หมาป่าผันเป็นหมาบ้าน ในถ้ำชาวเยอรมัน 16,000 ปีก่อน งานวิจัยชี้ชัด

หมาป่าผันเป็นหมาบ้าน – เรื่องสุนัขบ้านวิวัฒนาการมาจากหมาป่าเป็นสิ่งที่รู้กันมานานแล้ว แต่นักวิทยาศาสตร์ไขคำตอบได้ยากว่าวิวัฒนาการดังกล่าวเกิดขึ้นที่ไหนและเมื่อใด

ตัวอย่างบรรพบุรุษสุนัขที่เคยพบก่อนหน้านี้ย้อนกลับไปได้หลายพันปี บางตัวอย่างดูเหมือนหมาป่า บ้างก็เหมือนสุนัขบ้านและบางกลุ่มดูเหมือนผสมกันระหว่าง 2 กลุ่มแรก

EUPA

ล่าสุด เดลีเมล์ รายงานผลการศึกษาของคณะวิจัยชาวเยอรมัน ว่า หมาป่ามีวิวัฒนาการมาเป็นสุนัขบ้านครั้งแรก ที่ถ้ำทางตะวันตกเฉียงใต้ของเยอรมนี ช่วง 14,000-16,000 ปีก่อน

จากการวิจัยฟอสซิลสุนัข 8 ตัวอย่างที่พบในถ้ำกีร์โชเลอ (Gnirshöhle) ทำให้ทราบว่ามีความหลากหลายทางพันธุกรรมมากมายและเพียงพอที่จะนำไปสู่การสรุปทุกสิ่งทุกอย่างตั้งแต่หมาป่าไปจนถึงลูกสุนัขบ้าน

หมาป่าผันเป็นหมาบ้าน

ฟอสซิลสัตว์เลี้ยงที่วิเคราะห์ปริมาณธาตุคาร์บอนและไนโตรเจน 13 ส่วนความเก่าแก่ใช้ตัวจีโนมไมโตคอนเดรียล (mitochondrial genome) ตัดสิน

คริส บาวมันน์ หัวหน้าคณะผู้เขียนงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยทือบิงเงินกล่าวว่าความใกล้ชิดของสัตว์กับมนุษย์น่าจะเกิดขึ้นในช่วงระหว่าง 16,000 – 14,000 ปีที่แล้วและหมาป่าก็กลายมาเป็นสุนัขบ้าน

ตัวอย่างที่พบในถ้ำยุคนั้นทำให้พอเข้าใจได้ว่าวงศ์สุนัขอาศัยใกล้ชิดกับมนุษย์ยุคแมกดาเลเนียนซึ่งปัจจุบันอยู่ในเฮเกา จูรา ทางตอนใต้ของเยอรมนี มนุษย์ในยุคนั้นคงจะจำกัดประเภทอาหารให้หมาป่ากิน ดังนั้น จึงพอจะสรุปได้ว่าสุนัขที่เคยอาศัยในถ้ำ Gnirshöhle เป็นหมาป่าในยุคแรกๆ ที่วิวัฒนาการมาเป็นสุนัขบ้าน

หมาป่าผันเป็นหมาบ้าน

กระดูกที่แตกจากโครงสุนัขโบราณ มีชื่อว่า GN-192 from Gnirshöhle

คณะนักวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยทือบิงเงินวิจัยสารพันธุกรรมในฟอสซิลที่พบในถ้ำ Gnirshöhle โดยนำมาเปรียบเทียบกับฟอสซิลสุนัขดึกดำบรรพ์ 11 ชิ้นที่พบในแหล่งโบราณคดีใกล้เคียง จากแฟรงก์เฟิร์ต 3 ชิ้น จากฝรั่งเศส 2 ชิ้นและจากตอนเหนือของแคนาดา 5 ชิ้น พบว่าฟอสซิลสุนัขโบราณจากที่อื่นๆ มีอายุตั้งแต่ศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสตศักราชจนถึง 33,000 ปีก่อน

จากการตรวจสอบด้วยวิธีไมโทคอนเดรีย (Mitochondrion) หรือแหล่งสร้างพลังงานของเซลพบว่าไมโทคอนเดรียส่งต่อจากแม่สู่ลูกที่พบในตัวอย่าง 23 ชิ้น จาก 28 ชิ้น รวมทั้ง 5 ชิ้นจาก Gnirshöhle แสดงว่าสุนัขที่อาศัยในถ้ำมีความหลากหลายทางพันธุกรรม

หมาป่าผันเป็นหมาบ้าน

เศษกระดูกแตกชิ้นเล็กชิ้นน้อยที่เก็บได้จากถ้ำกีร์โขห์เลอ เชื่อได้ว่าเป็นสุนัขบ้านยุคแรกของโลก

งานวิจัยพบด้วยว่าสุนัข 5 ตัวที่อาศัยในถ้ำเกือบจะมีความหลากหลายทางพันธุกรรมคล้ายกับสุนัขบ้านในปัจจุบัน แต่ยังต้องศึกษากระดูกอีก 10 ชิ้นต่อไป ในจำนวนนี้ 6 ชิ้นมากถ้ำ Gnirshöhle
นักวิจัยจำแนกกลุ่มสุนัขด้วยการวัดค่าคาร์บอน 13 และไอโซโทปไนโตรเจน 15 ในสัตว์แต่ละตัว แล้วแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มย่อย ได้แก่ กลุ่ม A B และ C จากอาหารที่กิน

กลุ่ม A คล้ายกับหมาป่าโบราณมาก มีขนาดตัวใหญ่โต เช่น แมมมอธ

กลุ่ม B มีค่าไนโตรเจน 15 ต่ำกว่าแสดงว่าได้รับโปรตีนน้อยกว่าและกินอาหารได้หลากหลาย พบได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก เช่น กระต่ายป่า กวางและม้า รวมทั้ง สัตว์กินพืชขนาดใหญ่ ตัวอย่างจากถ้ำ Gnirshöhle ทั้งหมดอยู่ในกลุ่ม B

กลุ่ม C มีค่าคาร์บอน 13 มากกว่า 2 กลุ่มแรก ส่วนใหญ่เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก

++++++

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง :

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน