป็นที่สังเกตมานานหลายเดือน ไปยังหลายประเทศ ก่อนวกมาถึงจีน ซึ่งเป็นไปได้ว่ามาจากยุโรป ดังนั้นการระบาดในอู่ฮั่นจึงเป็นเพียงเส้นทางหนึ่งเท่านั้น”

อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์อื่นๆ ไม่ได้เห็นด้วยกับผลงานศึกษาของจีน

จีนชี้ไปที่อินเดีย

A medical staff (R) wearing personal protective equipment (PPE) collects a nasal swab with a rapid antigen test (RAT) for the COVID-19 coronavirus at a testing centre after the government eased a nationwide lockdown as a preventive measure against the COVID-19 coronavirus, in New Delhi on June 19, 2020. (Photo by Prakash SINGH / AFP)

เช่น เดวิด โรเบิร์ตสัน จากมหาวิทยาลัยกลาสโกว์ สหราชอาณาจักร มองว่า รายงานการวิจัยชิ้นนี้ของนักวิจัยจีนมีจุดบกพร่องมากมาย และไม่ได้ให้ข้อมูลอะไรเพิ่มเติมเกี่ยวกับไวรัสโคโรนาที่นักวิทยาศาสตร์ทราบกันอยู่แล้ว

“การไปจับตัวไวรัสที่กลายพันธุ์น้อยที่สุดเป็นตัวตั้งนั้น เป็นอคติโดยแท้ แสดงว่าผู้ศึกษาไม่มองข้อมูลการสอบสวนทางวิชาการต่อการระบาดของโรคที่ปรากฏในจีนและระบาดจากที่นั่นเลย งานวิจัยนี้ไม่ช่วยให้เราเข้าใจเชื้อ SARS-CoV-2 แต่อย่างใดเลย” นายโรเบิร์ตสันกล่าว

ด้าน นายมาร์ก ซูชาร์ด ผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย สหรัฐ กล่าวกับเซาท์ ไชน่า มอร์นิง โพสต์ ว่าการเก็บตัวอย่างไวรัสตามลำดับเหตุการณ์ดูเหมือนจะมีจำนวนน้อยมากและเป็นไปตามอำเภอใจจนไม่ได้แสดงถึงแหล่งกำเนิดได้

ด้านนักวิจัยอีกคนที่อยู้ในอังกฤษ มองว่า ผลการศึกษานี้น่าสงสัยมาก ในเมื่อไวรัสปรากฏครั้งแรกในจีนเมื่อเดือนธันวาคม 2019 จากกลุ่มที่อยู่ในตลาดอาหารทะเลในอู่ฮั่น มีลักษณะการป่วยคือเป็นปอดบวม

จากนั้นเชื้อจึงระบาดไปทั่วโลก ส่วนใหญ่แพร่ผ่านทางนักท่องเที่ยว จนเกิดเป็นการระบาดใหญ่ แต่จนถึงขณะนี้กลับยังไม่ชี้ชัดว่า ผู้ป่วยคนแรก หรือ ‘patient zero’ ที่อู่ฮั่นคือใคร นั่นหมายความว่า เรายังไม่รู้เลยว่า เชื้อเริ่มปรากฏเมื่อใด และใครกันแน่คือผู้ติดเชื้อรายแรก

ด้วยความคลุมเครือนี้ จึงเกิดทฤษฎีสมคบคิดขึ้นมามากมาย และไม่มีทฤษฎีใดเลยที่พิสูจน์ยืนยันได้ องค์การอนามัยโลกจึงอยู่ภายใต้ความกดดันจากความรับผิดชอบต่อการระบาดนี้ หลังจากส่งทีมศึกษา 10 คนไปยังจีนเพื่อสอบสวน แม้จะพูดว่าเป็นไปได้ที่ไวรัสจะมีต้นตอนอกประเทศจีน และการค้นหาก็มุ่งไปที่ประเทศที่ติดกับจีน แต่ WHO ก็พยายามจะลดความคาดหวัง เมื่อบอกว่า อาจต้องใช้เวลาหลายปีกว่าจะพิสูจน์ทราบได้

ตลาดที่พบเชื้อครั้งแรกในอู่ฮั่น

กรณีไวรัส MERS นักวิทยาศาสตร์ใช้เวลานานเกินปีจึงรู้ว่ามีต้นตอมาจากอูฐในซาอุดีอาระเบีย และกรณี SARS ใช้เวลานานกว่านั้นกว่าจะพบว่ามาจากค้างคาวในถ้ำทางใต้ของจีน ส่วนรายงานศึกษาของจีนฉบับนี้ของจีนกลับเผยแพร่ก่อนที่ WHO จะเปิดเผยข้อมูลรายละเอียดที่นักวิทยาศาสตร์เข้าไปสอบสวนในจีน

//////

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง :

โดนคุมแล้วงานวิจัยต้นตอโควิด จีนต้องตรวจก่อนเผยแพร่สู่โลก

โควิด:ต้นตอเชื้อที่ห้องแล็บ ? คลิปนักวิจัยบุกถ้ำค้างคาว ตอกย้ำปริศนา

อ้างโควิดมนุษย์สร้างขึ้น นักวิจัยหญิงฮ่องกงลั่นจะโชว์หลักฐานวิทย์

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน