งานวิจัยใหม่ชี้ – วันที่ 10 ก.พ. ซีเอ็นเอ็น รายงานการศึกษาใหม่ที่พบว่า ประชากรทั่วโลกมากกว่า 8 ล้านคน เสียชีวิตทุกๆ ปี เนื่องจากสูดอากาศปนเปื้อนมลพิษที่มีอนุภาคจาก เชื้อเพลิงฟอสซิล

BLOOMBERG

การเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น ถ่านหิน และ น้ำมัน จะปล่อย ก๊าซเรือนกระจก ที่ดักจับรังสีดวงอาทิตย์ในชั้นบรรยากาศ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แต่ยังปล่อยอนุภาคพิษขนาดเล็กที่รู้จักกันอย่าง พีเอ็ม 2.5 (PM2.5) ซึ่งเล็กพอเล็ดลอดเข้าไปในปอด ทำให้เกิดอาการทางเดินหายใจรุนแรง เช่น หอบหืด และทำให้เกิดมะเร็งปอด โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร

นอกจากนี้ การวิจัยพบการเชื่อมโยงระหว่าง ปริมาณมลพิษระยะยาวที่สูงขึ้น และ การเสียชีวิตจากโควิด-19 ที่เพิ่มขึ้น ด้วย

ในการศึกษาที่ตีพิมพ์ในนิตยสารวิทยาศาสตร์ Environmental Research คณะนักวิจัยจาก มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ในความร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม มหาวิทยาลัยเลสเตอร์ และ มหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน พบว่า การสัมผัสกับฝุ่นละอองจากการปล่อยเชื้อเพลิงฟอสซิลคิดเป็น 18% ของการเสียชีวิตทั้งหมดทั่วโลก (เกือบ 1 ใน 5) ในปี 2561 สูงกว่าที่คาดการณ์อย่างมาก

เนื่องจากล่าสุดเมื่อในปี 2561 เหล่านักวิทยาศาสตร์ประมาณการณ์จำนวนผู้เสียชีวิตจากมลพิษฝุ่นละอองในอากาศกลางแจ้งปีละ 4.2 ล้านคน ในจำนวนนี้รวมถึงผู้เสียชีวิตจากมลพิษจากฝุ่นและควันจากไฟป่าและไฟไหม้จากการทำเกษตร

การศึกษาใหม่ดังกล่าวเผยด้วยว่า ในปี 2561 มีผู้เสียชีวิตจากมลพิษทั่วโลกประมาณ 8.7 ล้านคน และมีความเชื่อมโยงกับการปล่อยเชื้อเพลิงฟอสซิลเพียงอย่างเดียว

CNN

เอลัวอิส มาเร รองศาสตราจารย์ภูมิศาสตร์กายภาพ มหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน และผู้ร่วมเขียนการศึกษา กล่าวว่า การวิจัยล่าสุดเป็นการเพิ่ม “หลักฐานยืนยัน” ว่า มลพิษทางอากาศจากเชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นอันตรายต่อสุขภาพทั่วโลก

“เราไม่สามารถพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลต่อไปได้ด้วยความสำนึกผิดชอบชั่วดี เมื่อเรารู้ว่ามีผลกระทบรุนแรงต่อสุขภาพ และมีทางเลือกที่สะอาดกว่าและใช้ได้” เอลัวอิส มาเร กล่าว

คณะนักวิทยาศาสตร์ใช้แบบจำลองสามมิติของเคมีในชั้นบรรยากาศที่พัฒนาขึ้นที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เพื่อให้เห็นภาพมลพิษในระดับท้องถิ่นชัดขึ้น แตกต่างจากปกติที่ใช้การสังเกตจากดาวเทียมและพื้นผิวโลกเพื่อประมาณความเข้มข้นของอนุภาค PM2.5 ในอากาศโดยเฉลี่ยทั่วโลกต่อปี

จากแบบจำลอง 3 มิติ คณะนักวิทยาศาสตร์แบ่งโลกออกเป็นตารางด้วยกล่องขนาดเล็กถึง กว้าง 50 กิโลเมตร ยาว 60 กิโลเมตร และดูระดับมลพิษในแต่ละกล่องทีละกล่อง ทำให้สามารถประเมินผลกระทบของมลพิษในสถานที่ที่ผู้คนอาศัยอยู่ และแยกแยะระหว่างแหล่งกำเนิดมลพิษต่างๆ

EPA-EFE

พบว่า จีน อินเดีย หลายพื้นที่ทางตะวันออกของสหรัฐอเมริกา ยุโรป และ เอเชียใต้ มีผลกระทบแย่ที่สุด โดยมากถึง 30.7% เสียชีวิตใน เอเชียตะวันออก รองลงมา 16.8% เสียชีวิตในยุโรป และอีก 13.1% เสียชีวิตในสหรัฐ จากมลพิษจากเชื้อเพลิงฟอสซิล

ในการสร้างแบบจำลองมลพิษ คณะนักวิจัยใช้ข้อมูลการปล่อยมลพิษและอุตุนิยมวิทยาจริง ซึ่งส่วนใหญ่มาจากปี 2555 ซึ่งเป็นปีที่มีเป้าหมายกำจัดอิทธิพลปรากฏการณ์ เอลนีโญ ซึ่งอาจทำให้สถานการณ์มลพิษแย่ลงหรือเพิ่มขึ้นตามภูมิภาค

จากนั้น อัพเดตข้อมูลเพื่อสะท้อนมลพิษเชื้อเพลิงฟอสซิลที่ลดลง 44% ในจีนระหว่างปี 2555-2561 และประมาณการณ์ความเคลื่อนไหวของจีนในการลดการปล่อยเชื้อเพลิงฟอสซิลว่า ช่วยรักษาชีวิต 2.4 ล้านคนทั่วโลก รวมถึง 1.5 ล้านคนในจีน

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

เจ้าชายซาอุฯ จ่อสร้างเมืองอนาคต พัฒนาประเทศให้ล้ำสมัย ไร้รถ ไร้ถนน ไร้มลพิษ

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน