ตัวแทน คณะกรรมการผู้แทนสมัชชา แห่งสหภาพเมียนมา ระบุ จากนี้ โรฮิงยาคือพี่น้อง เลิกเรียก เบงกาลี มุ่งยุติ แบ่งแยกชาติพันธุ์ และ ความต่างทางศาสนา

Facebook : Dr. Sasa (Union Parliament of Myanmar Special Envoy to the United Nations)

นายแพทย์ ซลาย หม่อง ไท ซาน หรือที่ชาวเมียนมารู้จักในนาม ‘หมอสาสา’ เป็นแพทย์ชาวฉิ่น (เมียนมา) และเป็นนักกิจกรรมภาคประชาสังคม ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งทูตพิเศษของคณะกรรมการซึ่งเป็นตัวแทนของ คณะกรรมการผู้แทนสมัชชาแห่งสหภาพเมียนมา ประจำสหประชาชาติ ได้กล่าวผ่านคลิปวิดีโอสัมภาษณ์สด เพื่อเน้นย้ำการสลายอคติต่อชาติพันธุ์ และขอให้ชาวเมียนมา มองชาติพันธุ์โรฮิงยาเป็นพี่น้องร่วมชาตินับตั้งแต่นี้เป็นต้นไป

Dr. Sasa, who was set to be part of Aung San Suu Kyi cabinet before the military coup, is seen in this still image taken from a video of an online interview with Reuters from his undisclosed location, February 28, 2021. Picture taken February 28, 2021. REUTERS

โดย นายแพทย์ ซลาย หม่อง ไท ซาน ได้กล่าวคำ ดังนี้ “โรฮิงยา เป็นพี่น้องชาวโรฮิงยาของเรา นับตั้งแต่นี้ และการเรียกชาวโรฮิงยาว่า เบงกาลี จะต้องหมดสิ้นไป ไม่ควรมีใครอีกต่อไป ที่จะเรียกพวกเขาว่า ชาวเบงกาลี เพราะพวกเขาไม่ใช่เบงกาลี (พวกเขาไม่ใช่ชาวบังกลาเทศ)”

ปัญหาอคติทางชาติพันธุ์และความต่างทางศาสนาเป็นเรื่องที่มีมาอย่างยาวนานในเมียนมา ที่ผ่านมาภาครัฐและกองทัพเมียนมาเคยใช้อคติเหล่านี้เพื่อเป็นเครื่องมือทางการเมืองมาโดยตลอด ซึ่งทำให้รัฐบาลของพรรคสันติบาตแห่งชาติของนาง อองซาน ซูจี ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักจากการนิ่งเฉยต่อปัญหานี้

The Guardian

ดังนั้นการระบุถึงปัญหาดังกล่าว ผ่านตัวแทนคณะกรรมการผู้แทนสมัชชาแห่งสหภาพเมียนมา จึงถือเป็นก้าวสำคัญในด้านสิทธิมนุษยชนในเมียนมา แต่อาจทำให้ถูกจับตาว่าเป็นไปเพื่อหวังผลทางการเมืองหรือไม่ หรือเป็นการตระหนักถึงปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนอย่างแท้จริง ซึ่งประชาคมโลกต้องจับตาดูต่อไป ขณะที่ชาวเน็ตเมียนมาเข้ามาแสดงความเห็นจำนวนมาก เพื่อขอบคุณ ‘หมอสาสา’ ที่เป็นคนแรกที่ออกมาสร้างความตระหนักในเรื่องนี้ และเชื่อว่าเขาเป็นความหวังของนักการเมืองรุ่นใหม่ที่จะพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า

CRPH

ทั้งนี้ คณะกรรมการผู้แทนสมัชชาแห่งสหภาพเมียนมา (Committee Representing Pyidaungsu หรือ CRPH) เป็นองค์กรนิติบัญญัติแห่งชาติเมียนมา เป็นตัวแทนของสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งของสมัชชาแห่งสหภาพ นำโดยพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (เอ็นแอลดี) โดยคณะกรรมการประกอบไปด้วยสมาชิก 17 คนที่ได้รับเลือกตั้งจากสภาผู้แทนราษฎรและสภาประชาชาติในการเลือกตั้งทั่วไปในเมียนมา พ.ศ. 2563

สำหรับประเทศไทย ก่อนหน้านี้ ในวันที่ 30 ส.ค.2560 พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและในขณะที่ยังดำรงตำแหน่ง รมว.กลาโหม กล่าวภายหลังหารือกับพล.อ.อาวุโส มิน อ่อง หล่าย ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (ผบ.ทสส.) ของเมียนมา ถึงกรณีความรุนแรงระหว่างชาวโรฮีนจากับทางการเมียนมา ที่รัฐยะไข่

TPBS

โดย พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ได้ระบุว่า ขอให้ชาวไทยเรียกชาวโรฮิงยาว่า ‘เบงกาลี’ ซึ่งทำให้ นาย สุรพงษ์ กองจันทึก อดีตประธานอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนด้านชนชาติ สภาทนายความ ได้ให้สัมภาษณ์ในเรื่องนี้ว่า การที่พล.อ.ประวิตรให้เรียกชาวโรฮิงยา ว่าเบงกาลีนั้น แสดงออกถึงความไม่เข้าใจในเรื่องชาติพันธุ์ ซึ่งเป็นเรื่องละเอียดอ่อน

การจะเรียกกลุ่มชาติพันธุ์นั้นต้องเรียกตามที่คนกลุ่มดังกล่าวเรียกตนเอง ขณะที่ กองทัพและรัฐบาลเมียนมาพยายามเรียกชาวโรฮิงยาว่า ‘เบงกาลี’ นั้น เพราะต้องการสร้างความเป็นอื่นแก่ชาวโรฮิงยา เพื่อให้กองทัพและรัฐบาลเมียนมาเลือกปฏิบัติกับพวกเขาได้อย่างสะดวกใจขึ้น ทั้งที่ในความเป็นจริงชาวโรฮิงยา ที่อาศัยอยู่ในรัฐยะไข่ อาศัยอยู่ในพื้นที่มาอย่างช้านานแล้ว และไม่ได้เป็นชาวบังกลาเทศ

มติชน

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน