ลูกสาวโรฮิงยาสูญหายไปในทะเลซีเอ็นเอ็น รายงานชะตากรรมชีวิตหญิงสาวชาวโรฮิงยา หลบหนีความรุนแรงออกจากเมียนมา ไปยังค่ายผู้ลี้ภัยในบังกลาเทศ จากนั้นยอมจ่ายเงินหมื่นให้นายหน้าพาไปมาเลเซียเพื่อดิ้นรนมีชีวิตที่ดีขึ้น แต่สุดท้ายกลับสูญหายไปในทะเล

นางกูเล จาน วัย 43 ปี แม่ของนางสาวนูร์ คายัส วัย 16 ปี ผู้ประสบชะตากรรมดังกล่าว เผยว่าลูกสาวโทร.มาว่า กำลังลงเรือไม้ลำเล็กมุ่งหน้าไปมาเลเซีย พร้อมกับผู้อพยพชาวโรฮิงยา 87 คน ในจำนวนนี้ เป็นผู้หญิงและเด็กหญิง 65 คน

บางคนหนีเพราะไม่อยากอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยในเมืองค็อกซ์ บาซาร์ เนื่องจากเสี่ยงต่อการถูกล่วงละเมิดทางเพศหรือข่มขืน

ค่ายผู้อพยพที่ค็อกซ์ บาซาร์ / Smoke rises from shelter as Rohingya refugee cook their dinner at Unchiparang refugee camp, near Cox’s Bazar, Bangladesh January 11, 2018. REUTERS/Tyrone Siu

สาววัย 16 ปี ขอให้แม่จ่ายเงิน 40,000 ตากา (สกุลเงินบังกลาเทศ) หรือประมาณ 14,100 บาท ให้กับนายหน้าพาไปมาเลเซีย แต่ระหว่างที่แม่กำลังจัดการเรื่องเงินอยู่นั้น ทางครอบครัวก็ได้รับโทรศัพท์แจ้งว่าเครื่องยนต์เรือขัดข้อง ต้องลอยเคว้างกลางทะเล 5 วัน

แต่จนถึงวันนี้ เป็นเวลากว่า 2 เดือนแล้วที่เรือสูญหายไป ลูกสาวโรฮิงยาสูญหายไปในทะเล

จาน อยากรู้ชะตากรรมของลูกสาวว่ายังมีชีวิตอยู่หรือไม่และเชื่อว่าลูกสาวถูกนายหน้าค้ามนุษย์ล่อลวงให้ไปขึ้นเรือ

น.ส.นูร์ หายไปกับเรือผู้อพยพกลางทะเล

เรือที่นูร์โดยสารเป็นเรือขนาดเล็ก มีเสบียงเพียงสัปดาห์เดียวเท่านั้นซึ่งเป็นระยะเวลาเดินทางจากท่าเรือเท็กนาฟไปยังมาเลเซีย

ส่วนเรือขนาดใหญ่กว่ามักจะติดตั้งเครื่องแยกเกลือออกจากน้ำทะเลเพื่อเปลี่ยนน้ำเค็มให้เป็นน้ำดื่ม แต่เรือลำเล็กไม่มีอุปกรณ์ดังกล่าว

หลังจากเครื่องยนต์ดับเมื่อวันที่ 16 .. อาหารและน้ำเริ่มร่อยหรอ

หลังจากนั้นอีก 2-3 วันเรือถูกคลื่นซัดให้มาลอยในอ่าวเบงกอล ใกล้อินเดีย

ลูกสาวโรฮิงยาสูญหายไปในทะเล

เส้นทางที่เรือออกเดินทางและหายไป

นายชาห์ อลัม ผู้อพยพชาวโรฮิงยา อายุ 23 ปี โทรศัพท์ดาวเทียมไปหาพี่ชายในค็อกซ์ บาซาร์ว่าไม่เหลือน้ำให้กินบนเรืออีกแล้ว

ครอบครัวของชาห์ตรวจสอบพิกัดสัญญาณจีพีเอสจากโทรศัพท์ดาวเทียม พบว่าชาห์อยู่ห่างจากเกาะนิโคบาร์ ดินแดนของอินเดียในอ่าวเบงกอล

ขณะที่องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรหลายแห่งแจ้งเจ้าหน้าที่อินเดียและบังกลาเทศให้ทราบเรื่อง

วันต่อมาซึ่งเป็นวันที่ 21 .. เรือติดธงอินเดียลำหนึ่งแล่นผ่านเรือของผู้อพยพ แต่ไม่ได้จอดเรือ ช่วงค่ำวันเดียวกัน เฮลิคอปเตอร์อินเดีย 2 ลำ บินเข้ามาใกล้ แต่ไม่ได้ช่วยเหลืออะไร

แฟ้มภาพ เรือที่ขนส่งผู้อพยพโรฮิงยา

มีผู้เสียชีวิต 9 ราย รวมทั้ง ชายคนหนึ่งที่จมน้ำหายไปเพราะพยายามกระโดดน้ำและว่ายน้ำตามเรือยามชายฝั่งอินเดีย

วันต่อมา เรือยามชายฝั่งอินเดียหลายลำกลับมาพร้อมนำอาหารและยามาให้ทำให้ผู้อพยพดีใจมาก แต่ไม่มีใครได้ลงจากเรือและเป็นวันสุดท้ายที่โทรศัพท์ดาวเทียมใช้การได้

ด้านเจ้าหน้าที่กองบังกลาเทศและเมียนมา กระทรวงการต่างประเทศอินเดียกล่าวว่าอินเดียส่งอาหารและน้ำให้เรือผู้อพยพจนถึงกลางเดือน มี.. แต่ไม่ได้ให้ขึ้นจากเรือและไม่ได้ชี้แจงว่าเหตุใดจึงหยุดส่งความช่วยเหลือและไม่ได้อธิบายว่าทำไมจึงไม่อนุญาตให้ผู้อพยพลงจากเรือ

ลูกสาวโรฮิงยาสูญหายไปในทะเล

บัตรผู้อพยพที่ไปกับเรือ

เรื่องนี้ทำให้ นางสาวแคเธอรีน สตับเบอร์ฟิลด์ โฆษกสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยสหประชาชาติ หรือ ยูเอ็นเอชซีอาร์ ให้ความเห็นอย่างเผ็ดร้อนว่าผู้อพยพลอยเรือกลางทะเลกว่า 2 เดือน การไม่ให้ผู้อพยพออกจากเรือเป็นการเสี่ยงอันตรายถึงแก่ชีวิตอย่างยิ่งเพราะไม่มีใครอยู่รอดได้นานในสภาพแบบนั้นแน่และผู้อพยพต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วน

ผู้อพยพถูกเลือกมาข่มขืน

ตอนที่นูร์ เป็นเด็กหญิงอายุ 12 ปี ครอบครัวพาหนีทหารเมียนมาเข่นฆ่าทำลายหมู่บ้านในเขตมงดอว์ รัฐยะไข่ เมื่อปี 2560

จานกล่าวว่านูร์ไม่ชอบอยู่ที่ค่ายอพยพเลย ครอบครัวไม่อาจปล่อยให้ลูกสาวอยู่ห่างจากสายตาเพราะสาวๆ มักจะถูกเลือกไปข่มขืน ทำให้นูร์คิดหนีไปกับนายหน้าค้ามนุษย์

ด้านนางราเซียร์ ซุลตานา จากองค์กรสวัสดิการสตรีโรฮิงยากล่าวว่าปีที่แล้ว ค่ายผู้อพยพตกอยู่ในอันตรายมากขึ้น มีทั้งแก๊งคนท้องถิ่นลักพาตัว ความรุนแรงทางเพศและการลักลอบค้ามนุษย์ถี่ขึ้นเรื่อยๆ

ภายในค่ายค็อกซ์ บาซาร์ Rohingya refugees gather at a market as first cases of COVID-19 coronavirus have emerged in the area, in Kutupalong refugee camp in Ukhia on May 15, 2020. . (Photo by Suzauddin RUBEL / AFP)

หลังจาก 17.00 . จะไม่มีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยในค่าย พวกกลุ่มติดอาวุธจะบุกเข้าบ้านที่มีหญิงสาวหรือเด็กสาวที่ต้องตาต้องใจและลักพาตัวหรือบังคับให้แต่งงานหรือล่วงละเมิดทางเพศโดยครอบครัวผู้เสียหายไม่กล้าแจ้งความกับเจ้าหน้าที่เพราะเชื่อว่าเจ้าหน้าที่คงเพิกเฉย

ชาวโรฮิงยาตกอยู่ในสถานการณ์กลางเขาควายอยู่ในค่ายก็เผชิญอันตราย แต่กลับไปบ้านเกิดไม่ได้เพราะทหารเมียนมาโจมตีโดยอ้างว่าต้องการปราบกลุ่มก่อการร้าย การกระทำดังกล่าวนานาชาติประณามว่าเป็นการ ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์

ผู้อพยพโรฮิงยาตกอยู่ในสภาพ กลางเขาควาย

ผู้อพยพชาวโรฮิงยาที่เป็นผู้หญิงและเด็กหญิงหลายคนจึงยอมเสี่ยงไปกับแก๊งค้ามนุษย์ที่สัญญาว่าพวกเธอจะปลอดภัยและมีเสรีภาพในประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น มาเลเซีย

แต่กลุ่มสิทธิมนุษยชนยืนยันว่าเมื่อถึงปลายทาง ไม่ได้เป็นอย่างที่หวังเพราะหลายคนถูกบังคับให้แต่งงานและตกเป็นทาสในบ้าน

นายจอห์น ควินลีย์ เจ้าหน้าที่อาวุโสองค์กรฟอร์ทิฟาย ไรท์ส กล่าวว่าชายโสดชาวโรฮิงยาในมาเลเซียต้องการแต่งงานกับผู้หญิงที่มาจากรัฐยะไข่จึงติดต่อนายหน้าค้ามนุษย์ล่อลวงหญิงสาว

ลูกสาวโรฮิงยาสูญหายไปในทะเล

นางสาวนูร์ คายัส

ไม่มีใครยื่นมือช่วย

ขณะนี้ หมดหวังกับเรือที่นูร์โดยสารมาเพราะไม่มีการค้นหาเรืออีกต่อไป แม้ผู้โดยสารบางคนรอดชีวิต แต่ก็เกิดคำถามว่าประเทศใดจะรับไปเพราะทุกประเทศมีพันกิจกับกฎหมายสากลเพื่อการช่วยเหลือและการยอมให้ขึ้นฝั่งและบางประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไม่อยากรับผู้อพยพเหล่านี้

เดือน มิ.. 2563 นายมูยิดดิน ยาสซิน นายกรัฐมนตรีมาเลเซียกล่าวว่าจะไม่อนุญาตให้ผู้อพยพชาวโรฮิงยาเข้าประเทศอีกต่อไปเพราะมาเลเซียไม่ได้เป็นภาคีอนุสัญญาผู้ลี้ภัยสหประชาชาติและไม่มีระบบค่ายผู้ลี้ภัยที่จะรับรองสถานะและสิทธิต่างๆ ของผู้อพยพ

แฟ้มภาพปี 2558 / cnn เรือผู้อพยพโรฮิงยา

ส่วนนายอับดุล โมเมน รัฐมนตรีว่าการกระทรวต่างประเทศบังกลาเทศได้แต่หวังว่ารัฐบาลอินเดียหรือเมียนมาจะรับผู้อพยพชาวโรฮิงยาที่ลอยเคว้งกลางทะเล

ขณะที่ยูเอ็นเอชซีอาร์กล่าวว่าประเทศแรกที่ได้รับแจ้งเรื่องจะต้องรับผิดชอบซึ่งกรณีนี้หมายถึงอินเดีย

ด้านคริส ลีวา ผู้อำนวยการโครงการอารากัน เห็นด้วยกับยูเอ็นเอชซีอาร์ว่าเรือลำดังกล่าวอยู่ในอาณาเขตของอินเดีย ดังนั้น อินเดียต้องยอมให้ผู้อพยพขึ้นฝั่ง แต่น่าเสียใจที่เรือผู้อพยพสูญหายและดูเหมือนว่าผู้อพยพสูญหายหรือเสียชีวิตกลางทะเลแล้ว

ขณะที่อินเดียไม่ได้เป็นภาคีอนุสัญญาผู้ลี้ภัยสหประชาชาติและไม่มีกรอบโครงสร้างความคุ้มครองผู้อพยพ

นางจาน แม่ของนูร์

ยิ่งกว่านั้น เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา ศาลสูงของอินเดียสั่งให้ผู้อพยพชาวโรฮิงญาในอินเดียถูกบังคับให้กลับเมียนมาซึ่งไม่เป็นไปตามหลักการหลักการห้ามผลักดันไปเผชิญอันตรายตามกฎหมายสากลซึ่งห้ามรัฐส่งผู้อพยพกลับ หากการผลักดันนั้นจะเป็นอันตรายต่อชีวิตหรือเสรีภาพ

ถึงนาทีนี้ แม่ของนูร์แทบจะหมดหวังแล้ว แม้หลบหนีอันตรายจากเมียนมามาได้ 4 ปี แต่ลูกสาวต้องเผชิญอันตรายเพราะอาจถูกส่งกลับไปที่เดิม หรืออาจเสียชีวิตกลางทะเล ซึ่งไม่รู้ว่าอะไรจะเลวร้าย กว่ากัน

บทความนี้รายงานโดย ปรียาลี Priyali Sur และ รีเบกกา ไรต์ Rebecca Wright

//////////////////

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง :

 

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน