สหรัฐอเมริกา – วันที่ 30 มี.ค. บีบีซี รายงานว่า สำนักงานศุลกากรและป้องกันชายแดนสหรัฐ (ซีบีพี) มีคำสั่งยึดถุงยางชนิดใช้แล้วทิ้งที่ผลิตโดยบริษัทท็อป โกลฟ ของมาเลเซีย หลังมีข้อมูลเพียงพอที่จะเชื่อว่า บริษัทท็อป โกลฟ มีการใช้แรงงานบังคับในการผลิตถุงมือชนิดใช้แล้วทิ้ง

Bloomberg

นายทรอย มิลเลอร์ จากซีบีพี กล่าวว่า “ซีบีพีจะไม่อดทนอดกลั้นให้บรรดาบริษัทต่างชาติใช้ประโยชน์จากแรงงานที่มีความเปราะบางเพื่อขยายสินค้าราคาถูกที่ผลิตโดยผิดจริยธรรมแก่ผู้บริโภคชาวอเมริกัน”

ขณะที่บริษัทท็อป โกลฟ ผู้ผลิตถุงมือยางรายใหญ่สุดในโลกและส่งออกไป 195 ประเทศ ระบุว่า บริษัทดำเนินการอย่างครอบคลุมเพื่อปรับปรุงแนวปฏิบัติแรงงาน แต่คำสั่งห้ามนำเข้าถุงมือยางดังกล่าวทำให้หุ้นบริษัทท็อปโกลฟร่วงร้อยละ 5

Bloomberg

ก่อนหน้านี้ เมื่อเดือนกรกฎาคมปีที่แล้ว สหรัฐห้ามนำเข้าสินค้าจาก 2 บริษัทย่อยของบริษัทท็อป โกลฟ แต่การห้ามนำเข้าสินค้าครั้งนี้ครอบคลุมถุงมือชนิดใช้เวลาทิ้งจากโรงงานบริษัทท็อป โกลฟ ในมาเลเซีย

ซีพีดีกล่าวหาในเวลานั้นว่า บริษัทท็อป โกลฟ ใช้แรงงานขัดหนี้ ทำงานล่วงเวลามากเกินไป และมีสภาพการทำงานและความเป็นอยู่ไม่เหมาะสม แม้ว่าบริษัทท็อป โกลฟ เพิ่งจะได้รับรางวัลยกย่องจากเอชอาร์เอเชีย (HR Asia) เป็นหนึ่งในบริษัทดีสุดในเอเชียในปี 2563

REUTERS

ผู้ผลิตถุงมือยางรายใหญ่ที่สุดในโลก

ซีบีพีระบุดำเนินการตามขั้นตอนเพื่อแน่ใจว่า การห้ามนำเข้าดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการนำเข้าถุงมือชนิดใช้แล้วทิ้งของสหรัฐทั้งหมด ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความพยายามในการยับยั้งการระบาดใหญ่ของโควิด-19

บริษัทท็อป โกลฟ มีลูกจ้าง 21,000 คน และผลิตถุงมือปีละ 96,000 ล้านชิ้น มีโรงงาน 47 แห่ง ในจำนวนนี้ 41 แห่ง อยู่ในมาเลเซีย ที่เหลืออยู่ในไทย จีน และเวียดนาม

แม้ว่าบริษัทท็อป โกลฟ ผลิตอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล แต่จำต้องปิดโรงงานมากกว่า 14 แห่ง ในเดือนพ.ย.2563 หลังจากที่ลูกจ้างเกือบ 25,000 คน มีผลการทดสอบโควิด-19 เป็นบวก ก่อนที่โรงงานจะกลับมาเปิดใหม่พร้อมมาตรการความปลอดภัยเพิ่มเติม

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

ปตท.สผ. เฮ! ค้นพบแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ นอกชายฝั่งมาเลย์ – เพิ่มปริมาณสำรองปิโตรเลียมได้

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน