‘อินเดีย’ เผยสถานการณ์โควิด-19 ระลอก 2 ยังคงหนัก คร่าชีวิตหมอไปแล้ว 420 ราย ทั้งยอดผู้ป่วยและผู้เสียรายวันยังคงพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์

แพทยสมาคมอินเดีย (IMA) ได้รายงานว่าการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ในระลอกที่สองยังคงดำเนินต่อไป ทำให้เตียงในโรงพยาบาลนั้นเต็มไปด้วยคนไข้ และทำให้ประชาชนจำนวนมากเสียชีวิต ซึ่งการระบาดในครั้งนี้ยังได้คร่าชีวิตแพทย์อินเดียไปถึง 420 ราย

ตัวเลขการเสียชีวิตดังกล่าว มาจากการรวบรวมข้อมูลจากโรงพยาบาลต่าง ๆ ผ่านศูนย์ตั้งแต่เดือนเมษายน แต่นี่ก็ยังไม่ใช่ตัวเลขทั้งหมดที่ได้รับ โดยมีแพทย์ที่เสียชีวิตจากโควิด-19 ที่อยู่ในกรุงเดลีอย่างน้อย 100 ราย ในพิหาร 96 ราย ในอุตตรประเทศอีก 41 ราย และในพื้นที่อื่น ๆ ทั่วประเทศ ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่าในบรรดาผู้เสียชีวิต 80% นั้นมีอายุมากกว่า 50 ปี

Coronavirus India Highlights: Maharashtra opens hotline for doctors; ICMR-NIV approve 23 antibody rapid tests

ทั้งนี้ที่ผ่านมานั้นโควิด-19 ได้คร่าชีวิตแพทย์ที่มีชื่อเสียงแพทย์อินเดียคนสำคัญไปแล้วหลายราย ไม่ว่าจะเป็น อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและแพทย์ แพทย์ชื่อดังผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจ และแพทย์ระบบทางเดินอาหารชื่อดัง

ด้าน ดร. อาเจย์ เลคี อดีตประธาน DMA ได้กล่าวว่าทางรัฐบาลนั้นไม่ได้เตรียมความพร้อมสำหรับการรับมือกับการแพร่ระบาด “ยิ่งไปกว่านั้นแพทย์มีภาระมากเกิน ไปทำงานหนักมากเกินไป และการทำงานเป็นเวลาหลายชั่วโมงในชุด PPE นั้นทำให้อึดอัดมาก” เลคีกล่าวว่าแพทย์บางคนไม่ได้เสียชีวิตจากการติดเชื้อ แต่พวกเขาเสียชีวิตเนื่องจากทางโรงพยาบาลไม่มีเตียงให้พวกเขา หรือเนื่องจากขาดแคลนออกซิเจน รัฐบาลไม่มีระบบที่คอยรองรับแพทย์ที่ติดเชื้อ แม้ว่าบางคนจะได้รับการรักษาในโรงพยาบาลที่พวกเขาทำงานก็จริง แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนที่จะได้รับสิทธิ์นั้น

และเลคียังเปิดเผยข้อความที่แพทย์บางส่วนได้เปิดรับขอบริจาคเงินเอง ทั้ง ๆ ที่ทางรัฐบาลได้รับปากว่าจะดูแลค่าใช้จ่ายในส่วนต่าง ๆ ให้ ทั้งยังตั้งข้อสังเกตว่าทำไมแพทย์บางรายที่เสียชีวิตไปแล้วนั้นก็ได้รับการฉีดวัคซีนครบถ้วนแล้ว แต่ทำไมพวกเขายังเสียชีวิตอยู่ “เราต้องดูประสิทธิภาพของวัคซีนด้วย การเสียชีวิตในครั้งนี้มันทำให้กระจ่างมากขึ้น”

เลคีกล่าวเสริมว่าในตอนนี้เราสูญเสียแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ไปจำนวนมาก ในการแพร่ระบาดในระลอกปัจจุบัน แม้ว่าบางคนอาจรอดชีวิต และแม้ว่าทางรัฐบาลจะสร้างเตียงพยาบาลเพิ่มอีก 5,000 หรือ 10,000 หรือ 50,000 เตียง แต่มันก็จะไร้ประโยชน์ หากไม่มีแพทย์และเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์คอยดูแล เพราะฉะนั้นเราจึงต้องดูกำลังคนเฉพาะทางของเรา ก่อนที่จะสูญเสียไปมากกว่านี้

แพทย์ผู้ป่วยทางการแพทย์สุขภาพโรงพยาบาลโคโรนาไวรัสพลาสม่าโควิดเลือด

ที่มา : timesofindia 1 2

 

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน