ป่วยใจยิ่งกว่าโควิด ทำไมผู้หญิงญี่ปุ่นแบกรับผลกระทบเกินรับไหว

ป่วยใจยิ่งกว่าโควิดซีเอ็นเอ็น รายงานกรณีศึกษาสาเหตุที่ชาวญี่ปุ่นปลิดชีวิตตนเองจากผลกระทบของโรคระบาดโควิด-19 เป็นจำนวนมากกว่าผู้ที่ป่วยตายเพราะอาการโควิด

เอริโกะ โคบายาชิ เป็นคนหนึ่งที่พยายามจบชีวิตตนเองถึง 4 ครั้ง ครั้งแรกเมื่ออายุ 22 ปี ขณะนั้น ทำงานเป็นพนักงานประจำในบริษัทสิ่งพิมพ์ซึ่งรายได้ไม่พอจ่ายค่าเช่าห้องและข้าวของเครื่องใช้ในกรุงโตเกียว

ป่วยใจยิ่งกว่าโควิด

เอริโกะ โคบายาชิ / CNN

“ฉันยากจนจริงๆ” เอริโกะ ปัจจุบันอายุ 43 ปี เล่าย้อนถึงช่วงวิกฤต และว่าตอนนั้นมีผู้พบเห็นส่งตัวไปรักษาที่โรงพยาบาล ตนเองหมดสติไป 3 วัน

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง : ญี่ปุ่นวิกฤตสุขภาพจิต ยอดดับแซงโควิด-19 วัฒนธรรมชายเป็นใหญ่ซ้ำเติม

หญิงสาวเคยเขียนหนังสือเกี่ยวกับการต่อสู้กับปัญหาด้านจิตใจและทำงานที่มั่นคงกับองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร แต่การระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้กลับไปเครียดหนักเหมือนที่เคยเป็น

“เงินเดือนถูกลดลง ฉันมองไม่เห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ ฉันสัมผัสความรู้สึกได้จริงๆ ว่าฉันอาจจะกลับไปจนเหมือนเดิม” เอริโกะ กล่าว

ป่วยใจยิ่งกว่าโควิด

A woman wearing a protective mask, following the coronavirus disease (COVID-19) outbreak, walks past Christmas decorations at a restaurant district in Tokyo, Japan, November 25, 2020. REUTERS/Kim Kyung-Hoon

ผู้เชี่ยวชาญหลายคนเตือนว่าการระบาดอาจทำให้เผชิญกับวิกฤตสุขภาพจิต การเลิกจ้างพนักงานจำนวนมาก การแยกตัวจากสังคมและความกังวลเข้าครอบงำผู้คนทั่วโลก

ส่วนสำนักงานตำรวจญี่ปุ่นรายงานสถิติการทำอัตวินิบาตกรรมว่าเดือน ต.ค. มีจำนวนคนฆ่าตัวตายมากกว่าที่เสียชีวิตจากโรคโควิด-19 ตั้งแต่เริ่มมีการระบาดเสียอีก กล่าวคือ 2,153 ราย เทียบกับยอดผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 ตั้งแต่เชื้อเริ่มต้นระบาด 2,087 ราย

ญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศเศรษฐกิจชั้นนำของโลกที่เปิดเผยข้อมูลการฆ่าตัวตายที่ปรับปรุงข้อมูลเท่าทันปัจจุบัน เทียบกับสหรัฐอเมริกา ซึ่งเปิดเผยข้อมูลล่าสุดเมื่อปี 2561

กราฟแสดงอัตราการฆ่าตัวตายของชาวญี่ปุ่นที่สูงขึ้นในเดือนตุลาคม / CNN

ข้อมูลของญี่ปุ่นจะทำให้ประเทศต่างๆ เห็นถึงผลกระทบด้านสุขภาพจิตที่มีผลจากการระบาดของโรคโควิด-19 และกลุ่มใดที่มีความเสี่ยงสูงที่สุด

มิชิโกะ อูเอดะ ผู้ช่วยศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยวาเซดะและผู้เชี่ยวด้านเกี่ยวกับการฆ่าตัวตายกล่าวว่าญี่ปุ่นไม่ได้ใช้มาตรการล็อกดาวน์และผลกระทบจากโควิด-19 ก็น้อยกว่าอีกหลายๆ ประเทศ แต่จำนวนการฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้นมากแสดงว่าประเทศอื่นๆ อาจจะมีคนฆ่าตัวตายเท่าๆ กับญี่ปุ่นหรืออาจจะมากกว่าในอนาคต

Tokyo’s governor has asked bars and other places where alcohol is served to close by 10 p.m. for three weeks to help prevent a resurgence of coronavirus infections from turning explosive. (AP Photo/Kiichiro Sato)

ผู้หญิงคือกลุ่มอ่อนไหว ป่วยใจยิ่งกว่าโควิด

องค์การอนามัยโลกระบุว่าญี่ปุ่นครองติดอันดับต้นๆ ของโลกที่มีการฆ่าตัวตายสูงที่สุดในโลก อัตราการฆ่าตัวตายเท่ากับร้อยละ 18.5 ต่อประชากร 100,000 คน ถือว่าเป็นอันดับ 2 รองจากเกาหลีใต้ในกลุ่มภูมิภาคแปซิฟิกตะวันตก แต่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของโลก 3 เท่า

อัตราการฆ่าตัวตายของโลกอยู่ที่ร้อยละ 10.6 ต่อประชากร 100,000 คน

สาเหตุอาจมาจากหลายปัจจัย เช่น ชั่วโมงทำงานยาวนนาน แรงกดดันในโรงเรียน การแยกตัวจากสังคมและการตีตราบาปคนที่มีปัญหาสุขภาพจิต

ก่อนหน้านี้ 10 ปี จนถึงปี 2562 การฆ่าตัวตายในญี่ปุ่นลดลง เหลือ 20,000 ราย เมื่อปีที่แล้วซึ่งเป็นจำนวนต่ำที่สุดนับตั้งแต่มีการเก็บบันทึกสถิติมาตั้งแต่ปี 2521

แต่การระบาดทำให้แนวโน้มการฆ่าตัวตายกลับมาพุ่งสูงขึ้นอีก โดยเฉพาะผู้หญิง

แม้อัตราส่วนผู้หญิงที่ฆ่าตัวตายน้อยกว่าผู้ชาย แต่จำนวนผู้หญิงที่จบชีวิตตัวเองเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
เฉพาะเดือน ต.ค. เดือนเดียว การฆ่าตัวตายของผู้หญิงในญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 83 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ขณะที่ผู้ชายปลิดชีวิตตัวเองเพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 22 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า

สาเหตุที่อาจทำให้ผู้หญิงฆ่าตัวตายมากขึ้นเนื่องจากมีจำนวนผู้หญิงที่ทำงานพาร์ตไทม์ในโรงแรม การบริการร้านอาหารและอุตสาหกรรมค้าปลีกซึ่งถูกให้ออกจากงานจำนวนมาก

An employee wearing a protective face mask to help curb the spread of the coronavirus carries empty cups at a cafe Thursday, Dec. 3, 2020, in Tokyo. (AP Photo/Eugene Hoshiko)

เอริโกะกล่าวว่าเพื่อนของตนหลายคนถูกให้ออกจากงานสะท้อนให้เห็นว่าเมื่อเกิดเหตุร้าย สังคมจะตัดคนที่อ่อนแอที่สุดออกไปก่อน

ส่วนภาพรวมของโลก องค์กร CARE ซึ่งเป็นองค์กรช่วยเหลือนานาชาติ ระบุว่าผู้หญิงร้อยละ 27 มีความเสี่ยงที่จะประสบปัญหาสุขภาพจิตระหว่างการระบาด ส่วนผู้ชายมีร้อยละ 10

ผลการศึกษาพบว่าผู้หญิงกังวลเรื่องรายได้เพราะผู้หญิงต้องแบกรับภาระการดูแลบ้านและลูกๆ โดยไม่มีรายได้ในส่วนนี้ ผู้หญิงที่ยังมีงานทำ เมื่อเด็กๆ กลับจากโรงเรียนหรือศูนย์รับเลี้ยงเด็ก แม่ก็จะต้องดูแลลูกและรับผิดชอบงานตามปกติไปด้วย อีกทั้ง ยังกังวลว่าลูกๆ จะเจ็บป่วยหรือติดไวรัสท่ามกลางการระบาดของโรคโควิด-19 หรือไม่

“อากิระ” นามสมมติ วัย 35 ปี กล่าวว่าเครียดมากที่ลูกชายซึ่งคลอดก่อนกำหนดต้องอยู่ในโรงพยาบาล 6 สัปดาห์ ทำให้ตนเครียดตลอด 24 ชั่วโมงและยิ่งเครียดหนักขึ้นเพราะมีการระบาดทำให้เกรงว่าลูกอาจจะติดโรคโควิด-19 ได้

People wearing face masks to protect against the spread of the coronavirus walk through China Town in Yokohama, Kanagawa prefecture, near Tokyo, Tuesday, Dec. 1, 2020. (AP Photo/Koji Sasahara)

ฮอตไลน์ช่วยรั้งชีวิต

เดือน มี.ค. โคกิ โอโซระ หนุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยวัย 21 ปี เริ่มก่อตั้งศูนย์สายด่วน “อะนาติ โนะ อิบาโช” หรือ “ที่สำหรับคุณ” ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่ได้รับเงินสนับสนุนจากเอกชน

โกกิกล่าวว่าทางศูนย์รับสายโทรศัพท์ประมาณ 200 สายต่อวัน ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงที่ตกงานและต้องเลี้ยงดูลูกๆ แต่ไม่มีเงิน จึงพยายามฆ่าตัวตาย

ส่วนใหญ่คนที่โทรศัพท์มาปรึกษามักจะโทรศัพท์มาตอนกลางคืนระหว่าง 4 ทุ่ม ถึงตี 4 โดยมีอาสาสมัครประมาณ 600 คนอาศัยอยู่ทั่วโลกและเขตเวลาที่แตกต่างกันตื่นมารับสาย แต่ก็ยังมีอาสาสมัครไม่เพียงพอ

ป่วยใจยิ่งกว่าโควิด

โคกิ โอโซระ / CNN

ผู้ที่โทรศัพท์มาบางสายจึงต้องฝากข้อความเอาไว้และจะคัดกรองข้อความที่ต้องช่วยเหลือเร่งด่วนจากคำสำคัญๆ เช่น ฆ่าตัวตายหรือล่วงละเมิดทางเพศซึ่งจะมีอาสาสมัครโทรศัพท์กลับไปหาเจ้าของ

ข้อความร้อยละ 60 ภายใน 5 นาทีโดยอาสาสมัครจะใช้เวลาประมาณ 40 นาทีต่อ 1 คน

โคกิกล่าวว่าหลายๆ คน โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่มักจะสบายใจมากกว่าที่จะส่งข้อความผ่านทางตัวอักษรมากกว่าการโทรศัพท์พูดคุยกัน

เดือน เม.ย. คนที่ฝากข้อความส่วนใหญ่เป็นคุณแม่ที่เครียดจัดเพราะต้องดูแลลูกๆ บางคนสารภาพว่าคิดจะสังหารลูกก็มี แต่ปัจจุบัน ผู้หญิงส่วนใหญ่ที่ปรึกษาเป็นคนตกงานและประสบปัญหาการเงิน รวมทั้ง ถูกกระทำรุนแรงภายในบ้าน

ไม่น่าเชื่อ ชาวญี่ปุ่นหลายคนโลว์เทค

FILE – In this March 2, 2020, file photo, commuters wearing masks stand in a packed train at the Shinagawa Station in Tokyo. (AP Photo/Jae C. Hong, File)

เช่น พ่อพยายามข่มขืนหรือสามีพยายามฆ่าภรรยา ซึ่งมีผู้หญิงส่งข้อความทำนองนี้มาทุกวันและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ท่ามกลางการระบาดของไวรัสเพราะก่อนหน้านี้ ผู้หญิงเหล่านี้มีที่ “หนีปัญหา” เช่น โรงเรียน สำนักงานหรือบ้านเพื่อน

ความกดดันในกลุ่มเด็ก

ญี่ปุ่นเป็นประเทศเดียวในกลุ่ม จี-7 หรือกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก ที่มีอัตราการฆ่าตัวตายในวัยหนุ่มสาวอายุระหว่าง 15-39 ปี สูงที่สุด และมีผู้ที่อายุต่ำกว่า 20 ปีฆ่าตัวตายมากขึ้น ก่อนเกิดการระบาดของโรคโควิด-19 เสียอีก
ผลร้ายที่เกิดจากการปิดโรงเรียนและมาตรการป้องกันการระบาดของไวรัสทำให้เด็กๆ ต้องอยู่บ้าน บางคนถูกล่วงละเมิดหรือเครียดจากการจับเจ่าอยู่กับบ้านหรือกดดันที่ต้องทำการบ้านเยอะมากเพราะโรงเรียนปิด อีกทั้ง เด็กๆ ยังไม่ได้เจอเพื่อนๆ และเสรีภาพลดลง

TOKYO, JAPAN – FEBRUARY 26: A pedestrian wearing a face mask walks past a display promoting the upcoming Tokyo 2020 Olympic and Paralympic Games on February 26, 2020 in Tokyo, (Photo by Tomohiro Ohsumi/Getty Images)

นาโฮ โมริซากิ จากศูนย์สุขภาพและการพัฒนาเด็กแห่งชาติ สำรวจทางอินเทอร์เน็ตในกลุ่มผู้ปกครองและเด็กๆ กว่า 8,700 คน พบว่าเด็กวัยเรียนร้อยละ 75 ความเครียดระหว่างการระบาด

โมริซากิคิดว่ามีความเชื่อมโยงระหว่างความเครียดของเด็กกับผู้ปกครอง เด็กๆ ที่ทำร้ายตัวเองมีความเครียดสูง แต่พูดคุยกับู้ปกครองไม่ได้เพราะแม่หรือพ่อไม่อาจรับฟังเด็กๆ ได้

ตราบาปแห่งการแก้ปัญหา

ในญี่ปุ่น คนที่จัดการกับความโดดเดี่ยวหรือความซึมเศร้าไม่ได้มักถูกตราหน้าว่าเป็นเรื่องเลวร้ายเพราะไม่ใช่เรื่องทีจะพูดคุยเรื่องนี้ในที่สาธารณะหรือแม้แต่กับเพื่อนๆ ก็ตาม

อากิระ แม่ที่ต้องดูแลลูกคลอดก่อนกำหนด กล่าวว่าก่อนหน้านี้ตนอาศัยในสหรัฐ ชาวอเมริกันจะขอรับการรักษาเป็นปกติ แต่ในญี่ปุ่นกลับทำแบบเดียวกันได้ยากมาก

ญี่ปุ่นประสบวิกฤตการเงินเมื่อประมาณ 10 ปีก่อน ส่งผลให้การฆ่าตัวตายพุ่งพรวดทำลายสถิติในปี 2546 ซึ่งมีคนฆ่าตัวตายประมาณ 34,000 คน

ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าคนที่คิดสั้นอับอายและเครียดจากการถูกเลิกจ้างซึ่งในขณะนั้น ส่วนใหญ่ผู้ชายแบกรับความเครียดและตัดสินใจจบชีวิต

เมื่อ 20 ปีก่อน รัฐบาลญี่ปุ่นลงทุนและหาทางป้องกันการฆ่าตัวตายและช่วยเหลือคนที่รอดชีวิตจากการพยายามฆ่าตัวตาย รวมทั้ง ผ่านกฎหมายป้องกันการฆ่าตัวตายในปี 2549 แต่ทั้งโอโซระและโคบายาชิเห็นพ้องกันว่าเป็นมาตรการที่ยังไม่เพียงพอที่จะลดการฆ่าตัวตายในสังคมญี่ปุ่น ตราบใดที่ชาวญี่ปุ่นยังคงคิดว่าการแสดงความอ่อนแอให้คนอื่นเห็นเป็นเรื่องน่าอายและเก็บเอาไว้คนเดียว

ดังนั้น จึงควรปรับทัศนคติและสร้างวัฒนธรรมใหม่ขึ้นมาให้ชาวญี่ปุ่นแสดงความอ่อนแอให้คนอื่นเห็น
คนมีชื่อเสียงฆ่าตัวตาย

ช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา คนมีชื่อเสียงในญี่ปุ่นฆ่าตัวตายหลายคนซึ่งสื่อญี่ปุ่นก็ปรับการรายงานข่าวให้มีรายละเอียดน้อยลง ไม่ลงรายละเอียดของวิธีการฆ่าตัวตายหรือมูลเหตุจูงใจ

ฮานะ คิมูระ นักมวยปล้ำอาชีพและนักแสดงจากเรียลริตี โชว์ “เทอร์เรส เฮาส์” ปลิดชีพตัวเองในช่วงฤดูร้อนที่ผ่านมา หลังจากถูกชาวเน็ตรุมถล่มด้วยถ้อยคำที่เต็มไปด้วยความเกลียดชัง

ความตายของฮานะ

ฮานะ คิมูระ ภาพ : twitter.com/hanadayo0903

แม่ของคิมูระกังวลว่าการรายงานข่าวการเสียชีวิตของลูกสาวอาจมีผลต่อคนอื่นๆ ที่กำลังคิดจะฆ่าตัวตาย จึงขอร้องตำรวจไม่ให้เปิดเผยรายละเอียดการเสียชีวิต ซึ่งสื่อก็ตายงานข่าวเท่าที่ตำรวจทราบเท่านั้น

เคียวโกะ คิมูระ แม่ของนักมวยปล้ำหญิงกล่าวว่าช่วงที่ไวรัสระบาด ลูกสาวมีเวลามากขึ้นเพราะไปซ้อมมวยปล้ำไม่ได้ จึงอ่านข้อความทำร้ายจิตใจทางสื่อสังคมออนไลน์เป็นเหตุให้เครียดและลาโลก

ขณะนี้ แม่ของคิมูระตั้งองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรขึ้นมา ชื่อว่า “คิดถึงฮานะ” เพื่อสร้างความตระหนักให้สังคมรับรู้ถึงพิษภัยของการไซเบอร์บูลลีหรือการกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ต

เคียวโกะ คิมูระ แม่ของฮานะ

อ่านข่าว : ความตายของฮานะ ญี่ปุ่นเร่งหาทางป้องกันบูลลี่ โลกไซเบอร์มรณะ

เกิดอะไรขึ้นกับดาราญี่ปุ่น ยูโกะ ทาเคอุจิ ซุปตาร์แม่ลูกสอง คือคนล่าสุดที่จบชีวิต

โควิดระบาดระลอกที่ 3

เมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ญี่ปุ่นพบผู้ติดเชื้อไวรัสรายใหม่รายวันเพิ่มขึ้น ขณะที่แพทย์เตือนว่าการระบาดระลอกที่ 3 อาจเกิดขึ้นในช่วงฤดูหนาว ส่วนผู้เชี่ยวชาญเกรงว่าอัตราการฆ่าตัวตายจะเพิ่มขึ้นเพราะเศรษฐกจิซบเซาต่อเนื่อง
อูเอดะกล่าวว่าญี่ปุ่นอาจจะใช้มาตรการกึ่งล็อกดาวน์อีกครั้ง หากเกิดการระบาดอีกครั้งและจะส่งผล กระทบอย่างมหาศาล

ญี่ปุ่นใช้มาตรการป้องกันการระบาดไวรัสที่ไม่เข้มงวดมากเหมือนประเทศอื่นๆ และไม่เคยล็อกดาวน์อย่างเข้มงวด ขณะที่มีผู้ติดไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่มากขึ้น ทำให้มีความกังวลว่าอาจจะต้องใช้มาตรการที่เข้มงวดมากขึ้นและอาจส่งผลต่อสุขภาพจิต

ป่วยใจยิ่งกว่าโควิด

People wearing face masks walk through a shopping street during a lunch time in Osaka, western Japan, Monday, Nov. 30, 2020. It is said the Tenjinbashi-suji shopping street is the longest shopping street in Japan. (AP Photo/Hiro Komae)

อูเอดะสะท้อนภาพให้เห็นว่าแม้ญี่ปุ่นไม่ได้ล็อกดาวน์ แต่อัตราการฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้นมากจึงมีความเป็นไปได้ว่าประเทศอื่นๆ อาจจะมีการฆ่าตัวตายหรือมีอัตราการฆ่าตัวตายมากขึ้นในอนาคต

ส่วนเอริโกะกล่าวว่าตนรับมือกับความเครียดได้ดีขึ้นและหวังว่าจะเปิดใจพูดเรื่องความกลัวกับคนอื่นได้และคนอื่นๆ จะทำแบบเดียวกันซึ่งจะทำให้รู้สึกว่าไม่ได้อยู่อย่างโดดเดี่ยว ก่อนที่จะสายเกินไป

“ฉันออกมาพูดกับครนอื่นว่าฉันมีปัญหาทางสุขภาพจิตและทนทุกข์กับความซึมเศร้าเพื่อหวังว่าคนอื่นๆ จะกล้าออกมาพูดบ้าง ตอนนี้ ฉันอายุ 43 ปีแล้ว ชีวิตเริ่มสนุกมากขึ้นในช่วงวัยกลางคนและรู้สึกดีที่ยังมีลมหายใจอยู่” หญิงสาวกล่าว

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน